ที่แรกดีหน่อย ตรงที่มีกับกรอกข้อมูลรายงานผลิตในแบบฟอร์มตามที่ ISO กำหนด ที่เหลือปล่อยตามยถากรรม ใครอยากดู ค่อยมาค้นหาแล้วกัน ผมสืบสาวเล่าเรื่องก็พบว่า
"อาจารย์ครับ ข้อมูลบันทึกในแบบฟอร์มพอผมเอามาคีย์ในคอม พบว่า OEE มันเกิน 100 ครับ พวกผมก็ไม่รู้เป็นเพราะอะไร อาจารย์ท่านเดิมทำสูตรไว้ ผมก็กรอกตามนั้นแหละครับ แต่ไม่รู้ทำไมมันเกิน 100 ได้ ผมเลยไล่ Check ดูให้ ปรากฏว่าสูตรที่ผูกไว้ใช้ได้ ไม่น่าจะมีอะไรผิดพลาดมากนัก แต่ส่วนที่ผิดคือ ค่า C/T (Cycle Time) ทีมงานบอกไม่รู้ว่าคำนวนยังไง ผมก็ใส่ตามที่เขาผูกสูตรไว้นั้นแหละครับ ส่วนเด็กที่คีย์ก็พยายามคีย์ๆ อย่างเดียวโดนไม่สนใจอย่างอื่น ว่างวันไหนค่อยทำ ผิดถูกยังไงไม่มีคน Check อยากรู้ของเดือนไหนถ้ายังไม่ได้คีย์ ค่อยไปไล่เอา"ที่ๆสอง อาการหนักกว่าที่แรก ข้อมูลที่ผลิตทุกวันยังไม่ได้เก็บเลย สุดท้ายผมก็ได้คำตอบมาว่า
"ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าประสิทธิภาพเครื่องผมเป็นยังไงบ้าง เอาเป็นว่าผลิตส่งให้ได้ตามที่ลูกค้าอยากได้ก็ OK แล้วครับจารย์ จะให้กรอกยังไงครับจารย์ แบบฟอร์มก็ยังไม่มีเลย แต่เครื่องจักรพวกผมยังใหม่ รับรองใช้งานได้ดี แต่ชอบมีปัญหาคุณภาพจังครับ Mold มันไม่ค่อยดี พูดเสร็จ หัวเราะ แล้วก็จากไป"ทั้ง 2 ที่ี่เล่าให้ฟังนี้ เป็นโรงงานประเภท Machine Baseนะครับ พูดง่ายๆ "รายได้จะเกิดจากเครื่องจักรทำงาน" คิดเอาเองนะครับ ว่าถ้าปล่อยไปจะเกิดอะไรขึ้น บทสรุปสุดท้ายในฐานะที่ปรึกษา ผมเลยเสนอว่า
"เอางี้ละกัน ผมช่วยคุณระดับหนึ่งละกัน ด้วยการช่วยทำระบบบันทึกข้อมูลการผลิตและการทำงานของเครื่องจักร เพื่อจะได้มาดูกันว่าเครื่องจักรที่เรากำลังใช้งานอยู่นั้น มันมีประสิทธิผลมากน้อย ผมเลือกทำระบบตัวนี้บน Excel แล้วกัน เวลาคุณจะเอาข้อมูลไปใช้งานต่ออย่างอื่น น่าจะไม่ยากสำหรับคุณ ไอ้ตัวที่ผมจะเอามาช่วยใน Excel เขาเรียกว่า Visual Basic Application หรือ VBA หรือหลายๆคน เรียกทำ Macro"จากการรับปากในวันนั้น พยายามใช้เวลาว่างๆ นั่งพัฒนาระบบให้เรื่อย จวบจนเป็นรูปเป็นร่างในวันนี้ ก็เลยขอเผื่อแผ่ไปให้ SMEs อื่นๆ หรือผู้ที่สนใจได้เอาไปใช้แบบไม่ต้องจ่ายตังค์บ้าง อย่างไรก็ตาม Version ที่ให้ Download ไปใช้นั้น ก็ยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถให้ใช้งานได้หมดนะครับ เช่น
- สามารถใช้ได้สำหรับเครื่องจักรที่ผลิตได้วันหนึ่งไม่เกิน 3 รุ่น
- ข้อมูลรอบเวลาการผลิตมาตรฐานยังไม่ใช้หน่วยวัดที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทุกราย
- อาการของเสียจะระบุเป็นรหัสไว้ เพราะแต่ละองค์กรมีของเสียไม่เหมือนกัน
- ยังไม่มีระบบการวิเคราะห์ Loss ซึ่งจริงแล้วก็ทำได้ แต่ฉบับ Free ใช้งาน ยังไม่มีส่วนนี้ครับ
สามารถ Download ตัว Demo/Free ได้ตาม Link หรือภาพได้เลยครับ
"ระบบบันทึกข้อมูลการผลิต-OEE"
หน้าจอระบบบันทึกข้อมูลการผลิตเพื่อคำนวนค่า OEE |
- เปิด File ที่ Download
- ปรับปรุงฐานข้อมูลการผลิตให้ครบถ้วน สมบูรณ์ก่อน (ทำครั้งเดียว แล้วใช้ไปยาวๆ)
- จากหน้าหลักคลิกตรงปุ่ม "บันทึกข้อมูลการผลิต" ก็จะแสดงข้อมูลตามภาพขึ้นมา
- ป้อนข้อมูลการผลิตที่เกี่ยวข้องในวันนั้นๆ ในแต่และช่อง ให้ครบถ้วน
- กดปุ่มบันทึกระบบก็จะแสดงข้อมูล OEE ที่คำนวณได้ และทำการสอบถามให้ท่านยืนยันความถูกต้องอีกครั้ง และจะบันทึกเก็บไว้
- ข้อมูลที่บันทึกเก็บไว้ สามารถนำไปใช้งานในการวิเคราะห์ต่างๆ ตามความต้องการของท่านก็ได้
- เมื่อต้องการล้างข้อมูล ก็กดปุ่ม "ล้างข้อมูล" ต้องการออกจากระบบก็กดปุ่ม "ปิด/ออกจากระบบ
และเมื่อ 04 ก.ค 2561 ผมได้ upgrade ให้สามารถวิเคราะห์และแสดงผลเป็นลักษณะของ OEE Dashboard ซึ่งสามารถเลือกดูตามช่วงเวลา และจะจัดลำดับ Loss และของเสียที่เกิดขึ้นให้ด้วย ลองไปดูนะครับลองไปใช้ดู เป็นไงกันบ้าง ก็บอกมาว่าพอใช้งานกันได้ไหม ชอบ/ไม่ชอบก็ Comment กันได้ ส่วนใครอยากได้ที่สมบูรณ์และตรงกับกิจการของตนมากกว่ามากกว่านี้ ต้องติดต่อกันเป็นการส่วนตัวนะครับ อาจมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาปรับปรุงบ้างนิดหน่อย แต่คุ้มค่าแน่นอน
มงคล พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479
03 เมษายน 2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น