วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

ชีวิตการทำงานแนวใหม่ DNA ที่ต้องการ สำหรับงานยุค Industry 4.0

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศที่กำลังถูกกล่าวขานว่า เรากำลังเดินเขาสูู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 หรือ Industry 4.0 ทำให้ผมและหลายๆคน ถูกคลื่นนวัตกรรมจากต่างประเทศทั้งปรัชญาการบริหาร เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และอีกมากมายซัดเข้าใส่ แล้วพวกเราควรทำอย่างไรดีกับสภาพที่เป็นเช่นนี้

Blog นี้ของผมครั้งนี้เลยอยากนำเสนอแนวคิดของการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพื่อรองรับสภาพการดำเนินงานที่เราจะต้องเจอในอนาคต ซึ่งจริงๆ เราไม่จำเป็นต้องกลัวหรือเป็นกังวลต่อเทคโนโลยีต่างๆ แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องทำคือทำความเข้าใจกับมัน และเปลี่ยนแปลงตัวตนน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่า 


แนวคิดหลัก รองรับการทำงานยุค 4.0
ผมถูกสอนและหล่อหลวมความคิดจนเป็นความเชื่ออย่างน้อย 2 ประการคือ "ของดีสร้างจากกระบวนการที่ดี หรือ Process Oriented" และ "ความคาดหวังของลูกค้าเป็นตัวตั้ง หรือ Market in" เพราะลูกค้ายินดีที่จะจ้างหรือจ่ายเงินให้กับคุณค่า (Value) ที่เขาได้รับ 

เมื่อตกผลึก 2 สิ่งที่คิดได้นี้ เลยเกิด 4 อย่างที่เราต้องเปลี่ยนเพื่อรองรับยุค Industry 4.0 หรือ IOT ปัจจุบันคือ

1. "ฝึกตั้งโจทย์ มากกว่าตอบโจทย์" แค่เรื่องแรกสำหรับมุมมองของผมที่สัมผัสทั้งผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร และเจ้าของกิจการต่างๆ มากมาย ขอบอกเลยนี้คืิอโจทย์นี้โคตรหินสำหรับคนไทย เพราะด้วยรูปแบบวิธีการเรียนการสอนตั้งแต่ประถม จนระดับมหาลัย (อาจารย์มีโจทย์มาให้เราหาคำตอบ เจ้านายบอกความต้องการให้ ส่วนเราไปหาวิธีมา) ซึ่งจะเห็นได้ว่าเราถูกฝึกให้ตอบโจทย์กันมาอย่างต่อเนื่อง "เราสามารถตอบโจทย์กันจนเป็นแชมป์โอลิมปิกสายวิชาการเกือบทุกสาขาที่ประกวดในโลก แต่สิ่งหนึ่งที่เราพบเห็นได้น้อยคือ เราไม่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ จนน่าจะเป็นแชมป์ระดับโอลิมปิก"  เราตกเป็นผู้ใช้ของที่ต่างชาติคิดตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วันเกษียณ ลองมองดูสิ่งที่เป็นอยู่รอบๆตัวซิครับ แล้วถ้าเราทำได้สิ่งที่เราตั้งโจทย์ขึ้นได้ สิ่งนั้นจะกลายเป็นนวัตกรรม (Innovation) ทันที  ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำ คือ ุเราต้องแกล้งสมอง ต้องฝึกตั้งโจทย์ แล้วเราจะเกิดนวัตกรรมมากมายในหน่วยงาน ในองค์กร ในประเทศ

2. "พัฒนาตน ค้นหาศักยภาพตัวเอง" สิ่งที่ 2 ที่เราต้องทบทวนและเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ คือ เราต้องหาให้เจอว่า เรามีดีที่ใด เพราะชีวิตการทำงานในอนาคตเรากำลังจะถูก AI (ปัญญาประดิษฐ์) หรือหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotics)  ดังนั้นคู่แข่งของไม่ใช้แค่บุคคล แต่เป็นหุ่นยนต์ ซึ่งเริ่มเห็นมากมายแล้วในหลายธุรกิจ เราต้องคิดและทำในสิ่งที่ AI ทำไม่ได้ อย่างหนึ่งที่เราต้องเชื่อคือ เรามีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่สูงกว่า AI หรือหุ่นยนต์ต่างๆ แล้วเรานำจินตการเหล่านั้นมาทำงานหรือไม่ ถ้าทำได้รับรองท่านยังจำเป็น และมีคุณค่ามากกว่า AI แน่นอน และที่สำคัญอาจได้ทำหน้าที่ควบคุมหรือสร้างสรรค์ AI แทน

3. "สร้างคุณค่าที่ลูกค้าอยากได้" ธุรกิจของท่านถ้าจะได้ไปต่อเมื่อมีคนซื้อ และเงินจะออกจากกระเป๋าคนซื้อเมื่อรู้ว่าเขาได้คุณค่าที่ต้องการ ไม่แปลกใช่ไหมที่เราเห็น Start up ใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการหรือควาดหวังที่ซ่อนอยู่ในตัวลูกค้า จนประสบผลสำเร็จมากมาย เริ่มคิดและเปลี่ยนตัวเองนะครับ เรามีคุณค่าใดที่ขายลูกค้าหรือผู้ซื้อได้หรือไม่ แล้วมันดีกว่าคู่แข่งแล้วใช่หรือไม่ "ทำมากไม่ได้เปลี่ยนว่าจะรวย แต่ถ้าทำให้ถูกใจจะได้ตังค์" หากทำได้เมื่อนั้นรายได้ก็จะเพิ่มขึ้นๆ

4. "มุ่งขจัดความสูญเปล่า" เมื่อเราทำให้มีคนซื้อได้แล้ว แต่เราก็ต้องควบคุมต้นทุนที่ใช้ตอบสนองเหล่านั้นให้ได้เช่นกัน ซึ่งความเป็นจริงต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นมักจะมีความสูญเปล่าแผงอยู่ แล้วความสูญเปล่าคืออะไร ชีวิตการทำงานทุกๆ วัน ท่านยังพบกับกิจกรรมที่ต้อง "ย้ายบ่อย คอยนาน งานผิด ผลิตเกิด เดินเอื้อมหัน ขั้นตอนไร้ค่า ไม่ค้นหาศักยภาพคน"  อยู่หรือไม่ ยิ่งมีเยอะ รูู้ว่าเลยครับท่านมีความสูญเปล่ามากมาก และมันได้ส่งต่อมาเป็นต้นทุนในการดำเนินงานของท่าน สุดท้ายไปจบอยู่ที่ราคาขายของสินค้าและบริการ แล้วท่านมั่นใจใช่ไหม ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้ายิ่งดีที่จะจ่ายในราคาเดิมๆ ตลอดไป ดังนั้นเรื่องที่ 4 ที่ต้องทำคือ ใช้ชีวิตทุกวันเพื่อขจัดความสูญเปล่า อยากให้มันเกิดขึ้น อย่าให้มันเติบโตขึ้นมาในองค์กร เมื่อทำได้ต้นทุนของท่านจะลดลง

เป็นไงบ้างครับ 4 แนวทางชีวิตการทำงานยุคใหม่ ที่ต้องเปลี่ยนไปพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ยังมีบทความอื่นๆที่น่าสนใจและติดตามเพิ่มเติมได้อีกนะครับ ติดตามดูได้ที่ https://naitakeab.blogspot.com นะครับ #DNAการทำงาน #วิธีการทำงานยุคใหม่ #การแปลงแปลงในยุค4.0

Naitakeab
25 มกราคม 2561  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...