วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และการจัดลำดับความสำคัญของงาน ดังนั้น นักบริหารจัดการสินค้าคงคลัง จำเป็นต้องมีเข้าใจในความแตกต่างระหว่างการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) และการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) ซึ่งทั้ง 2 กิจกรรมนี้มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้มีหลักการหรือแนวคิดอย่างง่ายในการแยกแยะการทำงาน คือ 

1) การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) จะมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมทางกายภาพ (Physical Control) เป็นหลัก ดังนั้น ในทุกครั้งของการจัดการคลังสินค้าจะมีสินค้าหรือของจริงมาเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ เช่น รับสินค้า จัดเก็บสินค้า หยิบสินค้า จ่ายสินค้า การตรวจนับสินค้า 

2) การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) จะมุ่งเน้นไปที่การจัดการข้อมูล (Information Control) ในการดำเนินงานจึงไม่จำเป็นต้องเห็นตัวสินค้า แต่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำเป็นหลัก เช่น การแบ่งกลุ่มสินค้า การกำหนดจุดสั่งซื้อ ระดับสินค้าคงคลังปลอดภัย ปริมาณและช่วงเวลาในการเติมเต็มสินค้า ที่เหมาะสม เป็นต้น ดังนั้น นักบริหารจัดการสินค้าคงคลัง จึงต้องมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล เพื่อกำหนดกลยุทธ์และวิธีการดำเนินงาน 

มงคล พัชรดำรงกุล 
rightway.mgt@gmail.com 

ฟังคลิป VDO ประกอบเรื่องนี้เพิ่มเติมที่ https://youtu.be/QstE3UVAn_I 
สนใจฝึกอบรม Upskill คลิก https://forms.gle/rzhhzGsp4TQfND7R9

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2565

9P CANVAS ตัวช่วยสำคัญในการระบาย Stock และการตลาดเชิงรุก

การจัดการที่ผิดพลาด เกิด Stock บวม ทุกคนก็จะมุ่งเป้าไปที่ฝ่ายขาย ให้ช่วยระบายสินค้าให้หน่อย และแน่นอนการบอกแค่ความต้องการ แต่ไม่ได้ให้เครื่องมือช่วย โอกาสที่จะสำเร็จมันน้อย และดูจะฝากภาระไว้กับฝ่ายขายมากไป

และนี้คือที่มา ที่ผมต้องออกพัฒนา Template ขึ้นมาช่วยในการดำเนินการเรื่องนี้ ภายใต้แนวคิดทางการตลาด 9P ทั้งนี้เพราะ "การระบาย Stock และการขาย สุดท้ายคือเรื่องเดียวกัน"

ภายใต้องค์ประกอบของ #9P คือ
การทบทวนและพิจารณาในแต่ละ P ว่า As is ที่เป็น ของการจัดการสินค้านั้นๆ คุณทำอย่างไร
แล้วมันเหมาะสมเพียงพอไหม หากไม่ใช่ To be ที่ควรจะเป็นต้องทำอย่างไร

P1-Price
ราคาที่ตลาดหรือลูกค้าต้องการ

P2-Place
ช่องทางในการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ

P3-Promotion
ช่องทางในการสื่อสารและการส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพ

P4-People
บุคคลที่จะช่วยหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการซื้อ

P5-Product
คุณลักษณะเด่นด้านผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีและเป็นที่ต้องการของลูกค้า

P6-Process
กระบวนการหรือระบบในการประสานงานจัดการและจัดส่งสินค้า

P7-Partner
องค์กรหรือกิจการที่ช่วยหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

P8-Physical Environment
สภาพแวดล้อมในการดำเนินการที่ช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อ

P9-Positioning
ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ที่ใช่สื่อสารและสร้างการรับรู้ให้ลูกค้า


และแน่นอนนอกจากช่วยระบาย Stock ได้แล้ว ยังใช้งานได้ดี กับการทำตลาดเชิงรุก

ส่วนใครอยากรู้ภาคปฏิบัติจริงทำไง ได้ผลจริงเปล่า คงต้องหลังไมค์คุยกันแล้วล่ะ

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ILPi - 9 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรม

ILPi - Industrial Logistics Performance Index หรือตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรม คือ กระจกที่ส่องความมีประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์ขององค์กร ประกอบด้วยการวัดผลใน 9 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ และในแต่ละกิจกรรมจะมีการวัด 3 ด้าน คือ ความน่าเชื่อถือ ความรวดเร็ว และต้นทุน

การวัดผลเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการปรับปรุงงาน และช่วยฝึกฝนให้กิจการได้ให้ความสำคัญกับการบริหารยุคใหม่ ในยุคที่ Data Driven และการทำ Data Analytics สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลจะช่วยให้เห็นจุดอ่อนขององค์กรในทุกมิติ ทุกกิจกรรม 

ผมเองได้รับเกียรติจากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ทำหน้าที่ในการนำเสนอทั้ง 9 บทเรียนของ 9 กิจกรรมโลจิสติกส์ เรื่องราวจะเป็นยังไง มีอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร จะเก็บข้อมูลได้อย่างไร แล้วจะยกระดับไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ได้อย่างไรในแต่ละกิจกรรม ไปชมกันได้ครับ   

1. กิจกรรมที่ 1 : การพยากรณ์และการวางแผนความต้องการของลูกค้า


2. กิจกรรมที่ 2 : การให้บริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน


3. กิจกรรมที่ 3 : การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และการจัดการคำสั่งซื้อ


4. กิจกรรมที่ 4 : การจัดซื้อจัดหา


5. กิจกรรมที่ 5 : การขนถ่ายและการบรรจุหีบห่อ


6. กิจกรรมที่ 6 : การจัดการคลังสินค้า


7. กิจกรรมที่ 7 : การบริหารสินค้าคงคลัง


8. กิจกรรมที่ 8 : การขนส่ง


9. กิจกรรมที่ 9 : โลจิสติกส์ย้อนกลับ



เป็นไงกันบ้าง ฟังทั้ง 9 บทเรียน 9 กิจกรรมไปแล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ และถ้าใครอยากพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะด้านโลจิสติกส์ของกิจการให้ดีขึ้นๆ ก็ Inbox มาคุยกันเป็นการส่วนตัวได้ครับผม 

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กระจก 3 บาน ส่องแล้วบอกได้ถึงผลงานการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของกิจการ

ทุกวัน คนเรา ส่องกระจก เพื่อดูว่าสภาพร่างกายของเราดูดี พร้อมก้าวสู่สังคมภายนอกหรือไม่

ทุก 6 เดือน หรือ 10,000 กม. ยานพาหนะคู่กาย จะเข้ารับการตรวจสภาพ ว่าทุกชิ้นส่วนอุปกรณ์ยังดีอยู่ไหม

ทุก 1 ปี ร่างกายต้อง Check Up ดูว่ากลไกการทำงานแบบอัจริยะของสิ่งมีชีวิต ยังปกติ ใช้งานดีหรือไม่

และแน่นอน การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ก็ควรมีมาตรวัด เพื่อส่งกระจกบอกผลงานเช่นกัน สำหรับมุมมองของผม ก็อยากเห็นกิจการส่งกระจก 3 บาน อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อบ่งบอกผลงานที่ผ่านมา และก้าวย่างที่กำลังจะไปต่อ ว่าใช่สิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ แล้วกระจกทั้ง 3 บาน คืออะไรบ้าง

บานที่ 1 - บอกศักยภาพทางการบริหารที่คุณมี - บอกด้วยศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์
บานที่ 2 - บอกประสิทธิภาพที่คุณกำลังเป็น - บอกด้วย ILPI (ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรม)
บานที่ 3 - บอกประสิทธิภาพการทำงานทั้ง Suplly Chain - บอกด้วย SCPI (ตัวชี้วัดการประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทาน)
ขอบคุณทางกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรรม ที่ได้จัดทำคู่มือเหล่านี้ขึ้น เพื่อให้กิจการที่สนใจได้ส่องกระจกตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ในแบบฉบับของ Self Assessment เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่อง

คู่มือการประเมินประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ใครสนใจก็สามารถเข้าไป Download Soft copy มาใช้ศึกษาและส่งกระจกบอกผลงานตัวเอง สามารถคลิกที่ คู่มือการประเมินประสิทธิภาพ และศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน หรือภาพได้เลยครับ

ส่วนใครที่ประเมินแล้ว อยากพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะด้านโลจิสติกส์ของกิจการให้ดีขึ้นๆ ก็ Inbox มาคุยกันเป็นการส่วนตัวได้ครับผม 

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563

"ต้นทุน" ลดได้ทุกวัน ในทุกกิจกรรม

เพราะทุก Activities ของการทำงาน แลกมาด้วย Cost แล้วมันใช่ Cost ที่ควรจ่ายหรือยัง?

ระหว่างเตรียมงานบรรยายให้กับหน่วยงานแห่งหนึ่ง ไปเจอเนื้อหา File การสอนในอดีต สมัยเมื่อครั้งเริ่มต้นการเป็นวิทยากรที่ปรึกษา เลยหยิบมาปัดฝุ่นอีกนิดหน่อย น่าจะเข้ากับสถานการณ์ได้ดี และน่าจะเป็นมุมมองสำหรับการเริ่มใส่ใจเรื่องต้นทุนที่มากขึ้นๆ ของหลายๆกิจการนับจากนี้ ยิ่งสถานการณ์ Covid แบบนี้ ความจำเป็นที่ต้องจัดการเรื่องต้นทุนยิ่งทวีคูณ

"ต้นทุนแฝงอยู่ในทุกกิจกรรมที่ท่านทำ" นั่นคือประเด็นแรกที่ท่านต้องคิด 
"ยิ่งมีกิจกรรรมเยอะ ยิ่งทำบ่อย ยิ่งทำช้า ยิ่งทำผิด" ยิ่งทำให้เกิดต้นทุน นี้คือสาเหตุเบื้องต้นที่เราต้องเข้าใจ

ความสามารถในการจัดการต้นทุน ว่ากันแล้ว เป็นหน้าที่ของทุกคน เป็นเรื่องที่ควรทำพร้อมกัน จนเป็นกิจวัตรนิสัย ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่ารอจนเกิดสภาพจำใจที่ต้องลดต้นทุนแบบจำยอม ซึ่งเมื่อนั้นอาจจะสายเกินไป 

ภาพ 4 ภาพนี้ น่าจะช่วยหาคำตอบเบื้องต้นให้บ้าง หากมีเวลา แล้วผมจะมาเพิ่มเติมและอธิบายข้อมูลในแต่ละภาพให้ฟังนะครับ 







ดูข้อมูลและบทความที่ผมเขียนเพิ่มเติมได้อีกช่องทางที่ https://www.facebook.com/rightway.mgt/ และ https://naitakeab.wordpress.com/   

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 


วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระบวนการพัฒนาปรับปรุงงาน "จากจุดเริ่มที่แตกต่าง สู่ผลลัพธ์ที่เป็นสุข"

 "เมื่อต้องพัฒนาปรับปรุง" เลือกเอาที่ง่ายๆ ทุกคนเข้าใจได้ก็พอ

การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำธุรกิจของผมช่วงนี้ ได้รับการทาบทามให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดำเนินงานของกิจการต่างๆมากขึ้นๆ นับเป็นเรื่องดีที่หลายๆกิจการเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ ต้องบอกตามตรงเลยว่า 12 ปีในวงการที่ปรึกษาแบบ Fulltime ทำให้เข้าใจอะไรทุกอย่างมากขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี แม้เราจะทำแบบเรื่อยๆ เดินสู่เป้าหมายแบบเงียบๆ มาตลอด
กรอบแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงงาน
ตัวแบบ "การดำเนินการพัฒนาปรับปรุง" ภาพนี้ก็เช่นกัน มันคงเทียบไม่ได้กับตัวแบบของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก หรือที่ปรึกษาเก่งๆ ของประเทศอีกหลายๆ คน แต่สิ่งที่ผมและ Rightway คิดและจะทำเสมอคือ
"ทุกครั้งจะต้องสร้างดัวแบบการทำงานตามสภาพที่เป็นของลูกค้ารายนั้น มันต้องเป็นตัวแบบที่คนที่จะต้องทำงานร่วมกันเข้าใจและสื่อสารกันรู้เรื่อง"
และแล้วตัวแบบการปรับปรุงงานนี้ที่เกิดขึ้น โดยการพัฒนาปรับปรุงจะประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆเป็นขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

1. วิเคราะห์และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และการค้นหาโอกาสในการปรับปรุงงานโดยใช้การดำเนินงานหลายรูปแบบ อาทิเช่น
- Visual / 5G คือ การใช้หลักการ 5จริง จากสภาพการทำงานที่เห็น
- Waste Finding คือ การสำรวจและค้นหาความสูญเปล่าในการดำเนินงานโดยใช้หลักการ 7+1 หรือ 5 Office wastes เป็นใบเบิกทาง
- Strategic คือ การวิเคราะห์และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องตามกลยุทธ์ของกิจการและสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
- VSM คือ การค้นหาโอกาสในการปรับปรุงโดยใช้แผนภาพสายธารแห่งคุณค่า เพื่อมองปัญหาทั้งกระบวนการตั้งแต่รับความต้องการ จนกระทั่งส่งมอบ
- OEE คือ การค้นหาความสูญเสียผ่านหลักการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
- V-PAD คือ การค้นหาโอกาสในการปรับปรุงตลอดโซ่อุปทาน โดยเน้นกระบวนการที่มีคุณค่า และการ Benchmark เปรียบเทียบ
โอกาสในการปรับปรุงที่ค้นพบจากกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ จะนำมาขึ้นทะเบียน ประเมินและจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดผู้รับผิดชอบในการพัฒนาปรับปรุงต่อไป

2. ศึกษาทำความเข้าใจและวิเคราะห์หาสาเหตุ
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และวิธีการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของปัญหา โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรม และเจ้าของพื้นที่มีส่วนร่วม และใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของปัญหาได้ โดยตัวอย่างของเครื่องมือที่จะนำใช้ เช่น 5G, แผนผังก้างปลา, แผนภูมิ Why-Why, แผนภาพ Pareto, หลัก 5H-1H, Process Flow Analysis, Data Analysts, PDCA เป็นต้น

3.การกำหนดมาตรการปรับปรุงและการดำเนินการแก้ไข
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และวิธีการกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาจากสาเหตุที่ค้นพบ โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรม และเจ้าของพื้นที่มีส่วนร่วม และใช้เครื่องมือในการกำหนดมาตรการตอบโต้และแก้ไขปัญหาได้ โดยตัวอย่างของเครื่องมือที่จะนำใช้ เช่น 5S, ECRS, Standard Work, Control Chart ,SMED, Line Balance, Pull System/KANBAN, Poka-yoke, Automation, VMI/Consignment, S&OP, SDCA เป็นต้น

4.การจัดทำมาตฐานและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เมื่อปัญหาหรือโอกาสใดๆได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนบรรลุผลสำเร็จแล้ว ก็นำมากำหนดหรือจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน และดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ใครอ่านแล้ว อยากจะนำไปประยุกต์ใช้ ลงมือทำเอง ก็ยินดีครับ ที่สำคัญผมเชื่อว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด มันแค่ดีกว่าไม่มีกรอบแนวคิดอะไรเลยเวลาจะปรับปรุงงาน

สุดท้ายขอบคุณทุกกิจการที่เป็นลูกค้าจะทางตรงหรือทางอ้อม ที่ช่วยขัดเกลาและตกผลึกองค์ความรู้ให้วิทยากรที่ปรึกษาคนนี้มาเรื่อยๆ ภารกิจในการทำให้องค์กรแข็งแรงมากขึ้นๆ ของเรายังไม่จบ และยังต้องทำต่อเนื่อง และใช้ทุกวินาทีให้เกิดคุณค่ามากสุด ในทุกครั้งที่คุณกับผมได้ร่วมงานกัน
แม้เราจะ #LowProfile แต่จะทำให้คุณ #HighProfit

ดูข้อมูลและบทความที่ผมเขียนเพิ่มเติมได้อีกช่องทางที่ https://www.facebook.com/rightway.mgt/ และ https://naitakeab.wordpress.com/   

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
18 ตุลาคม 2562

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

มาสร้าง QR Code ด้วย Excel แบบ Off-line ไม่ต้องใช้ Net กัน

หวัดดีครับทุกท่าน ที่เข้ามาดูแนวทางการสร้าง QR Code โดยการใช้ Excel แบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ใน Blog นี้ จะเป็นการสรุปแนวทางและขั้นตอนในการใช้งาน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่ต้องการทดลองใช้เกิดความเข้าใจมากขึ้น 

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า Barcode / QR Code ถูกพัฒนาและนำมาใช้ในการสร้างความรวดเร็ว แม่นยำ ในการทำงานด้านต่างๆ มานานแล้ว และมีวิธีการสร้างก็มีหลายๆ วิธี หลายวิธีต้องทำงานผ่าน Website /Online แต่แนวทางที่กำลังจะนำเสนอนี้เป็นการใช้โปรแกรมพื้นฐานอย่าง Excel ซึ่งคนทำงานส่วนใหญ่ในองค์กรมักจะคุ้นเคยกับการใช้งาน มาเป็นตัวสร้าง QR Code แบบ Offline เพื่อนำไปใช้งาน

ในอดีต Excel สามารถสร้าง Barcode 1D ได้โดยการใช้ Font Barcode ซึ่งก็สะดวกดีถ้าข้อมูลไม่มากมาย แต่ในยุคปัจจุบันมีการใช้ Barcode 2D (เช่น Data Matrix, QR Code) มากขึ้น เพราะต้องการเก็บข้อมูลมากขึ้น การพัฒนา Excel ให้สร้าง Barcode แบบ 2D และทำงานแบบ Offline (ไม่ต้องเชื่อมต่อ internet) ก็เลยเกิดขึ้น และมันก็คือ File ตัวที่ท่านกำลังจะทดลองใช้งานนั้นเอง โดยเบื้องหลังจะทำงานผ่านโปรแกรม VBA (Visual Basic Application) ใน Excel หรือที่หลายคนเคยเห็นหรือรู้จักในนาม Macro ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ VBA

ส่วนรูปแบบการใช้งานก็จะ Friendly กับผู้ใช้ คล้ายๆ กับการใส่สูตรเพื่อการคำนวนหาค่าต่างๆ ในโปรแกรม Excel นั้นเอง และนี้คือขั้นตอนการใช้งานครับผม ลองทำตามทีละขั้นไปเลยนะ

1. เข้าไป Download File ที่พัฒนาขึ้น (เป็น File Excel Macro ซึ่งใช้ภาษา VBA เขียน) ได้ที่  shorturl.at/dBIM9  จากนั้นก็ save เก็บไว้ที่ไหนในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านตามที่สะดวกเลยครับ

2. เปิด File ที่ Download ขึ้นมา ซึ่งมันจะทำงานผ่านโปรแกรม Microsoft Excel (แนะนำควรใช้ Excel Version 2013 เป็นต้นไปนะครับ) และบางเครื่องอาจติดระบบ Security ของ Excel แนะนำให้กดปุ่ม Enable Editing หรือเปิดใช้งาน  อาจต้องกด 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละเครื่อง หรือตามภาพด้านล่างนะครับ


3. จากภาพข้างบนจะเห็นว่า ใน File ตัวนี้สามารถสร้างระบบ Barcode ได้ 4 รูปแบบ คือ  QR Code, Code128, DataMatrix และ Aztec การจะเลือกสร้าง Barcode แบบใด อยู่ที่ตัวท่านครับ ส่วนใหญ่ช่วงนี้คนไทยก็จะคุ้นเคยกับ QR Code มากว่า

4. จาก File ตัวอย่างที่จะ Download มา ลองเปิด Sheet ใหม่แล้วทดลองสร้าง QR Code ดู ตามภาพ ทั้งนี้เราสามารถสร้าง QR Code ของตัวเลข ข้อความ หรือการนำข้อมูลมารวมกันแล้วสร้างเป็น QR Code โดยใช้สูตรของ Excel ช่วยรวมให้ หรือใส่ข้อมูล Website พอใส่เสร็จก็กด Enter เหมือนใช้งานสูตรทั่วๆไป (ดังภาพข้างล่าง)  อย่างไรก็ตาม ตัวโปรแกรมตัวนี้ไม่รองรับการใช้งานที่เป็น QRcode ภาษาไทยนะครับ - Note : QR Code จะเก็บข้อมูลแบบตัวเลขอย่างเดียวได้ประมาณ 7,000 ตัว ส่วนแบบข้อความผสมตัวเลขก็ประมาณ 4,200 ตัว ครับ


5. ในการปรับขนาดของ QR Code เนื่องจาก QR Code ที่สร้างขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นภาพ ดังนั้นเราสามารถคลิกที่ภาพ QR Code แล้วปรับย่อ-ขยายได้ตามความเหมาะสมตามที่ต้องการ หรือถ้าหากรู้ว่าขนาดประมาณเท่าไร ก็อาจปรับขนาดของช่อง Cell ไว้รองรับเลยก็ได้ครับ เมื่อได้ภาพ  QR Code มาแล้ว ก็ลองใช้ Barcode Reader หรือ App ที่อยู่ในมือถือทดลองอ่านดูนะครับ

6. เมื่อท่านทดลองใช้งาน แล้วเห็นว่าดี และอยากเก็บคำสั่งการสร้าง (สามารถป้อนสูตรได้เลยในโปรแกรม Excel โดยไม่จำเป็นต้องเปิด File นี้ เพื่อสร้าง QRCode ทุกครั้ง) ให้ทำการ Save As แล้วเลือก Save as เป็น Excel Add in จากนั้นก็เลือก Folder ที่ท่านต้องการเก็บ Save in นั้นๆ หลังจากนั้นก็ปิด File ไปเลย (ดังภาพ)


7. การนำ Add in ที่ท่านสร้างไว้มาใช้งาน ก็ให้เข้าไปที่หน้า Excel เปิด File Excel ให้ จากนั้นใน Tab menu ให้เลือก File > Option > Add in > เลือก Manage Excel Add-in กด Go
  

8. เมื่อกด Go แล้ว หน้าจอ Excel จะมี Pop up Add-in ขึ้นมา ให้ท่านคลิกเลือก Add in ที่ท่าน Save ไว้ หรือ Browse หาจาก Folder ที่เก็บไว้ก็ได้ จากนั้นก็กด OK เป็นอันเสร็จสมบูรณ์



9. หลังจากนั้นในหน้าจอ Excel ของท่าน สามารถเรียกใช้งานสูตร =QRCode( ), =Code128( ), =DataMatrix(), =AZTEC()  เพื่อสร้าง Barcode ในแบบต่างๆ ตามที่ต้องการได้โดยตรงโดยไม่ต้องเปิด File ที่ท่าน Download มาช่วยสร้าง QRCode อีกแล้ว


เป็นไงบ้างครับ อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะ Happy มีความสุขกับการใช้แล้วนะครับ ไม่เข้าใจตรงไหน ก็ Inbox คุยกันได้ มาใช้ชีวิตการทำงานให้มันง่าย Simplify กัน

ยังมีเรื่องราวดีๆ อีกมากมาย มาติดตามพูดคุยและให้กำลังใจได้ที่ naitakeab.blogspot.com

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
02 พฤษภาคม 2562

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

ถาม คิด ตอบสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ เพื่อการเป็น Global Supply Chain กัน

ในการจัดการตลอด Supply Chain ของท่าน ได้ถาม คิด และตอบสิ่งเหล่านี้เป็นประจำแล้วใช่หรือไม่ ลองพิจารณาดูนะครับ เพื่อความเป็น Global Supply Chain ของกิจการไทย และผลิตภัณฑ์ไทย #คนไทยต้องคิดหากจะยิ่งใหญ่และยั่งยืน
  1. เราได้ผลิต Product ในสถานที่ที่ดีที่สุดสอดคล้องกับตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกหรือไม่? - เข้าใจทั้ง Value, Demand และความสามารถในการ Supply คือ หัวใจสำคัญ
  2. เราได้ใช้ประโยชน์จากการขนาดการผลิตที่ประหยัด (Economics of Scale) หรือจากความยืดหยุ่นในการผลิต (Flexibility) แล้วใช่หรือไม่? - Cost, Quick Response และ Flexibility คือ สิ่งที่ต้องใส่ใจนอกจาก Product ที่มีคุณยภาพและโดนใจลูกค้า
  3. เครือข่ายของเรายืดหยุ่นเพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดบ่อยๆหรือไม่? - ความต้องการลูกค้าเปลี่ยนอยู่เสมอ เครือข่ายไม่แข็งแรง ก็ตอบสนองได้ล่าช้ากว่าความคาดหวัง
  4. ได้ออกแบบเครือข่ายและกระบวนการทำงาน เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการแก่ลูกค้า และทำให้เราตอบสนองมากขึ้นหรือไม่? - การทำงานที่สั้นลง สินค้าคงคลังจะน้อยตาม
  5. เรามีกลยุทธ์ด้านสินค้าคงคลังทั่วโลกหรือไม่ และระดับมีสินค้าคงเหลือในแต่ละสถานที่ี่เหมาะสมที่สุดหรือยัง - พอดีและพอเพียง ในจุดที่หมาะสม คือหัวใจของการจัดการ Inventory
  6. กลยุทธ์ของเราใช้การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ (Data Analytics) โดยเฉพาะความถี่ในการเติมเต็ม (Fulfill) และรอบเวลาในตอบสนอง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อกำหนดระดับ Safety Stock หรือไม่ - Data driven กำลังถูกใช้ในทุกมิติของการทำงาน
  7. มีการประเมินกลยุทธ์การเติมเต็มอื่น ๆ ตามสถานการณ์หรือไม่ เช่น การจัดส่งสินค้าเร่งด่วน การลดความเสี่ยง และการเพิ่มระดับ Safety Stock หรือไม่ - การจัดการความผิดปกติได้ดี คือ โอกาส
  8. เราใช้ประโยชน์เพื่อการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์โดยรวม โดยการเลื่อนและการส่งมอบที่สมบูรณ์ ตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้หรือไม่? - คิดทุกอย่างแบบ optimization คือ หัวใจของงาน
ฝากไว้เป็น 8 ประเด็นต้องคิด ต้องวิเคราะห์ ต้องทำความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้ คือ Fundamental ในการดำเนินงานตลอดโซ่อุปทาน เพราะจะช่วยให้เราสามารถสร้างระบบการทำงานแบบใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เกิดการ Alignment กันทั้ง Supply Chain อยู่สม่ำเสมอ ตลอดเวลา และเกิดวงจรการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (supply chain optimization cycle) ตามภาพ

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การจัดการความต้องการที่ผันแปร ภายใต้สภาวะความต้องการที่ผันผวน

เมื่อปริมาณความต้องการ (Demand) สินค้าที่บางรายการมีมาก บางรายการก็น้อย อีกทั้งยังมีความผันผวนจนตอบสนองไม่ถูก ชีวิตในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าช่างดูวุ่นวายซะจริงๆ พยายามพยากรณ์ความต้องการก็แล้ว ซื้อโปรแกรมมาช่วยก็แล้ว สต๊อกให้มันเยอะๆ ก็แล้ว สุดท้ายก็มีเรื่องเจ็บตัวและให้แก้ไขกันอยู่บ่อยๆ 


ใช่แล้วครับ  สูตรสำเร็จของการทำงานไม่ได้ง่าย ไม่ได้อยู่แค่สต๊อกสินค้าให้มากเพื่อมีของขายลูกค้า เพราะสุดท้ายเงินจม สต๊อกบาน ต้นทุนสูง และก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างต้องพยากรณ์ให้แม่นยำ ต้อง Lean เพราะถ้าไม่แม่นจริงก็เสี่ยงที่จะของขาดของเกินอยู่ดี สุดท้ายหนีไม่พ้น ต้นทุนก็สูงอีก

ชีวิตการทำธุรกิจ ก็เหมือนการใช้ชีวิต ที่ต้องเดินสายกลาง เทคนิคและวิธีการต่างๆ ไม่ได้เป็นยาวิเศษที่สามารถรักษาได้ทุกโรค วันนี้เลยเอาแนวทางสายกลางมาแบ่งปันให้เห็นว่า สถานการณ์แบบใด ก็ใช้เทคนิคและวิธีการอย่างไร ดูภาพประกอบนะครับ


วิธีการที่ควรใช้ในการจัดการปริมาณความต้องการที่ผันแปร ภายใต้ความต้องการที่ผันผวน

จากภาพ ผมแบ่งเป็น 2 มิติในการมอง คือ มิติที่ 1 คือ มองปริมาณความต้องการ มิติที่ 2 คือ มองความผันผวน แล้วนำ 2 มิติมาบูรณาการด้วยการประยุกต์ Matrix 2x2 จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 4 ประเภทดังนี้

1. ปริมาณความต้องการมีน้อย และผันผวนน้อย ถ้าเจอแบบนี้ละก็สามารถคาดการณ์ความต้องการได้ง่าย อีกทั้งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานน้อย ลองเก็บข้อมูลเป็นสถิติ แล้วนำมาใช้ประโยชน์บางซิ หรือทำ Forecast ไปด้วยเลย ความแม่นยำไม่น่าจะไกลเกินเอื้อม หลักการทำงานแบบ Lean ก็มีส่วนช่วยอย่างมากในการทำงานกลุ่มนี้  

2. ปริมาณความต้องการมีน้อย แต่ผันผวนเยอะ  ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ผมว่าต้องสร้างความเป็นเทพเรื่องการจัดการสินค้าคงคลังให้ดีแล้วล่ะ เพราะเราจำเป็นต้องมีการจัดเก็บเป็นระดับสินค้าคงคลังสำรองบ้างแล้ว แต่จะเท่าไรดี คงต้องมีทักษะเรื่องนี้พอสมควร เพราะเก็บเยอะก็คงไม่ดี ไม่มีสำรองไว้ก็คงไม่เหมาะ

3. ปริมาณความต้องการมีมาก แต่ผันผวนน้อย  ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ใจชื้นขึ้นมากสักหน่อย เพราะไม่ผันผวนแล้ว ดังนั้นหยิบ Model การพยากรณ์ขึ้นมาใช้เลย (์Note : แต่ถ้าเป็นการผลิตตามสั่ง ถ้าคิดว่าทำได้เร็วกว่าเวลาที่ลูกค้าอยากได้ ก็ไม่ต้องสต๊อกไรเลยนะ เกิดต้นทุนเปล่าๆ แล้วอย่าลืมเสริมสร้างความแรงด้วยหลักการของ Lean ด้วยนะครับ) นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจปริมาณความต้องการที่ผิดปกติจากพื้นฐานทั่วๆไปด้วย เช่น ปริมาณความต้องการที่เกิดจากการจัดโปรโมชั่นเป็นต้น

4. ปริมาณความต้องการมีมาก และผันผวนมาก  ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ยากและเหนื่อยที่สุดเลย เพราะสถานการณ์แบบนี้คาดการณ์ก็ยาก ผลกระทบก็เยอะ แต่อย่าตกใจไป แนวทางการสร้างความเชื่อมโยงร่วมกัน คือ หัวใจในการจัดการสินค้าที่มีลักษณะแบบนี้ จัดไป "การทำ Collaboration Planning" รู้ใ้ชัดเจนร่วมกันไปเลยในทุกจุดทั้งโซ่อุปทาน (Supply Chain) ส่วนการบริหารองค์กรก็ต้องใส่ใจวิธีการทำงานแบบ Agile Management สักหน่อยนะครับ

เป็นไงบ้างครับ ลองไปใช้กันดู ท่านอาจจะมีวิธีการและวิธีคิดที่ดีกว่าผม ผมเชื่อว่าใครอยู่และเข้าใจกับสถานการณ์และปัญหา น่าจะสามารถ Design รูปแบบและมุมมองในการได้หลากหลายกว่านี้ก็เป็นไปได้ ขอให้โชคดีในการทำให้หน่วยงาน และองค์กรดีขึ้นๆ ทุกวันนะครับ แค่นี้คุณก็อยู่เพื่อสร้างคุณค่าที่ดีให้กับองค์กรอยู่เสมอแล้วครับ


มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
20 พฤศจิกายน 2561

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เรื่องเล่า ผ่านมุมมอง ของที่ปรึกษา จากงาน THAILAND 2019


14 พ.ย 2561 กับงาน THAILAND 2019 ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม นับได้ว่าคุ้มค่า ที่ได้ฟังแนวคิดจากกูรู และนักธุรกิจระดับแนวหน้าของประเทศ เป็นการ Fine tune และตกผลึกทางความคิดในฐานะผู้ฟังจนต่อมความคิดต่อยอดพุ่งพล่านออกมาจากบางคำพูดที่ได้ฟัง เลยจัดแบ่งเป็นข้อๆ ตาม Style ผม มาดูกันๆ ว่าเป็นไงบ้าง
1. ไม่ว่าสถานการณ์เป็นเช่นใด นักธุรกิจตัวจริงย่อมมองเห็นโอกาสเสมอ
2. GEO Politic คือ คำใหม่สำหรับผม แต่มันใช่และจริง ให้เราฉุกคิด ถ้าจะไประดับโลก
3. รายได้ของประเทศ-มีเพียง 30% เท่านั้นที่รายได้เกิดในประเทศไทย ส่วนอีก 70% ข้ามน้ำข้ามทะเลมาผ่านการส่งออกและการท่องเที่ยว เลือกเอาจะขายใคร กลุ่มเป้าหมายเป็นใครดี
4. ระบบ Supply Chain Network ไม่ได้มองแค่ บริษัทกับบริษัท และไม่ใช่ประเทศกับประเทศ แต่มันต้องเชื่อมกับกลุ่มประเทศ
5. America (ณ ปัจจุบัน) อยากให้การ Supply RM ทุกอย่างกลับมาใช้ของในประเทศหรือภูมิภาค (มันคือความเสี่ยงใช่ไหม สำหรับเรา)
6.สิ่งที่อเมริกากลัว คือ Made in China 2025 เพราะจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอเมริกาอย่างจัง ส่วนเมืองไทยไม่แน่ใจ อาจยังไม่ได้คิด ฮิฮิ
7. รูปแบบการทำธุรกิจมี 2 ลักษณะ คือ "การสร้างการเข้าถึง" และ "การเป็นเจ้าของ"
8. โลกปัจจุบันธุรกิจแบบ "สร้างการเข้าถึง" จะใช้ Technology เป็นตัวขับ (พวก Start up ทั้งหลายนี้แหละ สินทรัพย์ไม่มี แต่สร้าง Platform เข้าถึงสินทรัพย์คนอื่น ชัดๆ ที่เป็นตัวอย่าง ก็เช่น Airbnb) ส่วนพวก "การเป็นเจ้าของก็เน้นลงทุน (Invest) ซึ่งเกิดมาก่อน เหนื่อยหน่อยหลังจากนี้ ถ้าไม่ปรับตัว
9. ทางรอดของทุกธุรกิจ ต้องเน้น Collaboration (เชื่อมโยงกัน) เก่งคนเดียวอยู่ไม่รอด
10. ลูกค้าเกิดใหม่และเป็นกลุ่มใหม่เสมอ Lift Style ก็ไม่เหมือนกัน หน้าที่ของธุรกิจคือ Focus ลูกค้าใหม่ด้วย ซึ่งมาพร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากลูกค้าแบบเดิมๆ - ระบบ CRM ต้องทบทวนรูปแบบตัวเองด่วน
11. Co-Everything คือ รูปแบบการทำงานสมัยใหม่ และเกิดการทำงานได้ทุกที่
12. ด้านการตลาด เมื่อทำ Marketing Segment ได้แล้วไม่ได้หมายความว่าเสร็จ แต่ให้ลงลึกถึง Personalization data ต้องทำ Big Data ด้าน Behavior ของลูกค้าแต่ละคน
13. ปัญหาที่เกิดพร้อมกับการโตของ Technology คือระบบ Infrastructure เป็นคอขวด น่าจะเป็นโอกาสอะไรบางอย่างจากนี้
14. New Customer แต่ Old System จำไว้ไปไม่รอด
15. แรงงานที่มีทักษะมีไม่พอ แต่แรงงานที่จบปริญญากลับมีเพียบ จับมาเพิ่มทักษะด่วน ถ้าจะไปต่อ ส่วนพวกที่จะเข้ามาใหม่ ค้นหาตัวเองให้เจอและสร้างมันก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
16. Head-Heart-Hand หัวคิด-มีใจ-ลงมือทำ คือ 3 สิ่งที่ต้องใช้ทำงานทุกวัน
17. ยักษ์ใหญ่ของธุรกิจเริ่มขยับไปสู่ Business ใหม่ๆ ตลาดใหม่ๆ พร้อม Technology ใหม่ๆ รูปแบบการทำงานใหม่ๆ เรื่อง Transformation คือ หัวใจสำคัญต้องช่วยกันทั้งองค์กร จำเป็นจริงๆ
18. Cost Reduction ผ่าน Data Driven คือ หัวใจในการทำงานแห่งอนาคต เริ่มเข้าสู่ยุค Data Driven ชัดเจน ตัวอย่างที่เริ่มเห็น เช่น Predictive Maintenance
19. Orchestra Productivity Improvement คือ Practice ที่ใช้กันมากขึ้นๆ นี้คือ หัวใจหลักของการทำ Supply Chain Management เลยทีเดียว องค์กรต้องรู้และเล่นเป็น
20. Feeder Line คือ หัวใจในการเชื่อมโยงธุรกิจให้ Growth มากขึ้นๆ
21. คิดและทำคนเดียวไม่สำเร็จ แต่ต้องหลายคนร่วมคิด เชื่อเหอะ ทุกคนรอบตัวมีดี อยู่ที่จะดึงมาใช้อย่างไร
22. Data Management / Data Analytics โคตรสำคัญจริงๆ แม้กระทั่งกิจการ Retail หลายหมื่นล้าน ยังลงทุนพัฒนาระบบเพื่ิอจับวัดพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการหน้าร้าน
23. พฤติกรรมคนไทยอยู่ติดบ้านไม่เกิน 3 วัน ถ้านานกว่านั้นอาจเป็นคนป่วย (โอกาสสำหรับบางธุรกิจยังเปิดกว้างอยู่นะ)
24. Co-Creation, Collaboration และ Share Value ตั้งแต่ Supplier ยัน Customer ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องทำ อย่าคิดได้แค่ฝ่ายเดียว
25. ส่วนขาหุ้นปีหน้า กูรูบอก ครึ่งปีแรก "Wait and See" ที่สำคัญใส่ใจปัจจัยภายนอกมากกว่าภายใน เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นเช่นนั้น (รอดูกันจะเป็นจริงไหม)
26. อื่นๆ ที่อาจปิ้ง Idea ไม่ทัน ถ้านึกได้จะเขียนเพิ่มให้นะครับ
ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.prachachat.net ด้วยครับ
#เรียนรู้ที่จะให้ก็สุขใจที่จะรับ

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 

15 พฤศจิกายน 2561

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...