วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

โอกาส-ทักษะ-ธุรกิจใหม่ เพื่อตอบสนองต่อการจัดการ Supply Chain ยุค 4.0

พบกันอีกครั้งแล้วนะครับ ครั้งนี้มาพบกับเนื้อหาการจัดการ Supply Chain กันอีกสักครั้ง

ที่ผ่านมา หลายคนคงจะซึมซับกับคำว่า Industry 4.0 กันจนมากพอสมควรและมีความเข้าใจดีแล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่คิดจะใช้โอกาส หรือ Opportunities ที่ประเทศกำลังจะขับเคลื่อนไปสู่ 4.0 ครั้งนี้ มาพัฒนาตน พัฒนาธุรกิจ หรือสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ 

ผมเป็นคนหนึ่งที่มองและคิดอยู่เสมอว่า ทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราจำเป็นต้องก้าวให้ทัน และใช้โอกาสกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเพื่อสร้าง Value ให้ได้ 

หลายธุรกิจใหญ่ๆ ของโลก อาทิ FB, Alibaba, Amazon, Airbnb, Grab etc. ก็ใช้โอกาสของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างรายได้กันทั้งนั้น ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเริ่มลงมือทำของเราเองบ้าง ไม่มีคำว่าสายหรือช้าไปแน่นอน

โจทย์คือ ?
ถ้าเราเอาการจัดการ Supply Chain เป็นตัวตั้ง แล้วมีโอกาส ทักษะ หรือธุรกิจใดบ้าง ที่สามารถพัฒนาและทำให้มันเกิดขึ้นภายใต้ยุค 4.0 นี้ ผมเลยรวบรวมและศึกษาจากแนวคิดต่างๆ จากทั่วโลก และได้ตกผลึกเป็นภาพ "โอกาส ทักษะ หรือธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อการจัดการ Supply Chain ยุค 4.0" ดังนี้


ภาพที่1 : โอกาส (Opportunities) เพื่อการจัดการ Supply Chain ที่ดี ภาพใต้ Industry 4.0
จากภาพถ้าเราพิจารณาจากการเกิดขึ้นของ Industry 4.0 แล้ว เราจะสร้างโอกาสทางหน้าที่การงาน การเพิ่มพูนทักษะ หรือการสร้างธุรกิจใหม่ๆ  ด้านการจัดการโซุ่อุปทานได้อย่างไรบ้าง ผมแบ่งโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและควรนำมาพัฒนาบุคลากรหรือองค์กรได้ 7 เรื่องคือ
  1. Integrated E2E Planning and Real time Execution
    • คือ การบูรณาการของการวางแผนการทำงานระหว่าง E2E ในแบบ End to End และ Enterprise to Enterprise รวมทั้งสร้างการทำงานแบบ Real Time เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินที่มีประสิทธิภาพของการจัดการตลอดโซ่อุปทาน แน่นอนครับการวางแผน (Plan) คือกระบวนหลักในการจัดการ Supply Chain และเป็นต้นกำเนิดของดำเนินงานด้านอื่นๆ (คลิกดูกระบวนหลักของการจัดการ Supply Chain) ดังนั้นเราต้องพัฒนาระบบการวางแผนของเรา หรือยกระดับ ERP ของเราให้สามารถรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลผ่านการทำงานร่วมกับลูกค้า หรือ Supplier แบบ Real Time    
  2. SCM & Logistics Visibility
    • การทำให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันสามารถมองเห็นเป็นหนึ่งเดียวตลอดโซ่อุปทาน คืออีก 1 โอกาสที่องค์กรควรทำให้เกิดขึ้น และอาจสร้างโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาระบบ Monitoring และระบบ Visual Management เพื่อใช้ในการดำเนินงานดังกล่าว โดยข้อมูลที่ต้องทำให้เห็นร่วมกัน,ทั้งโซ่อุปทาน เช่น
      • ข้อมูลการพยากรณ์ หรือปริมาณความต้องการ (Demand)
      • ข้อมูลและสถานะการจัดซื้อต่างๆ
      • ข้อมูลเกี่ยวกับ Inventory ที่จัดเก็บในแต่ละจุดที่เชื่อมโยงกัน
      • ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการผลิต กำลังการผลิต
      • ข้อมูลและสถานะการส่งมอบ 
      • ข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่างๆ เป็นต้น
  3. Prescriptive Supply Chain  Analytic
    • การวิเคราะห์ (Analytics) เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในยุคการทำงานแบบ 4.0 ดังนั้นกล่าวได้เลยว่า นี้คือโอกาส ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาตัวตน และองค์กรให้มีศักยภาพในการทำ Analytics ซึ่งควรมองไปที่ระดับ Level 3 แต่ยังไงก็แล้วแต่หากยังไม่ได้เริ่มดำเนินการใดๆ เลย ก็คงเริ่มจากระดับ 1 ไปก่อน ทั้งนี้ทั้ง 3 ระดับ ประกอบด้วย 
      • ระดับที่ 1 : Descriptive Analytics เป็นรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐานที่สุด โดยจะเน้นไปที่ความสามารถในการ “อธิบาย” ว่าเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจของ ผลการวิเคราะห์ในกลุ่มนี้ เช่น รายงานทางธุรกิจ รายงานการขาย ผลประกอบการ ผลการดำเนินงาน รวมถึงระบบ business intelligence (ฺBI)
      • ระดับที่ 2 : Predictive Analytics เป็นการพยายาม “พยากรณ์” สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เข้ามาวิเคราะห์ร่วมกับโมเดลทางคณิตศาสตร์ หรือร่วมกับการใช้ เทคนิค data mining เพื่อพิจารณาความน่าจะเป็น ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำงานแบบนี้ เช่น Application ประมวลผลเวลาที่จะใช้จากระยะทางและความเร็วที่เป็น
      • ระดับที่ 3 : Prescriptive Analytics ไม่เพียงแต่จะพยากรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ยังสามารถ "ให้คำแนะนำ" เกี่ยวกับทางเลือกที่มี รวมถึงผลที่จะตามมาของแต่ละทางเลือกด้วย Prescriptive Analytics จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่กว้างขวาง หลากหลายมากกว่าเพียงแค่ข้อมูลในอดีต และตรงประเด็นนี้เองที่มีความเกี่ยวพันกับ Big Data เป็นอย่างมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำงานแบบนี้ เช่น การใช้ Google Map เลือกเส้นทางที่เหมาะสมจากข้อมูลการจราจรที่เกิดขึ้น
  4. Digital Sourcing
    • รูปแบบของการจัดหาจะเปลี่ยนไปสู่การทำงานแบบ Digital มากยิ่งขึ้น เช่น 
      • ในอดีตเน้นการดำเนินการที่ก่อให้เกิดต้นทุนต่ำสุด แต่ในยุคใหม่ไม่จำเป็น แต่ต้องตอบสนองต่อคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่า
      • ไม่มีอะไรที่ต้องทำให้สมบูรณ์แบบแล้วจะส่งต่อเพื่อดำเนินการต่อ (เช่น การจัดหาวัสดุ) แต่การทำงานจะเป็นแบบคู่ขนาน เพื่อลดระยะเวลาการทำงาน และสามารถปรับเปลี่ยนในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน ดังนั้นต้องมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนและแก้ไข
      • เปลี่ยนจากต่างคนต่างทำ (Silo) เป็นแบบบูรณาการ (Integrated) ดังนั้นต้องปรับรูปแบบการทำงานเพื่อรองรับ
      • ไม่มีผู้ใดครอบครองตลาดที่ชัดเจน แต่จะมีผู้ค้าที่กระจัดกระจาย ดังนั้นการวางแผนการทำงานรองรับการสั่งซื้อจากผู้ค้ารายเล็ก แต่ทำงานได้ได้ตรงความต้องการและคุ้มค่าจะเป็นทางเลือกมากขึ้น 
      • ระบบการทำงานที่ใช้เวลาน้อย และคล่องตัวต่อการปรับเปลี่ยน
  5. Intelligent Inventory Control
    • Inventory ถือว่าเป็น Asset (สินทรัพย์) อย่างหนึ่งที่เราจำเป็นต้องบริหารให้มีประสิทธิภาพ เพราะเราใช้เงินลงทุนจัดซื้อจัดหามาเพื่อแปลงสภาพหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเรา มีมากเกินไปก็ก่อให้เกิดต้นทุนสูง มีน้อยเกินไปก็ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ทัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องควบคุมให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพ (คลิกดูกรอบกรอบแนวคิด-กระบวนการจัดการ Inventory ให้มีประสิทธิภาพ) อย่างไรก็ตามการสร้างระบบการทำงานให้สามารถควบคุมระดับ Inventory ได้อย่างเป็นอัตโนมัติและเหมาะสมและมีความเป็นอัจฉริยะ คือ โอกาสในการทำงานและธุรกิจที่ควรเป็น 
  6. Smart Warehousing and Logistics
    • การบริหารคลังสินค้าที่ดีในสมัยปัจจุบัน จะต้องสามารถรองรับการเคลื่อนย้ายของวัสดุหรือสินค้าไปยังลูกค้าหรือผู้ใช้งาน โดยเกิดการไหลได้อย่างสะดวก มีความรวดเร็ว สินค้าที่ถือครองต้องมีปริมาณที่เหมาะสม มีความแม่นยำทั้งสถานที่จัดเก็บ/ปริมาณการถือครอง และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ภายใต้การดำเนินงานที่มุ่งขจัดความสูญเปล่าและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และลดความเสี่ยงของการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินงานที่เป็น Smart Warehousing and Logistics นำระบบอัตโนมัติมาช่วยในการดำเนินงานมากขึ้น
  7. Smart Spare Part (MRO) Management
    • การเกิดของอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิต จากแรงงานคนไปเป็นเครื่องจักรมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจำเป็นต้องบริหารระบบสนับสนุนให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการบริหาร Spare Part หรือ MRO (Maintenance, Repair and Operation) ดังนั้น นี้คือโอกาส และทักษะที่จำเป็น ที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น ทั้งนี้อาจพัฒนาไปสู่ความเชื่อมโยงกับระบบ Predictive maintenance
เป็นไงบ้างครับ โอกาส ทักษะ และธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดการ Supply Chain ในยุคของ Industry 4.0 ทั้งนี้โดยความเป็นจริงอาจมีโอกาส หรือธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อีกมากมาย ลองไปนั่งคิดและทบทวนดูนะครับ

และขอฝากไว้นะครับ "อย่าได้แค่มองว่าเทคโนโลยีไปไกลแค่ไหน แต่จงใช้โอกาสในการสร้าง Value จากเทคโนโลยีที่เป็น"

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
05 มีนาคม 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...