วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การจัดการความต้องการที่ผันแปร ภายใต้สภาวะความต้องการที่ผันผวน

เมื่อปริมาณความต้องการ (Demand) สินค้าที่บางรายการมีมาก บางรายการก็น้อย อีกทั้งยังมีความผันผวนจนตอบสนองไม่ถูก ชีวิตในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าช่างดูวุ่นวายซะจริงๆ พยายามพยากรณ์ความต้องการก็แล้ว ซื้อโปรแกรมมาช่วยก็แล้ว สต๊อกให้มันเยอะๆ ก็แล้ว สุดท้ายก็มีเรื่องเจ็บตัวและให้แก้ไขกันอยู่บ่อยๆ 


ใช่แล้วครับ  สูตรสำเร็จของการทำงานไม่ได้ง่าย ไม่ได้อยู่แค่สต๊อกสินค้าให้มากเพื่อมีของขายลูกค้า เพราะสุดท้ายเงินจม สต๊อกบาน ต้นทุนสูง และก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างต้องพยากรณ์ให้แม่นยำ ต้อง Lean เพราะถ้าไม่แม่นจริงก็เสี่ยงที่จะของขาดของเกินอยู่ดี สุดท้ายหนีไม่พ้น ต้นทุนก็สูงอีก

ชีวิตการทำธุรกิจ ก็เหมือนการใช้ชีวิต ที่ต้องเดินสายกลาง เทคนิคและวิธีการต่างๆ ไม่ได้เป็นยาวิเศษที่สามารถรักษาได้ทุกโรค วันนี้เลยเอาแนวทางสายกลางมาแบ่งปันให้เห็นว่า สถานการณ์แบบใด ก็ใช้เทคนิคและวิธีการอย่างไร ดูภาพประกอบนะครับ


วิธีการที่ควรใช้ในการจัดการปริมาณความต้องการที่ผันแปร ภายใต้ความต้องการที่ผันผวน

จากภาพ ผมแบ่งเป็น 2 มิติในการมอง คือ มิติที่ 1 คือ มองปริมาณความต้องการ มิติที่ 2 คือ มองความผันผวน แล้วนำ 2 มิติมาบูรณาการด้วยการประยุกต์ Matrix 2x2 จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 4 ประเภทดังนี้

1. ปริมาณความต้องการมีน้อย และผันผวนน้อย ถ้าเจอแบบนี้ละก็สามารถคาดการณ์ความต้องการได้ง่าย อีกทั้งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานน้อย ลองเก็บข้อมูลเป็นสถิติ แล้วนำมาใช้ประโยชน์บางซิ หรือทำ Forecast ไปด้วยเลย ความแม่นยำไม่น่าจะไกลเกินเอื้อม หลักการทำงานแบบ Lean ก็มีส่วนช่วยอย่างมากในการทำงานกลุ่มนี้  

2. ปริมาณความต้องการมีน้อย แต่ผันผวนเยอะ  ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ผมว่าต้องสร้างความเป็นเทพเรื่องการจัดการสินค้าคงคลังให้ดีแล้วล่ะ เพราะเราจำเป็นต้องมีการจัดเก็บเป็นระดับสินค้าคงคลังสำรองบ้างแล้ว แต่จะเท่าไรดี คงต้องมีทักษะเรื่องนี้พอสมควร เพราะเก็บเยอะก็คงไม่ดี ไม่มีสำรองไว้ก็คงไม่เหมาะ

3. ปริมาณความต้องการมีมาก แต่ผันผวนน้อย  ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ใจชื้นขึ้นมากสักหน่อย เพราะไม่ผันผวนแล้ว ดังนั้นหยิบ Model การพยากรณ์ขึ้นมาใช้เลย (์Note : แต่ถ้าเป็นการผลิตตามสั่ง ถ้าคิดว่าทำได้เร็วกว่าเวลาที่ลูกค้าอยากได้ ก็ไม่ต้องสต๊อกไรเลยนะ เกิดต้นทุนเปล่าๆ แล้วอย่าลืมเสริมสร้างความแรงด้วยหลักการของ Lean ด้วยนะครับ) นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจปริมาณความต้องการที่ผิดปกติจากพื้นฐานทั่วๆไปด้วย เช่น ปริมาณความต้องการที่เกิดจากการจัดโปรโมชั่นเป็นต้น

4. ปริมาณความต้องการมีมาก และผันผวนมาก  ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ยากและเหนื่อยที่สุดเลย เพราะสถานการณ์แบบนี้คาดการณ์ก็ยาก ผลกระทบก็เยอะ แต่อย่าตกใจไป แนวทางการสร้างความเชื่อมโยงร่วมกัน คือ หัวใจในการจัดการสินค้าที่มีลักษณะแบบนี้ จัดไป "การทำ Collaboration Planning" รู้ใ้ชัดเจนร่วมกันไปเลยในทุกจุดทั้งโซ่อุปทาน (Supply Chain) ส่วนการบริหารองค์กรก็ต้องใส่ใจวิธีการทำงานแบบ Agile Management สักหน่อยนะครับ

เป็นไงบ้างครับ ลองไปใช้กันดู ท่านอาจจะมีวิธีการและวิธีคิดที่ดีกว่าผม ผมเชื่อว่าใครอยู่และเข้าใจกับสถานการณ์และปัญหา น่าจะสามารถ Design รูปแบบและมุมมองในการได้หลากหลายกว่านี้ก็เป็นไปได้ ขอให้โชคดีในการทำให้หน่วยงาน และองค์กรดีขึ้นๆ ทุกวันนะครับ แค่นี้คุณก็อยู่เพื่อสร้างคุณค่าที่ดีให้กับองค์กรอยู่เสมอแล้วครับ


มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
20 พฤศจิกายน 2561

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เรื่องเล่า ผ่านมุมมอง ของที่ปรึกษา จากงาน THAILAND 2019


14 พ.ย 2561 กับงาน THAILAND 2019 ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม นับได้ว่าคุ้มค่า ที่ได้ฟังแนวคิดจากกูรู และนักธุรกิจระดับแนวหน้าของประเทศ เป็นการ Fine tune และตกผลึกทางความคิดในฐานะผู้ฟังจนต่อมความคิดต่อยอดพุ่งพล่านออกมาจากบางคำพูดที่ได้ฟัง เลยจัดแบ่งเป็นข้อๆ ตาม Style ผม มาดูกันๆ ว่าเป็นไงบ้าง
1. ไม่ว่าสถานการณ์เป็นเช่นใด นักธุรกิจตัวจริงย่อมมองเห็นโอกาสเสมอ
2. GEO Politic คือ คำใหม่สำหรับผม แต่มันใช่และจริง ให้เราฉุกคิด ถ้าจะไประดับโลก
3. รายได้ของประเทศ-มีเพียง 30% เท่านั้นที่รายได้เกิดในประเทศไทย ส่วนอีก 70% ข้ามน้ำข้ามทะเลมาผ่านการส่งออกและการท่องเที่ยว เลือกเอาจะขายใคร กลุ่มเป้าหมายเป็นใครดี
4. ระบบ Supply Chain Network ไม่ได้มองแค่ บริษัทกับบริษัท และไม่ใช่ประเทศกับประเทศ แต่มันต้องเชื่อมกับกลุ่มประเทศ
5. America (ณ ปัจจุบัน) อยากให้การ Supply RM ทุกอย่างกลับมาใช้ของในประเทศหรือภูมิภาค (มันคือความเสี่ยงใช่ไหม สำหรับเรา)
6.สิ่งที่อเมริกากลัว คือ Made in China 2025 เพราะจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอเมริกาอย่างจัง ส่วนเมืองไทยไม่แน่ใจ อาจยังไม่ได้คิด ฮิฮิ
7. รูปแบบการทำธุรกิจมี 2 ลักษณะ คือ "การสร้างการเข้าถึง" และ "การเป็นเจ้าของ"
8. โลกปัจจุบันธุรกิจแบบ "สร้างการเข้าถึง" จะใช้ Technology เป็นตัวขับ (พวก Start up ทั้งหลายนี้แหละ สินทรัพย์ไม่มี แต่สร้าง Platform เข้าถึงสินทรัพย์คนอื่น ชัดๆ ที่เป็นตัวอย่าง ก็เช่น Airbnb) ส่วนพวก "การเป็นเจ้าของก็เน้นลงทุน (Invest) ซึ่งเกิดมาก่อน เหนื่อยหน่อยหลังจากนี้ ถ้าไม่ปรับตัว
9. ทางรอดของทุกธุรกิจ ต้องเน้น Collaboration (เชื่อมโยงกัน) เก่งคนเดียวอยู่ไม่รอด
10. ลูกค้าเกิดใหม่และเป็นกลุ่มใหม่เสมอ Lift Style ก็ไม่เหมือนกัน หน้าที่ของธุรกิจคือ Focus ลูกค้าใหม่ด้วย ซึ่งมาพร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากลูกค้าแบบเดิมๆ - ระบบ CRM ต้องทบทวนรูปแบบตัวเองด่วน
11. Co-Everything คือ รูปแบบการทำงานสมัยใหม่ และเกิดการทำงานได้ทุกที่
12. ด้านการตลาด เมื่อทำ Marketing Segment ได้แล้วไม่ได้หมายความว่าเสร็จ แต่ให้ลงลึกถึง Personalization data ต้องทำ Big Data ด้าน Behavior ของลูกค้าแต่ละคน
13. ปัญหาที่เกิดพร้อมกับการโตของ Technology คือระบบ Infrastructure เป็นคอขวด น่าจะเป็นโอกาสอะไรบางอย่างจากนี้
14. New Customer แต่ Old System จำไว้ไปไม่รอด
15. แรงงานที่มีทักษะมีไม่พอ แต่แรงงานที่จบปริญญากลับมีเพียบ จับมาเพิ่มทักษะด่วน ถ้าจะไปต่อ ส่วนพวกที่จะเข้ามาใหม่ ค้นหาตัวเองให้เจอและสร้างมันก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
16. Head-Heart-Hand หัวคิด-มีใจ-ลงมือทำ คือ 3 สิ่งที่ต้องใช้ทำงานทุกวัน
17. ยักษ์ใหญ่ของธุรกิจเริ่มขยับไปสู่ Business ใหม่ๆ ตลาดใหม่ๆ พร้อม Technology ใหม่ๆ รูปแบบการทำงานใหม่ๆ เรื่อง Transformation คือ หัวใจสำคัญต้องช่วยกันทั้งองค์กร จำเป็นจริงๆ
18. Cost Reduction ผ่าน Data Driven คือ หัวใจในการทำงานแห่งอนาคต เริ่มเข้าสู่ยุค Data Driven ชัดเจน ตัวอย่างที่เริ่มเห็น เช่น Predictive Maintenance
19. Orchestra Productivity Improvement คือ Practice ที่ใช้กันมากขึ้นๆ นี้คือ หัวใจหลักของการทำ Supply Chain Management เลยทีเดียว องค์กรต้องรู้และเล่นเป็น
20. Feeder Line คือ หัวใจในการเชื่อมโยงธุรกิจให้ Growth มากขึ้นๆ
21. คิดและทำคนเดียวไม่สำเร็จ แต่ต้องหลายคนร่วมคิด เชื่อเหอะ ทุกคนรอบตัวมีดี อยู่ที่จะดึงมาใช้อย่างไร
22. Data Management / Data Analytics โคตรสำคัญจริงๆ แม้กระทั่งกิจการ Retail หลายหมื่นล้าน ยังลงทุนพัฒนาระบบเพื่ิอจับวัดพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการหน้าร้าน
23. พฤติกรรมคนไทยอยู่ติดบ้านไม่เกิน 3 วัน ถ้านานกว่านั้นอาจเป็นคนป่วย (โอกาสสำหรับบางธุรกิจยังเปิดกว้างอยู่นะ)
24. Co-Creation, Collaboration และ Share Value ตั้งแต่ Supplier ยัน Customer ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องทำ อย่าคิดได้แค่ฝ่ายเดียว
25. ส่วนขาหุ้นปีหน้า กูรูบอก ครึ่งปีแรก "Wait and See" ที่สำคัญใส่ใจปัจจัยภายนอกมากกว่าภายใน เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นเช่นนั้น (รอดูกันจะเป็นจริงไหม)
26. อื่นๆ ที่อาจปิ้ง Idea ไม่ทัน ถ้านึกได้จะเขียนเพิ่มให้นะครับ
ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.prachachat.net ด้วยครับ
#เรียนรู้ที่จะให้ก็สุขใจที่จะรับ

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 

15 พฤศจิกายน 2561

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...