วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระบวนการพัฒนาปรับปรุงงาน "จากจุดเริ่มที่แตกต่าง สู่ผลลัพธ์ที่เป็นสุข"

 "เมื่อต้องพัฒนาปรับปรุง" เลือกเอาที่ง่ายๆ ทุกคนเข้าใจได้ก็พอ

การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำธุรกิจของผมช่วงนี้ ได้รับการทาบทามให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดำเนินงานของกิจการต่างๆมากขึ้นๆ นับเป็นเรื่องดีที่หลายๆกิจการเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ ต้องบอกตามตรงเลยว่า 12 ปีในวงการที่ปรึกษาแบบ Fulltime ทำให้เข้าใจอะไรทุกอย่างมากขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี แม้เราจะทำแบบเรื่อยๆ เดินสู่เป้าหมายแบบเงียบๆ มาตลอด
กรอบแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงงาน
ตัวแบบ "การดำเนินการพัฒนาปรับปรุง" ภาพนี้ก็เช่นกัน มันคงเทียบไม่ได้กับตัวแบบของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก หรือที่ปรึกษาเก่งๆ ของประเทศอีกหลายๆ คน แต่สิ่งที่ผมและ Rightway คิดและจะทำเสมอคือ
"ทุกครั้งจะต้องสร้างดัวแบบการทำงานตามสภาพที่เป็นของลูกค้ารายนั้น มันต้องเป็นตัวแบบที่คนที่จะต้องทำงานร่วมกันเข้าใจและสื่อสารกันรู้เรื่อง"
และแล้วตัวแบบการปรับปรุงงานนี้ที่เกิดขึ้น โดยการพัฒนาปรับปรุงจะประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆเป็นขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

1. วิเคราะห์และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และการค้นหาโอกาสในการปรับปรุงงานโดยใช้การดำเนินงานหลายรูปแบบ อาทิเช่น
- Visual / 5G คือ การใช้หลักการ 5จริง จากสภาพการทำงานที่เห็น
- Waste Finding คือ การสำรวจและค้นหาความสูญเปล่าในการดำเนินงานโดยใช้หลักการ 7+1 หรือ 5 Office wastes เป็นใบเบิกทาง
- Strategic คือ การวิเคราะห์และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องตามกลยุทธ์ของกิจการและสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
- VSM คือ การค้นหาโอกาสในการปรับปรุงโดยใช้แผนภาพสายธารแห่งคุณค่า เพื่อมองปัญหาทั้งกระบวนการตั้งแต่รับความต้องการ จนกระทั่งส่งมอบ
- OEE คือ การค้นหาความสูญเสียผ่านหลักการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
- V-PAD คือ การค้นหาโอกาสในการปรับปรุงตลอดโซ่อุปทาน โดยเน้นกระบวนการที่มีคุณค่า และการ Benchmark เปรียบเทียบ
โอกาสในการปรับปรุงที่ค้นพบจากกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ จะนำมาขึ้นทะเบียน ประเมินและจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดผู้รับผิดชอบในการพัฒนาปรับปรุงต่อไป

2. ศึกษาทำความเข้าใจและวิเคราะห์หาสาเหตุ
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และวิธีการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของปัญหา โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรม และเจ้าของพื้นที่มีส่วนร่วม และใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของปัญหาได้ โดยตัวอย่างของเครื่องมือที่จะนำใช้ เช่น 5G, แผนผังก้างปลา, แผนภูมิ Why-Why, แผนภาพ Pareto, หลัก 5H-1H, Process Flow Analysis, Data Analysts, PDCA เป็นต้น

3.การกำหนดมาตรการปรับปรุงและการดำเนินการแก้ไข
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และวิธีการกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาจากสาเหตุที่ค้นพบ โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรม และเจ้าของพื้นที่มีส่วนร่วม และใช้เครื่องมือในการกำหนดมาตรการตอบโต้และแก้ไขปัญหาได้ โดยตัวอย่างของเครื่องมือที่จะนำใช้ เช่น 5S, ECRS, Standard Work, Control Chart ,SMED, Line Balance, Pull System/KANBAN, Poka-yoke, Automation, VMI/Consignment, S&OP, SDCA เป็นต้น

4.การจัดทำมาตฐานและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เมื่อปัญหาหรือโอกาสใดๆได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนบรรลุผลสำเร็จแล้ว ก็นำมากำหนดหรือจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน และดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ใครอ่านแล้ว อยากจะนำไปประยุกต์ใช้ ลงมือทำเอง ก็ยินดีครับ ที่สำคัญผมเชื่อว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด มันแค่ดีกว่าไม่มีกรอบแนวคิดอะไรเลยเวลาจะปรับปรุงงาน

สุดท้ายขอบคุณทุกกิจการที่เป็นลูกค้าจะทางตรงหรือทางอ้อม ที่ช่วยขัดเกลาและตกผลึกองค์ความรู้ให้วิทยากรที่ปรึกษาคนนี้มาเรื่อยๆ ภารกิจในการทำให้องค์กรแข็งแรงมากขึ้นๆ ของเรายังไม่จบ และยังต้องทำต่อเนื่อง และใช้ทุกวินาทีให้เกิดคุณค่ามากสุด ในทุกครั้งที่คุณกับผมได้ร่วมงานกัน
แม้เราจะ #LowProfile แต่จะทำให้คุณ #HighProfit

ดูข้อมูลและบทความที่ผมเขียนเพิ่มเติมได้อีกช่องทางที่ https://www.facebook.com/rightway.mgt/ และ https://naitakeab.wordpress.com/   

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
18 ตุลาคม 2562

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...