วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กระบวนการพัฒนาปรับปรุงงาน "จากจุดเริ่มที่แตกต่าง สู่ผลลัพธ์ที่เป็นสุข"

 "เมื่อต้องพัฒนาปรับปรุง" เลือกเอาที่ง่ายๆ ทุกคนเข้าใจได้ก็พอ

การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำธุรกิจของผมช่วงนี้ ได้รับการทาบทามให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดำเนินงานของกิจการต่างๆมากขึ้นๆ นับเป็นเรื่องดีที่หลายๆกิจการเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ ต้องบอกตามตรงเลยว่า 12 ปีในวงการที่ปรึกษาแบบ Fulltime ทำให้เข้าใจอะไรทุกอย่างมากขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี แม้เราจะทำแบบเรื่อยๆ เดินสู่เป้าหมายแบบเงียบๆ มาตลอด
กรอบแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงงาน
ตัวแบบ "การดำเนินการพัฒนาปรับปรุง" ภาพนี้ก็เช่นกัน มันคงเทียบไม่ได้กับตัวแบบของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก หรือที่ปรึกษาเก่งๆ ของประเทศอีกหลายๆ คน แต่สิ่งที่ผมและ Rightway คิดและจะทำเสมอคือ
"ทุกครั้งจะต้องสร้างดัวแบบการทำงานตามสภาพที่เป็นของลูกค้ารายนั้น มันต้องเป็นตัวแบบที่คนที่จะต้องทำงานร่วมกันเข้าใจและสื่อสารกันรู้เรื่อง"
และแล้วตัวแบบการปรับปรุงงานนี้ที่เกิดขึ้น โดยการพัฒนาปรับปรุงจะประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆเป็นขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

1. วิเคราะห์และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และการค้นหาโอกาสในการปรับปรุงงานโดยใช้การดำเนินงานหลายรูปแบบ อาทิเช่น
- Visual / 5G คือ การใช้หลักการ 5จริง จากสภาพการทำงานที่เห็น
- Waste Finding คือ การสำรวจและค้นหาความสูญเปล่าในการดำเนินงานโดยใช้หลักการ 7+1 หรือ 5 Office wastes เป็นใบเบิกทาง
- Strategic คือ การวิเคราะห์และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องตามกลยุทธ์ของกิจการและสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
- VSM คือ การค้นหาโอกาสในการปรับปรุงโดยใช้แผนภาพสายธารแห่งคุณค่า เพื่อมองปัญหาทั้งกระบวนการตั้งแต่รับความต้องการ จนกระทั่งส่งมอบ
- OEE คือ การค้นหาความสูญเสียผ่านหลักการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
- V-PAD คือ การค้นหาโอกาสในการปรับปรุงตลอดโซ่อุปทาน โดยเน้นกระบวนการที่มีคุณค่า และการ Benchmark เปรียบเทียบ
โอกาสในการปรับปรุงที่ค้นพบจากกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ จะนำมาขึ้นทะเบียน ประเมินและจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดผู้รับผิดชอบในการพัฒนาปรับปรุงต่อไป

2. ศึกษาทำความเข้าใจและวิเคราะห์หาสาเหตุ
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และวิธีการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของปัญหา โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรม และเจ้าของพื้นที่มีส่วนร่วม และใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของปัญหาได้ โดยตัวอย่างของเครื่องมือที่จะนำใช้ เช่น 5G, แผนผังก้างปลา, แผนภูมิ Why-Why, แผนภาพ Pareto, หลัก 5H-1H, Process Flow Analysis, Data Analysts, PDCA เป็นต้น

3.การกำหนดมาตรการปรับปรุงและการดำเนินการแก้ไข
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และวิธีการกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาจากสาเหตุที่ค้นพบ โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรม และเจ้าของพื้นที่มีส่วนร่วม และใช้เครื่องมือในการกำหนดมาตรการตอบโต้และแก้ไขปัญหาได้ โดยตัวอย่างของเครื่องมือที่จะนำใช้ เช่น 5S, ECRS, Standard Work, Control Chart ,SMED, Line Balance, Pull System/KANBAN, Poka-yoke, Automation, VMI/Consignment, S&OP, SDCA เป็นต้น

4.การจัดทำมาตฐานและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เมื่อปัญหาหรือโอกาสใดๆได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนบรรลุผลสำเร็จแล้ว ก็นำมากำหนดหรือจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน และดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ใครอ่านแล้ว อยากจะนำไปประยุกต์ใช้ ลงมือทำเอง ก็ยินดีครับ ที่สำคัญผมเชื่อว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด มันแค่ดีกว่าไม่มีกรอบแนวคิดอะไรเลยเวลาจะปรับปรุงงาน

สุดท้ายขอบคุณทุกกิจการที่เป็นลูกค้าจะทางตรงหรือทางอ้อม ที่ช่วยขัดเกลาและตกผลึกองค์ความรู้ให้วิทยากรที่ปรึกษาคนนี้มาเรื่อยๆ ภารกิจในการทำให้องค์กรแข็งแรงมากขึ้นๆ ของเรายังไม่จบ และยังต้องทำต่อเนื่อง และใช้ทุกวินาทีให้เกิดคุณค่ามากสุด ในทุกครั้งที่คุณกับผมได้ร่วมงานกัน
แม้เราจะ #LowProfile แต่จะทำให้คุณ #HighProfit

ดูข้อมูลและบทความที่ผมเขียนเพิ่มเติมได้อีกช่องทางที่ https://www.facebook.com/rightway.mgt/ และ https://naitakeab.wordpress.com/   

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
18 ตุลาคม 2562

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

มาสร้าง QR Code ด้วย Excel แบบ Off-line ไม่ต้องใช้ Net กัน

หวัดดีครับทุกท่าน ที่เข้ามาดูแนวทางการสร้าง QR Code โดยการใช้ Excel แบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ใน Blog นี้ จะเป็นการสรุปแนวทางและขั้นตอนในการใช้งาน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่ต้องการทดลองใช้เกิดความเข้าใจมากขึ้น 

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า Barcode / QR Code ถูกพัฒนาและนำมาใช้ในการสร้างความรวดเร็ว แม่นยำ ในการทำงานด้านต่างๆ มานานแล้ว และมีวิธีการสร้างก็มีหลายๆ วิธี หลายวิธีต้องทำงานผ่าน Website /Online แต่แนวทางที่กำลังจะนำเสนอนี้เป็นการใช้โปรแกรมพื้นฐานอย่าง Excel ซึ่งคนทำงานส่วนใหญ่ในองค์กรมักจะคุ้นเคยกับการใช้งาน มาเป็นตัวสร้าง QR Code แบบ Offline เพื่อนำไปใช้งาน

ในอดีต Excel สามารถสร้าง Barcode 1D ได้โดยการใช้ Font Barcode ซึ่งก็สะดวกดีถ้าข้อมูลไม่มากมาย แต่ในยุคปัจจุบันมีการใช้ Barcode 2D (เช่น Data Matrix, QR Code) มากขึ้น เพราะต้องการเก็บข้อมูลมากขึ้น การพัฒนา Excel ให้สร้าง Barcode แบบ 2D และทำงานแบบ Offline (ไม่ต้องเชื่อมต่อ internet) ก็เลยเกิดขึ้น และมันก็คือ File ตัวที่ท่านกำลังจะทดลองใช้งานนั้นเอง โดยเบื้องหลังจะทำงานผ่านโปรแกรม VBA (Visual Basic Application) ใน Excel หรือที่หลายคนเคยเห็นหรือรู้จักในนาม Macro ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ VBA

ส่วนรูปแบบการใช้งานก็จะ Friendly กับผู้ใช้ คล้ายๆ กับการใส่สูตรเพื่อการคำนวนหาค่าต่างๆ ในโปรแกรม Excel นั้นเอง และนี้คือขั้นตอนการใช้งานครับผม ลองทำตามทีละขั้นไปเลยนะ

1. เข้าไป Download File ที่พัฒนาขึ้น (เป็น File Excel Macro ซึ่งใช้ภาษา VBA เขียน) ได้ที่  shorturl.at/dBIM9  จากนั้นก็ save เก็บไว้ที่ไหนในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านตามที่สะดวกเลยครับ

2. เปิด File ที่ Download ขึ้นมา ซึ่งมันจะทำงานผ่านโปรแกรม Microsoft Excel (แนะนำควรใช้ Excel Version 2013 เป็นต้นไปนะครับ) และบางเครื่องอาจติดระบบ Security ของ Excel แนะนำให้กดปุ่ม Enable Editing หรือเปิดใช้งาน  อาจต้องกด 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละเครื่อง หรือตามภาพด้านล่างนะครับ


3. จากภาพข้างบนจะเห็นว่า ใน File ตัวนี้สามารถสร้างระบบ Barcode ได้ 4 รูปแบบ คือ  QR Code, Code128, DataMatrix และ Aztec การจะเลือกสร้าง Barcode แบบใด อยู่ที่ตัวท่านครับ ส่วนใหญ่ช่วงนี้คนไทยก็จะคุ้นเคยกับ QR Code มากว่า

4. จาก File ตัวอย่างที่จะ Download มา ลองเปิด Sheet ใหม่แล้วทดลองสร้าง QR Code ดู ตามภาพ ทั้งนี้เราสามารถสร้าง QR Code ของตัวเลข ข้อความ หรือการนำข้อมูลมารวมกันแล้วสร้างเป็น QR Code โดยใช้สูตรของ Excel ช่วยรวมให้ หรือใส่ข้อมูล Website พอใส่เสร็จก็กด Enter เหมือนใช้งานสูตรทั่วๆไป (ดังภาพข้างล่าง)  อย่างไรก็ตาม ตัวโปรแกรมตัวนี้ไม่รองรับการใช้งานที่เป็น QRcode ภาษาไทยนะครับ - Note : QR Code จะเก็บข้อมูลแบบตัวเลขอย่างเดียวได้ประมาณ 7,000 ตัว ส่วนแบบข้อความผสมตัวเลขก็ประมาณ 4,200 ตัว ครับ


5. ในการปรับขนาดของ QR Code เนื่องจาก QR Code ที่สร้างขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นภาพ ดังนั้นเราสามารถคลิกที่ภาพ QR Code แล้วปรับย่อ-ขยายได้ตามความเหมาะสมตามที่ต้องการ หรือถ้าหากรู้ว่าขนาดประมาณเท่าไร ก็อาจปรับขนาดของช่อง Cell ไว้รองรับเลยก็ได้ครับ เมื่อได้ภาพ  QR Code มาแล้ว ก็ลองใช้ Barcode Reader หรือ App ที่อยู่ในมือถือทดลองอ่านดูนะครับ

6. เมื่อท่านทดลองใช้งาน แล้วเห็นว่าดี และอยากเก็บคำสั่งการสร้าง (สามารถป้อนสูตรได้เลยในโปรแกรม Excel โดยไม่จำเป็นต้องเปิด File นี้ เพื่อสร้าง QRCode ทุกครั้ง) ให้ทำการ Save As แล้วเลือก Save as เป็น Excel Add in จากนั้นก็เลือก Folder ที่ท่านต้องการเก็บ Save in นั้นๆ หลังจากนั้นก็ปิด File ไปเลย (ดังภาพ)


7. การนำ Add in ที่ท่านสร้างไว้มาใช้งาน ก็ให้เข้าไปที่หน้า Excel เปิด File Excel ให้ จากนั้นใน Tab menu ให้เลือก File > Option > Add in > เลือก Manage Excel Add-in กด Go
  

8. เมื่อกด Go แล้ว หน้าจอ Excel จะมี Pop up Add-in ขึ้นมา ให้ท่านคลิกเลือก Add in ที่ท่าน Save ไว้ หรือ Browse หาจาก Folder ที่เก็บไว้ก็ได้ จากนั้นก็กด OK เป็นอันเสร็จสมบูรณ์



9. หลังจากนั้นในหน้าจอ Excel ของท่าน สามารถเรียกใช้งานสูตร =QRCode( ), =Code128( ), =DataMatrix(), =AZTEC()  เพื่อสร้าง Barcode ในแบบต่างๆ ตามที่ต้องการได้โดยตรงโดยไม่ต้องเปิด File ที่ท่าน Download มาช่วยสร้าง QRCode อีกแล้ว


เป็นไงบ้างครับ อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะ Happy มีความสุขกับการใช้แล้วนะครับ ไม่เข้าใจตรงไหน ก็ Inbox คุยกันได้ มาใช้ชีวิตการทำงานให้มันง่าย Simplify กัน

ยังมีเรื่องราวดีๆ อีกมากมาย มาติดตามพูดคุยและให้กำลังใจได้ที่ naitakeab.blogspot.com

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
02 พฤษภาคม 2562

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

ถาม คิด ตอบสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ เพื่อการเป็น Global Supply Chain กัน

ในการจัดการตลอด Supply Chain ของท่าน ได้ถาม คิด และตอบสิ่งเหล่านี้เป็นประจำแล้วใช่หรือไม่ ลองพิจารณาดูนะครับ เพื่อความเป็น Global Supply Chain ของกิจการไทย และผลิตภัณฑ์ไทย #คนไทยต้องคิดหากจะยิ่งใหญ่และยั่งยืน
  1. เราได้ผลิต Product ในสถานที่ที่ดีที่สุดสอดคล้องกับตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกหรือไม่? - เข้าใจทั้ง Value, Demand และความสามารถในการ Supply คือ หัวใจสำคัญ
  2. เราได้ใช้ประโยชน์จากการขนาดการผลิตที่ประหยัด (Economics of Scale) หรือจากความยืดหยุ่นในการผลิต (Flexibility) แล้วใช่หรือไม่? - Cost, Quick Response และ Flexibility คือ สิ่งที่ต้องใส่ใจนอกจาก Product ที่มีคุณยภาพและโดนใจลูกค้า
  3. เครือข่ายของเรายืดหยุ่นเพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดบ่อยๆหรือไม่? - ความต้องการลูกค้าเปลี่ยนอยู่เสมอ เครือข่ายไม่แข็งแรง ก็ตอบสนองได้ล่าช้ากว่าความคาดหวัง
  4. ได้ออกแบบเครือข่ายและกระบวนการทำงาน เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการแก่ลูกค้า และทำให้เราตอบสนองมากขึ้นหรือไม่? - การทำงานที่สั้นลง สินค้าคงคลังจะน้อยตาม
  5. เรามีกลยุทธ์ด้านสินค้าคงคลังทั่วโลกหรือไม่ และระดับมีสินค้าคงเหลือในแต่ละสถานที่ี่เหมาะสมที่สุดหรือยัง - พอดีและพอเพียง ในจุดที่หมาะสม คือหัวใจของการจัดการ Inventory
  6. กลยุทธ์ของเราใช้การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ (Data Analytics) โดยเฉพาะความถี่ในการเติมเต็ม (Fulfill) และรอบเวลาในตอบสนอง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อกำหนดระดับ Safety Stock หรือไม่ - Data driven กำลังถูกใช้ในทุกมิติของการทำงาน
  7. มีการประเมินกลยุทธ์การเติมเต็มอื่น ๆ ตามสถานการณ์หรือไม่ เช่น การจัดส่งสินค้าเร่งด่วน การลดความเสี่ยง และการเพิ่มระดับ Safety Stock หรือไม่ - การจัดการความผิดปกติได้ดี คือ โอกาส
  8. เราใช้ประโยชน์เพื่อการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์โดยรวม โดยการเลื่อนและการส่งมอบที่สมบูรณ์ ตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้หรือไม่? - คิดทุกอย่างแบบ optimization คือ หัวใจของงาน
ฝากไว้เป็น 8 ประเด็นต้องคิด ต้องวิเคราะห์ ต้องทำความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้ คือ Fundamental ในการดำเนินงานตลอดโซ่อุปทาน เพราะจะช่วยให้เราสามารถสร้างระบบการทำงานแบบใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เกิดการ Alignment กันทั้ง Supply Chain อยู่สม่ำเสมอ ตลอดเวลา และเกิดวงจรการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (supply chain optimization cycle) ตามภาพ

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...