วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กระจก 3 บาน ส่องแล้วบอกได้ถึงผลงานการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของกิจการ

ทุกวัน คนเรา ส่องกระจก เพื่อดูว่าสภาพร่างกายของเราดูดี พร้อมก้าวสู่สังคมภายนอกหรือไม่

ทุก 6 เดือน หรือ 10,000 กม. ยานพาหนะคู่กาย จะเข้ารับการตรวจสภาพ ว่าทุกชิ้นส่วนอุปกรณ์ยังดีอยู่ไหม

ทุก 1 ปี ร่างกายต้อง Check Up ดูว่ากลไกการทำงานแบบอัจริยะของสิ่งมีชีวิต ยังปกติ ใช้งานดีหรือไม่

และแน่นอน การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ก็ควรมีมาตรวัด เพื่อส่งกระจกบอกผลงานเช่นกัน สำหรับมุมมองของผม ก็อยากเห็นกิจการส่งกระจก 3 บาน อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อบ่งบอกผลงานที่ผ่านมา และก้าวย่างที่กำลังจะไปต่อ ว่าใช่สิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ แล้วกระจกทั้ง 3 บาน คืออะไรบ้าง

บานที่ 1 - บอกศักยภาพทางการบริหารที่คุณมี - บอกด้วยศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์
บานที่ 2 - บอกประสิทธิภาพที่คุณกำลังเป็น - บอกด้วย ILPI (ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรม)
บานที่ 3 - บอกประสิทธิภาพการทำงานทั้ง Suplly Chain - บอกด้วย SCPI (ตัวชี้วัดการประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทาน)
ขอบคุณทางกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรรม ที่ได้จัดทำคู่มือเหล่านี้ขึ้น เพื่อให้กิจการที่สนใจได้ส่องกระจกตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ในแบบฉบับของ Self Assessment เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่อง

คู่มือการประเมินประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ใครสนใจก็สามารถเข้าไป Download Soft copy มาใช้ศึกษาและส่งกระจกบอกผลงานตัวเอง สามารถคลิกที่ คู่มือการประเมินประสิทธิภาพ และศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน หรือภาพได้เลยครับ

ส่วนใครที่ประเมินแล้ว อยากพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะด้านโลจิสติกส์ของกิจการให้ดีขึ้นๆ ก็ Inbox มาคุยกันเป็นการส่วนตัวได้ครับผม 

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563

"ต้นทุน" ลดได้ทุกวัน ในทุกกิจกรรม

เพราะทุก Activities ของการทำงาน แลกมาด้วย Cost แล้วมันใช่ Cost ที่ควรจ่ายหรือยัง?

ระหว่างเตรียมงานบรรยายให้กับหน่วยงานแห่งหนึ่ง ไปเจอเนื้อหา File การสอนในอดีต สมัยเมื่อครั้งเริ่มต้นการเป็นวิทยากรที่ปรึกษา เลยหยิบมาปัดฝุ่นอีกนิดหน่อย น่าจะเข้ากับสถานการณ์ได้ดี และน่าจะเป็นมุมมองสำหรับการเริ่มใส่ใจเรื่องต้นทุนที่มากขึ้นๆ ของหลายๆกิจการนับจากนี้ ยิ่งสถานการณ์ Covid แบบนี้ ความจำเป็นที่ต้องจัดการเรื่องต้นทุนยิ่งทวีคูณ

"ต้นทุนแฝงอยู่ในทุกกิจกรรมที่ท่านทำ" นั่นคือประเด็นแรกที่ท่านต้องคิด 
"ยิ่งมีกิจกรรรมเยอะ ยิ่งทำบ่อย ยิ่งทำช้า ยิ่งทำผิด" ยิ่งทำให้เกิดต้นทุน นี้คือสาเหตุเบื้องต้นที่เราต้องเข้าใจ

ความสามารถในการจัดการต้นทุน ว่ากันแล้ว เป็นหน้าที่ของทุกคน เป็นเรื่องที่ควรทำพร้อมกัน จนเป็นกิจวัตรนิสัย ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่ารอจนเกิดสภาพจำใจที่ต้องลดต้นทุนแบบจำยอม ซึ่งเมื่อนั้นอาจจะสายเกินไป 

ภาพ 4 ภาพนี้ น่าจะช่วยหาคำตอบเบื้องต้นให้บ้าง หากมีเวลา แล้วผมจะมาเพิ่มเติมและอธิบายข้อมูลในแต่ละภาพให้ฟังนะครับ 







ดูข้อมูลและบทความที่ผมเขียนเพิ่มเติมได้อีกช่องทางที่ https://www.facebook.com/rightway.mgt/ และ https://naitakeab.wordpress.com/   

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการเพิ่ม Productivity องค์กร  
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 


Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...