วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

Inventory เท่าไรดี อยู่ที่วิธีการตอบสนอง

หลายครั้งแล้วที่ผมจะเขียนเรื่องนี้ แต่จนแล้วจนรอดมีเหตุให้ต้องเลื่อนๆ จนลืมเขียนเรื่องนี้ไปทุกทีๆ ทั้งๆ ที่มันเป็น Fundamental ของวิธีการทำงาน วิธีการบริหารสินค้าคงคลัง

ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าก่อนนะว่าสินค้าคงคลัง (Inventory) หากจำแนกตามสถานะของวัสดุคงคลัง จะมีอยู่ 4 ประเภทที่ต้องดูแลจัดการมันให้อยู่หมัด (ส่วนการจำแนกตามรูปแบบอื่นๆ วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง รอติดตามกันต่อไปนะครับ โดยทั้ง 4 ประเภทที่ว่านั้น คือ


1. วัตถุดิบ (RM หรือ Raw Materials)
2. สินค้าระหว่างผลิต (WIP หรือ Work in Process)
3. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (FG : Finish Goods)
4. อะไหล่ในการซ่อมบำรุง (MRO : Maintenance Repair and Operation)

โดยแนวคิดเรื่องการกำหนดให้ "ปริมาณ Inventory ที่ถือครองเท่าไรดี อยู่ที่วิธีการตอบสนอง" นั้นอยู่บนหลักการที่ว่า "ผู้ใช้คือผู้กำหนดปริมาณ Inventory" ที่ควรเป็น โดยการนำแนวคิดการบริหารด้วยระบบดึง (Pull System) เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้ผลลัพธ์ 2 ประการหลัก คือ

1. สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้อย่างเพียงพอ
2. มีต้นทุนในการบริหารสินค้าคงคลังที่เหมาะสม (จำไว้นะครับต้นทุนสินค้าคงคลังถ้าให้ครบถ้วนจะมี 4 ตัวที่ต้องดูแล คือ ต้นทุนมูลค่าของสิ่งที่จัดหามา หรือ Material Cost, ต้นทุนการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต (Ordering/production Cost), ต้นทุนการจัดเก็บ (Holding Cost), และต้นทุนสินค้าขาดแคลน (Stock Out Cost) เดี่ยวว่างๆ จะมาเขียนเรื่องนี้ให้เข้าใจอีกครั้งนะครับ

เมื่อเราคิดได้ดังนั้นแนวทางการบริหารสินค้าคงคลังมันจึงสัมพันธ์กับ Decoupling Point หรือจุดที่เป็นจุดเชื่อมโยงกิจกรรมการดำเนินงาน ได้ดังนี้





























1. ณ จุด Decoupling Point ที่ 1 พฤติกรรมของลูกค้าต้องการใช้สินค้าคงคลังนั้นทันทีตามที่ต้องการ ดังนั้นแนวทางการบริหารสินค้าคงคลัง จึงควรเลือกใช้การบริหารแบบ VMI-Vendor Managed Inventory หรือ Consignment หรือการฝากขาย เพราะ 2 รูปแบบการทำงานนี้ จะทำให้ลูกค้ามีของพร้อมใช้หรือจำหน่ายให้กับ End Customer ทันที ส่วนเราก็ได้ประโยชน์จากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งมอบ และสินค้าที่อยู่ที่ลูกค้าส่วนใหญ่มีโอกาสได้รับการขายและใช้สูง

2. ณ จุด Decoupling Point ที่ 2 พฤติกรรมของลูกค้า ณ จุดนี้ คือไม่ต้องการเก็บ Stock เอง แต่เมื่อสั่งซื้อจะอยากได้สินค้าที่รวดเร็ว ดังนั้นเราต้องมีสินค้าคงคลังเพื่อตอบสนองความต้องการที่เหมาะสม แนวทางหนึ่งที่ควรทำคือการ "Make to stock" หรือ Source to Stock (นึกถึงร้านข้างแกงไว้ เพราะทำงานเหมือนกัน) เพราะเมื่อมีคำสั่งซื้อ เราจะสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันที โดยระยะเวลาในการตอบสนองจะเท่ากับ Lead time ของกระบวนการส่งมอบ ทั้งนี้แนวทางนี้องค์กรต้องพัฒนาระบบการพยากรณ์ (Forecasting) ให้มีความแม่นยำด้วย พร้อมทั้งกำหนดระบบการ Fulfillment stock ที่มีประสิทธิภาพด้วย

3. ณ จุด Decoupling Point ที่ 3 พฤติกรรมของลูกค้า ณ จุดนี้ คือไม่ต้องการเก็บ Stock เอง และมีระบบการวางแผนการสั่งซื้อล่วงหน้า มีเงื่อนไขด้านระยะเวลาที่ต้องการที่สมเหตุสมผล แต่ Lead Time การทำงานในการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ น้อยกว่า  Lead time ที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องมีสินค้าสำเร็จรูปเพื่อตอบสนองต่อลูกค้าโดยทันที แต่เราต้องบริหารกระบวนการผลิตให้มีสินค้าระหว่างผลิตบางส่วน อาจผลิตเป็น Module ต่างๆ ไว้แล้วนำมาประกอบเป็น FG  เพื่อส่งมอบใหม่ลูกค้า ดังนั้นแนวทางการตอบสนองแบบนี้ควรเป็นแบบ "Assembly to Stock"

4. ณ จุด Decoupling Point ที่ 4 พฤติกรรมของลูกค้า ณ จุดนี้ คือไม่ต้องการเก็บ Stock เอง และมีระบบการวางแผนการสั่งซื้อล่วงหน้า มีเงื่อนไขด้านระยะเวลาที่ต้องการที่สมเหตุสมผล และ Lead Time การทำงานในการผลิตก็สอดคล้องกับระยะเวลาที่ลูกค้าต้องการ  ดังนั้นแนวทางการตอบสนองแบบนี้ควรเป็นแบบ "Make to order" หรือการผลิตตามสั่ง จะเริ่มกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มทุกอย่างเมื่อมีคำสั่งซื้อและเท่านั้น (นึกถึงร้านอาหารตามสั่งไว้ เพราะทำงานเหมือนกัน) โดยวิธีการนี้เราจำเป็นต้องบริหารวัตถุดิบ (RM) ให้มีประสิทธิภาพ ให้เพียงพอต้อความต้องการ และเกิดต้นทุนด้านการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ถ้ารายการใดต้องนำเข้า ก็ต้องมีระบบ Safety Stock มีจุดสั่งซื้อ (ROP) ที่เหมาะสม ถ้าสั่งซื้อจากในประเทศก็อาจทำเป็นระบบ JIT หรือ Kanban หรืออื่นๆ ที่เหมาะสมกับ Supplier ก็ได้

5. ณ จุด Decoupling Point ที่ 5 พฤติกรรมของลูกค้า ณ จุดนี้ คือ ความต้องการในผลิตภัณฑ์นั้นไม่ชัดเจน ผลิตภัณฑ์อยู่ในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา เช่น อยากจะผลิตข้าวผัดกะเพราที่ไม่มีใบกะเพรา ซึ่งต้องผ่านกระบวนการคิดค้น วิจัย พัฒนาร่วมกันทั้งโซ่อุปทาน ดังนั้นแนวทางการตอบสนองแบบนี้ควรเป็นแบบ "Engineering to order" โดยเราจำเป็นต้งหลีกเลี่ยงการ Stock สินค้าที่เป็น Unique ทุกรายการ เนื่องจากความเสี่ยงจากการเป็น Obsolescence Stock เกิดขึ้นได้ง่าย และควรทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด และชัดเจน

เป็นไงบ้างครับเทคนิคในการบริหารปริมาณ Inventory ว่าควรเป็นแบบใด เท่าไรดี ซึ่งจริงๆแล้วต้องสัมพันธ์การแนวทางที่ต้องตอบสนอง ทั้งนี้ใน Blog นี้ ผมยังไม่กล่าวถึงวิธีการในการคำนวณปริมาณที่ต้องถือครองนะครับ เพราะอยากให้ได้เข้าใจแนวคิดก่อน เมื่อได้แนวคิดที่เหมาะสมแล้ว ที่เหลือคือเทคนิคในการจัดการภายใต้แนวคิดแต่ละประภทครับ

ถ้าชอบก็กระจายให้สถานประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะของคนไทย SMEs ไทยได้มีความรู้ แนวคิดการทำงานที่เหมาะสมและใช้ได้จริง เพราะหลายๆ อย่างที่ยกมา ไม่ได้มีอยู่ในตำราที่เขียน แต่เกิดจากการปฏิบัติ การประยุกต์จากสิ่งที่ใช้จริง ส่วนใครจะแนะนำ ติชม หรือต่อยอด ก็ยินดีนะครับ

มงคล  พัชรดำรงกุล
29 มกราคม 2561 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...