วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

Blockchain : Practice ใหม่ใน Supply Chain แล้วเกี่ยวอะไรกับเงิน Digital

เมื่อ 16 ตุลาคม 2560 ทาง APICs ได้ประกาศตัวแบบการจัดการโซ่อุปทานใหม่เป็น SCOR 12.0 ซึ่งผมเคยได้เขียน Blog เรื่องนี้ไว้แล้วครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ลองไปติดตามดูได้ SCOR 12.0 : Version ใหม่ล่าสุด ของการจัดการโซ่อุปทานจาก APICS

ที่สำคัญภายใต้ SCOR 12.0 นี้ มี Emerging Practice ตัวหนึ่งประกาศออกมาด้วย นั้นก็คือ  "BP.178 Block Chain" เอาละซิ นั้นหมายความว่า Trend สมัยใหม่ เทคโนโลยีตัวใหม่ที่ท่านต้องเจอในระบบ Supply Chain ก็คือ "เทคโนโลยี "Block Chain" ขอใช้คำว่าเทคโนโลยีนะครับ เพราะว่านี้คือ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในรับ-ชำระเงิน และการเชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญของโลก   

ที่มาของภาพ : https://www.neowin.net


จริงๆ ข้อมูลเกี่ยวกับ Block Chain เริ่มมีให้เห็นกันอยู่หลาย Website แล้วนะครับ แต่ผมว่ามันยังไม่สะกิดติ่งความรู้ความเข้าใจแบบชาวบ้านๆ ที่ไม่เข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์มากมาย ก็เลยขออนุญาตเขียนบ้าง แต่เขียนในสไตล์คนบ้านๆ ลูกทุ่งๆ ตามที่ผมเข้าใจนะครับ ผิดถูกอย่างไรว่ากันอีกที  


เริ่มต้นอย่างนี้ละกัน... ขอเอาเรื่องราวที่ภาคการเงินที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เป็นตัวอย่างเพื่ออธิบายประกอบเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นดีกว่า  กล่าวคือ หากเราย้อนดูจากอดีต จนถึงปัจจุบันมีเกี่ยวกับรูปแบบในการรับ-ชำระเงิน ก็พอจะอธิบายในแต่ละยุคได้ประมาณนี้


1. ในยุคโบราณ (ผมเองก็เกิดไม่ทัน 55) เป็นการซื้อขายที่เอา "ของไปแลกของ เอาสินค้าไปแลกกัน"


2. ยุคต่อมา (ไม่รู้ยุคไหนเหมือนกัน บังเอิญไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ฮิฮิ) เริ่มคิดค้นสิ่งของเพื่อใช้แทนมูลค่าของสินค้า เกิดการใช้เงินพดด้วง (อะไรประมาณนั้น) ในยุคนี้ 


3. ยุคต่อมา (เริ่มทันแล้ว) มีการนำเงินตรามาใช้แทนมูลค่าสินค้า ทั้งเป็นเหรียญ เป็นธนบัตร เพื่ื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่เราอยากได้


4. ยุคของบัตรเครดิต (ได้ทันใช้เช่นกัน) จำได้มีบัตรเครดิตใช้ตอนเริ่มต้นทำงานใหม่ เท่มาก เป็นคนมีเครดิต เอาเงินในอนาคตมาใช้ แค่เอาบัตรพลาสติตรูด ก็ได้ของที่ต้องการแล้ว แต่ตังค์ยังไม่ต้องจ่าย 555


5. ยุคปัจจุบัน (โอนผ่านได้ไวไว ขอแค่มีบัญชี) เป็นยุคที่โอนผ่านการทางอากาศ แต่มีคนกลาง คือธนาคารช่วยทำธุรกรรมให้ แต่ขอค่าต๋งจากการทำงานแต่ละครั้ง ผลิตภัณฑ์ยุคนี้ เช่น Internet Banging, Mobile Banking, QR Code หรือพวก Prompt ต่างๆ ที่เห็นกันอยู่นั้นแหละครับ


6. ยุคอนาคตอันใกล้นี้ คือ ยุคของการ โอนข้อมูลการเงินไปให้โดยที่ไม่ต้องผ่านคนกลาง (อย่างเช่นธนาคาร) แต่ใช้ระบบการยืนยัน Transaction (ซึ่งมี miner ช่วยทำงานในการยืนยัน)  แล้วรวบ Transaction ที่ยืนยันแล้วเป็น Block เดียวกัน แล้วส่งไปเป็น Block ไปให้ในระบบ ถ้า Block ตรงกันกับผู้ที่ต้องการ เขาก็เอามาต่อกับ Block chain ของคนที่มีสิทธินั้นๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีความ
ปลอดภัยสูงมาก เพราะใน Block มีการกำหนดความสัมพันธ์ไว้ด้วย ถ้า Block เปลี่ยนไป ผู้เปลี่ยนต้องตอบโจทย์ให้ถูกต้องภายใน 10 นาที ซึ่งระหว่างที่ตอบโจทย์นั้นจะเกิด Block ใหม่ๆ ใน Chain ที่ต้องตามแก้ตลอดเวลา (ซึ่งสภาพจริงจะตามแก้ไม่ทัน ทำให้ Block นั้นๆ พังไปใช้งานไม่ได้) และที่สำคัญเทคโนโลยีนี่้มีต้นทุนดำเนินการที่ต่ำกว่าวิธีการเดิมๆ 

ทั้งนี้ "เทคโนโลยี Block chain" ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ในกระบวนการทางเงินเพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำไปใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดโซ่อุปทาน เพราะเป็นการทำงานของเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลที่ทำให้ block ของข้อมูล Link ต่อๆ กัน มันจึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารจัดการโซ่อุปทานในอนาคต โดยหลักการคือ เรื่องนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องทำงานผ่านตัวกลาง และสามารถนำมาใช้แทนระบบเอกสารต่างๆ ที่มากมายในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ใน Block เป็นเรื่องยากมากๆ เพราะทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของ Blockchain สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงนี้จะได้รับอนุญาต ก็ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง ใครอยากทดลองเขียน Chain Code ดู ก็ลองศึกษาได้จาก IBM DeveloperWorks ดูนะครับ ผมความรู้ด้าน Coding ไม่ถึงขอบายๆๆ 555   


แต่เหตุที่ทำให้เทคโนโลยี Block chain เป็นที่รู้จักและกล่าวถึงมากขึ้น จนหลายคนสับสนว่า Bitcoin และ Block chain คือสิ่งเดียวกัน ก็เพราะ สกุลเงิน Digital อย่าง ฺBitcoin ได้นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ในการทำธุรกรรมสำหรับการโอนเงิน และดูแนวโน้มว่าโลกของเงิน Digital จะถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้นๆเรื่อยๆ  จนปัจจุบันมีเกิดสกุลเงิน Digital ไปแล้วกว่า 1000 สกุลเงิน เพราะอย่างที่บอก มันจะกลายมาเป่็นตัวแทนหรือเงินสมมติในการทำธุรกิจกรรมทางการเงินระหว่างกันโดยไม่มีคนกลางให้วุ่นวาย


แล้วเงิน Digital เหล่านี้ มาจากไหน?


คำตอบก็คือ 
รางวัลที่ได้จากการช่วยประมวลผล  Algorithm  ทางคณิตศาสตร์แบบสุ่ม เพื่อช่วยยืนยันการทำ transaction โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดนเฉพาะ CPU และ GPU  จนปัจจุบันเกิดอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริมเกิี่ยวกับเงินสกุล Digital ขึ้นมา  ก็คือ

1. สาย Trade (ซื้อ-ขาย) เงิน Digital กลุ่มนี้ไม่ต่างอะไรกับพวกซื้อขายเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน มีคนเจ๊งมาก และก็รวยมาก อยู่ที่โชค อยู่ที่เทคนิค และวิธีการ ไม่เจ๋งจริง อย่าเสี่ยง ฮิฮิ


2. สายขุดเงิน Digital (BTC,ETH ...) โดยตรง หรือ miner พวกนี้เป็นเป็นออกแรง เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ เหมือนการลงทุนซื้อหม้อ จาน ชาม ถ้วย ช้อน เพื่อทำอาหารขาย นำรายได้กลับมา ซึ่งผลที่ได้ 2 ทาง คือ 

       - คนซื้ออาหารกินจนคุ้มกับทุนทึ่ลง จากนั้นก็ทำกำไร
       - ในทางกลับกัน ถ้าขายไม่ดีก็ต้องเลิกกิจการแล้วก็ต้องขาย หม้อ จาน ชาม ถ้วย ช้อน ทอดตลาด เพื่อเอาทุนกลับคืน ให้ได้มากที่สด
  
สายนี้ ไม่ต่างอะไรกับการลงทุนทำคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครื่องขุดที่เห็นๆกันอยู่ในปัจจุบัน โชคดีคือได้ทุนคืน คือ สินทรัพย์ (คอม การ์ดจอ ฯลฯ) ฟรีกลับมา หลังจากนั้นก็ทำกำไร ส่วนค่าใช้จ่ายประจำคือ ค่าไฟสำหรับเครื่องขุด ซึ่งทั้งหมดถ้าคืนทุนเร็วก็ดีที่สุด (ซึ่งเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน Digital และแรงขุดของเครื่อง) อย่างไรก็ตามเหรียญที่ขุดได้ก็มีจำกัด 
ภาพที่ 2 : เครื่องขุดเงิน Digital ที่บุคคลทั่วไปใช้งานกัน




3. สายเช่าเครื่องขุด (Lending) พวกนี้ไม่ต้องลงทุนสินทรัพย์ แต่ลงทุนเช่าแรงขุดมาทำหน้าที่ขุดเงิน Digital ให้ มีให้เช่า ตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน  1 ปี 3 ปี แล้วแต่เลือก 


4. สายสุดท้าย คือ สาย Hacked 555 สายนี้ไม่ค่อยอยากกล่าวถึง เพราะเป็นพวกโจรกรรม Block โจรกรรมเงินรางวัลที่ได้ ทำให้ Block เสียหาย ซึ่งด้วยระบบการทำงานของเทคโนโลยีที่ปลอดภัยสูง ทำให้การนำ Coin ที่ได้นำไปใช้ได้ยาก แต่ก็เป็นข่าวให้เกิดความเสียหายอยู่เรื่องๆ  นอกจากนี้สายนี้ขอเหมารวมกลุ่มของคนที่แอบใช้สินทรัพย์ของผู้อื่นทำงานอยู่ด้วย

ส่วนใครจะเลือกทางไหน ไม่ขอแนะนำ อยู่ที่ใจของแต่ละคนเลยครับ เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แม้ว่า ROI โดยเฉลี่ยสูงกว่าการทำธุรกิจอื่นๆ ก็จริง แต่ก็ไม่มีสิ่งใดการันตีความสำเร็จ  


แต่สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำคือ เราควรทำความเข้าใจกับเทคโนโลยี Block chain ให้มากๆ เพื่อเตรียมนำมาใช้กับการดำเนินการในธุรกิจต่างๆ เพราะยักษ์ใหญ่ของโลกหลายองค์กร ได้ริเริ่มที่จะนำมาใช้แล้วมากมายอย่างที่เป็นข่าว เช่น 

ข่าว IBM and Maersk establish blockchain-based supply chain company , 
หรือข่าว Microsoft and GlaxoSmithKline among companies involved in Viant blockchain programme

ผมเองยังไม่มีความรู้เรื่องนี้เท่าไร แต่ก็พยายามตั้งโจทย์และไปจุดๆนั้นให้ได้แบบเขา คิดและทำก่อนคนอื่นๆ น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยเฉพาะการเขียน Chain Code มาใช้งาน "ได้การแล้วซิ....เดี๋ยวต้องรีบไปทาบทามน้องๆ ในทีมงานที่มีความรู้เรื่อง Coding มาทดลองสร้าง Chain Code ขึ้นสักหน่อยซะแล้วซิ เพื่อใช้ในระบบการทำงานต่างๆ ภายในโซ่อุปทาน เสร็จเมื่อไรแล้วจะมาเล่าให้ฟังครับ นะครับ"

มงคล  พัชรดำรงกุล
31 มกราคม 2561
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...