จนมีหลายคนและหลายวงเสวนามีคำถามหลายครั้งฝากบอกผมว่า ช่วยทำให้เห็นภาพ SCOR ver.11 ทั้ง 976 หน้า โดยย่อยให้เหลือ 1 หน้าได้ไหม เอาแบบภาษาง่ายๆ ด้วยนะ เอาเหมือนที่อาจารย์สอน และวิชาการน้อยๆ นำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย...หุหุ เจอโจทย์ยากเลย
Update ข้อมูลเพิ่มเติมครับ ตอนนี้ SCOR ออก Revision ใหม่เป็นที่เรียบร้อยเมื่อ 16 ตุลาคม 2560 เป็น SCOR 12.0 แล้ว แต่โครงสร้างไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก แต่ก็พัฒนาไปเยอะเช่นกัน ยังไงก็ดูจาก Blog นี้เป็นฐานไปก่อน แล้วไปอ่านต่อได้ที่ Blog
"SCOR 12.0 : Version ใหม่ล่าสุด ของการจัดการโซ่อุปทานจาก APICS"
และแล้วความต้องการในวันนั้น เลยทำให้วันนี้มีโอกาส เลยจัดการย่อยมันให้เห็น 1 Page ใน Version ภาษาไทย แต่ปน English บ้างไปหน่อย แต่การอธิบายอาจจะมากกว่า 1 Page นะครับ ลองดูกัน ฮิฮิ
ทั้งนี้ SCOR 1 Page ที่ย่อยมาจาก SCOR model ver.11 นั้น จะประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบสำคัญดังนี้
1. ขอบเขตการดำเนินงานของตัวแบบ SCOR สามารถจัดแบ่งได้ 4 ระดับ
- ระดับที่ 1 - ระดับกระบวนการ (Process Type) ระดับนี้เป็นระดับสูงสุด โดยเป็นการระบุถึงขอบเขตและส่วนประกอบต่างๆ ของการจัดการซัพพลายเชน โดยพิจารณาถึง 6 กระบวนการดำเนิงานมาตรฐานของการจัดการโซ่อุปทาน (คือ กระบวนการ Plan Source Make Deliver Return Enable) ว่ามีกระบวนการใดบ้างที่ธุรกิจต้องดำเนินการบริหารจัดการ เช่น หากสถานประกอบการดำเนินธุรกิจกิจซื้อมา-ขายไป หรือให้บริการ ก็ไม่ต้องมีจัดการเกี่ยวกับกระบวนการ Make แต่หากมีกระบวนการในการแปรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ก็จำเป็นต้องมีการจัดการเกี่ยวกับกระบวนการ Make ด้วย และเมื่อระบุขอบเขตของกระบวนงานที่เกี่ยวข้องได้แล้ว ในขั้นตอนนี้ยังต้องกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดประสิทธิผลของการดำเนินงานของซัพพลายเชนในระดับกลยุทธ์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ว่าให้สถานประกอบการให้ความสำคัญกับเรื่องใด ภายใต้สมรรถนะหลัก 5 ด้าน หรือ P-Performance อันได้แก่ Reliability Responsiveness Agility Cost และ Asset Management Efficiency
- ระดับที่ 2-ระดับประเภทกระบวนการ (Process Categories) ระดับนี้เป็นระดับของการกำหนดองค์ประกอบหรือประเภทของของกระบวนการที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการขยายให้เห็นถึงกระบวนการต่างๆที่มีอยู่ในระบบซัพพลายเชนว่ากระบวนการดำเนินงานที่ได้ระบุขอบเขตไว้นั้นเป็นแบบประเภทใด เช่น สถานประกอบการมีกระบวนการผลิตที่ต้องดำเนินการจัดการ ในกระบวนการผลิตที่ต้องจัดการนั้นเป็นแบบผลิตตามคำสั่งซื้อ (M2-Make to order) หรือแบบการผลิตเพื่อเก็บเป็น Stock (M1-Make to stock) เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานว่าให้ความสำคัญกับกระบวนการดำเนินงานและประเภทของกระบวนการดำเนินการใดเป็นสำคัญภายใต้ระบบซัพพลายเชนนั้น เช่น มุ่งเน้นให้การจัดหาวัตถุดิบจากผู้ส่งมอบที่มี Stock เป็นหลักเป็นต้น ในขั้นนี้หากสถานประกอบการที่นำ SCOR ไปประยุกต์ใช้จำเป็นจะต้องเขียนโครงสร้าง Supply Chain ให้ชัดเจน และแสดงความเชื่อมโยงของกระบวนการดำเนินงานในแต่ละกระบวนการให้เห็น หรือเรียกการจัดทำในส่วนนี้ว่า การจัดทำ Execution Process Mapping และการจัดทำ Geographical Mapping
- ระดับที่ 3-ระดับองค์ประกอบกระบวนการ (Process Element) ระดับนี้เป็นระดับของการระบุองค์ประกอบภายใต้กระบวนการแต่ละประเภท (ที่กำหนดความเชื่อมโยงไว้ในระดับ 2) อาจกล่าวได้ว่าเป็นการระบุให้เห็นถึงขั้นตอนการทำงานในแต่ละประเภทของกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ในระดับที่ 2 โดยในแต่ละองค์ประกอบของแต่ละกระบวนการนั้นจะมุ่งเน้น
- นิยามองค์ประกอบของกระบวนการ
- ข้อมูลป้อนเข้าและผลลัพธ์ของกระบวนการ
- กำหนดตัวชี้วัดสมรรถนะของกระบวนการ
- หลักการปฏิบัติ (Practice) ของกระบวนการ
- ความสามารถด้านเทคโนโลยีของกระบวนการ
- ทักษะของผู้ปฏัติงานในกระบวนการ
- ระดับที่ 4-ระดับกิจกรรม (Activity) ระดับนี้เป็นระดับของกิจกรรมดำเนินการภายในซัพพลายเชน อาจกล่าวได้ว่าเป็นระดับของการพัฒนาปรับปรุงให้เกิดขึ้นภายในซัพพลายเชน โดยเป็นการระบุถึงกิจกรรมที่ต้องทำ หน่วยงานหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ในระดับนี้มีการนำหลักการปฏิบัติ (Practice)ที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่ง Practice ที่นำมาใช้สามารถจำแนกได้ตามกระบวนงาน ขั้นตอน หรือ Function ของงานที่ทำ
2. โครงสร้างของตัวแบบ SCOR (SCOR Structure) ประกอบด้วย 4P ที่ต้องจัดการและควบคุม คือ
- Process หมายถึง กระบวนการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงานตลอดซัพพลายเชนที่จะต้องควบคุมและดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในตัวแบบ SCOR ได้อธิบายให้เห็นถึงกระบวนการดำเนินงานและขั้นตอนต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน โดยใช้รหัสสัญลักษณ์อธิบายกระบวนการต่างๆ โดยแต่ละกระบวนการดำเนินงานหรือขั้นตอนของงาน
- Performance หมายถึง สมรรรถนะหรือประสิทธิผลของการดำเนินงาน ซึ่งในตัวแบบ SCOR ได้กำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานเพื่อวัดสมรรถนะขององค์กรทั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และในแต่ละกระบวนการดำเนินงานหรือขั้นตอนการทำงานตลอดซัพพลายเชน โดยมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันตั้งแต่ตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ กระบวนการดำเนินงาน จนกระทั่งถึงขั้นตอนการทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
- Practice หมายถึง หลักการปฏิบัติ หรืออาจหมายความร่วมถึงเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน และส่งเสริมให้ตัวชี้วัดนั้นๆ มีสมรรรถนะหรือประสิทธิภาพของการดำเนินงานที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงความสามารถของบุคลากร (People) ที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้การใช้หลักการปฏิบัตินั้นๆ ให้ประสบผลสำเร็จ หลักการปฏิบัติที่ได้รวบรวมไว้ในตัวแบบ SCOR Revision 11.0 มีจำนวนทั้งสิ้น 175 หลักปฏิบัติ โดยได้จำแนกหลักการปฏิบัติออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Decline Practices, Standard Practices, Best Practices และ Emerging Practices โดยยังสามารถเลือกใช้หลักการปฏิบัติให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน (Categories) ที่ทำได้อีกด้วย
- People หมายถึง ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่จำเป็นในการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) โดยจะมีการเชื่อมโยงกับกระบวนการดำเนินงาน ตัวชี้วัดสมรรถนะ และหลักปฏิบัติ เรื่องนั้นๆ ทั้งนี้ในตัวแบบ SCOR จะให้ความสำคัญกับทักษะ (Skill) ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานนั้นๆ และจะแสดงให้เห็นว่าทักษะที่จำเป็นนั้นต้องมี ประสบการณ์ (Experience) ความถนัด (Aptitude) และการฝึกอบรม (Training) ใดบ้าง
- Carbon Emission (Tons CO2 Equivalent)
- Air Pollutant Emissions (Tons or kg)
- Liquid Waste Generated (Tons or kg)
- Solid Waste Generated (Tons or kg)
- % Recycle Waste (Percent)
มงคล พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น