วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Daily Management Technique

สำหรับภาษาไทย

Every day, every working people must be think, to be action, to solve issue, to manage team, to make decision under differentiate working situation, more or less upon the responsibility.

Normally, the management vehicle that use to drive to be meet the cooperate 

objectives  consists of 5 driven management are;
  1. Policy Management
  2. Daily Management
  3. Collaboration Management 
  4. Risk Management 
  5. Bottom-Up Activity such as 5S, Kaizaen, QCC
The 5 driven management methods are the 1 of 4 pillars under "Supply Chain Excellence House", please click link for more details.

For this blog, I would like to introduce the driven management method that closely the routine work. That's "Daily Management (DM) Technique".

What is the daily management?

Daily management is "all activities that are routinely performed to effectively achieve the responsibilities of each working task/working area. Basically, this is an activity for keeping the exsiting condition, but also still need to continuous improvement.


Daily Management (DM)  is related to Policy management (PM). The policy management focuses on the improvement via the PDCA cycle. Daily Management is focused on keeping the existing condition and improving the work by rotating the SDCA cycle. And also, If found the crisis situation during daily Management performance,the policy management is revised. See the picture for more details.


Daily Management mechanism and relation of DM and PM
So let's to see, how to do for Daily management?. It's able separate to 7 steps as below.  


  1. Understand your work.
    • This step >> Tell your work yourself, the purpose of the work,  the goal that you want from the job, I recommend covering 5 goals from your existing jobs.
      • Reliability 
      • Responsiveness 
      • Agility
      • Cost
      • Asset management Efficiency
    • See more details about the performance of work at blog "Pyramid Performance" 
  2. Determine the works standard / control point / checkpoint
    • This step will be define the standard of work, control point, check point to know the abnormal process/result. Control point is the result indicator and check point is the Process indicator
  3. Practical leaning and training for yourself and your team to follow standards.
    • After define work standard, next process are make the practitioner understand what to do. Learning and training in practice with good practice skills.
  4. Encourage and motivate the practitioner work compliance with standards
    • Process oriented is the must to do. This step is to take action. Leaders have the duty to make the team to work follow their believe in what needs to be done more than forced to do only.
  5. Follow up / Monitor / Control
    • This step need someone to take response and also establish the system to follow up, monitoring and control. The system such as Visual Management,Control Graph etc.
      • Supervisor Level: At least hourly or less to follow up and monitor the process and result.
      • Manager Level : Half a day, daily, weekly to follow up and monitor the process and result.
  6. Fast action when abnormal
    • Under the monitoring and control system, wheh found the abnormal of result or process. It is necessary to take immediate action. The concept of 2-2-2 may be applied.
      • Problem solved yourself :  Must be solved by 2 hours.
      • Problem solved by organization.Must be solved by 2 days.
      • Problem solved by outsiders or outsources: Must be solved 2 weeks
  7. Continuous Improvement
    • After the problem was solved, need to review and update the work standard or control points/check point to prevent repeated problems.
Sample : Abnormal Report




The process of improvement for daily management will be explain via the process flowchart as below. This improvement flowchart look like Plan-DO-Check-Act cycle but can be applied by changing from PDCA to CAP-D instead.


Daily Management” improvement Flowchart : CAP-D





How do you feel about the technique of Daily management? Is able to make your routine job to be effective? Hope it's useful for you and someone who read this blog. If your have any question or advice, don't hesitate to contact me.


Mongkol  Patcharadamrongkul
Instructor/Consultant

Expert in Productivity improvement, Logistics and Supply Chain Management, 
Thailand, Tel 081-8476479, E-mail : naitakeab@gmail.com 

22 February 2018




วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บริหารงานประจำวันให้เข้าท่ากันเถอะ (Daily Management Technique)

English Version

ในแต่ละวัน ที่เราต้องคิด ต้องทำ ต้องบริหาร ต้องตัดสินใจ รู้ใช่หรือไม่ มีหลากหลายเรื่องราวที่ทำให้เราเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะบุคคล และความรับผิดชอบภายในองค์กร โดยพาหนะที่ใช้ในการขับเคลื่อนกระบวนการบริหารภายในองค์กรมีอยู่ด้วยกัน อยู่ 5 ลำ คือ 
  1. การบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย (Policy Management) 
  2. การบริหารงานประจำวัน (Daily Management) 
  3. การบริหารความเชื่อมโยง (Collaboration Management) 
  4. การบริหารความเสี่ยงในซัพพลายเชน (Risk Management) 
  5. การส่งเสริมหรือดำเนินกิจกรรมพื้นฐาน (Bottom-up Activity
ซึ่งทั้ง 5 ช่องทางนี้ คือ เสาหลัก ใน 4 เสาที่อยู่ภายใต้ "บ้านตัวแบบสู่ความเป็นเลิศตลอดโซ่อุปทาน" ลองไปติดตามอ่านกันได้นะครับ

แต่สำหรับ Blog ในครั้งนี้ ผมขอนำเรื่องราวที่ใกล้ตัวคนทำงาน และเป็นเรื่องที่ปวดกระบาลที่สุด เป็นปัญหายอดฮิต ในสถานประกอบการ นั่นก็คือ "การบริหารหรือจัดการงานประจำวัน (Daily Management) ให้เข้าท่า"

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อน การบริหารงานประจำวัน คืออะไร?

การบริหารงานประจำวัน คือ "กิจกรรมทั้งหมดที่ทำเป็นกิจวัตรเพื่อให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน โดยพื้นฐานแล้วกิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นกิจกรรมเพื่อ การรักษาสภาพปัจจุบัน ไว้  แต่ก็ รวมถึงการปรับปรุงให้ดีขึ้น ด้วย"

เอาละซิงานแบบนี้ หลายองค์กร หลายคนทำงาน มักเรียกว่า งาน Routine ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะเป็นงานที่ทำต้องอยู่่บ่อยๆ เป็นประจำทุกวัน แต่ทำไมบางครั้งความสำเร็จในสิ่งที่ทำมันมาช้าจัง มีเรื่องให้ปวดหัว อารมณ์เสีย ความดันก็ขึ้นอยู่ทุกวัน

การบริหารงานประจำวัน (Daily Management) จะมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงการการบริหารนโยบาย และการบริหารกิจกรรมพื้นฐาน (ฺBottom up Activities) เป็นหลัก โดยการบริหารนโยบายมุ่งเน้นการดำเนินการพัฒนาปรับปรุงตามวงล้อ PDCA ส่วนการบริหารงานประจำวันจะมุ่งเน้นการรักษาสภาพและปรับปรุงงานโดยหมุนตามวงล้อ SDCA และถ้าผลลัพธ์จากการบริหารงานประจำวันที่เป็นปัญหาระดับวิกฤตก็จะถูกยกขึ้นมาปรับปรุงเป็นนโยบาย  ซึ่งแสดงได้ดังภาพ
Daily Management Flow
กลไกการบริหารงานประจำวัน (Daily Management) และความเชื่อมโยงกับการบริหารนโยบาย (Policy Management)

เอาล่ะ! ถ้าอย่างนั้น เรามาดูวิธีการบริหารประจำวันที่ควรเป็นกันได้ดีกว่า ว่าเราต้องทำอะไรบ้างให้เข้าท่า ทั้งนี้มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้
  1. ทำความเข้าใจกับภาระหน้าที่งานของตน
    • เป็นการบอกตัวเองให้ได้ว่าหน่วยงานของตัวเอง หน้าที่ของตัวเอง มีงานอะไรที่ต้องทำบ้างทำไปทำไม (วัตถุประสงค์ของงานที่ทำ) และเป้าหมายที่อยากได้จากงานนั้น ทั้งนี้เป้าหมายของงานที่ทำ ผมขอแนะนำให้พิจารณาครอบคลุมเป้าหมาย 5  ด้าน คือ 
      • ความน่าเชื่อถือ (Reliability) 
      • ความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) 
      • ความคล่องตัว (Agility) 
      • ต้นทุน (Cost) 
      • ประสิทธิภาพของการจัดการสินทรัพย์ (Asset management Efficiency) 
    • ทั้งนี้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของการกำหนดเป้าหมายดูเพิ่มเติมได้ที่ "พีระมิดสมรรถนะการดำเนินงาน"
  2. กำหนด วิธีการ / มาตรฐาน / จุดควบคุม / จุดตรวจสอบ ในการปฏิบัติงาน
    • งานที่ต้องทำมีวิธีการอย่างไร มาตรฐานการทำงานที่เป็น มีอะไรเป็นจุดควบคุม อะไรเป็นจุดตรวจสอบ เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย  
  3. ฝึกฝน ฝึกอบรม ให้ตัวเองและทีมงานทำตามมาตรฐาน หรือวิธีการที่กำหนดไว้
    • เมื่อรู้ว่าวิธีการที่ดีเป็นยังไง ก็ต้องทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจในส่ิ่งที่ต้องทำ ซึ่งจำเป็นต้องฝึกอบรม หรือฝึกฝนให้มีทักษะในการปฏิบัติที่ดี
  4. จูงใจ ให้ปฏิบัติตามวิธีการและมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง 
    • ของดีย่อมสร้างจากกระบวนการที่ดี เมื่อกระบวนการดีแล้ว ผู้ปฏิบัติเข้าใจแล้ว ขั้นตอนนี้คือการลงมือทำ ผู้นำมีหน้าที่ต้องทำให้ผู้ตามเชื่อในสิ่งต้องทำ มากกว่าบังคับให้ทำแต่เพียงอย่างเดียว 
  5. ติดตาม / ตรวจสอบ / ควบคุม 
    • เมื่อลงมือทำ ก็อย่าให้ปล่อยให้ทำแบบตามมีตามเกิด การบริหารงานประจำวันที่ดี ในขั้นนี้ คือ มีระบบในการติดตาม ตรวจสอบ และควบคุม เช่น การใช้กราฟควบคุม (Visual Control, Control Graph)
      • ระดับหัวหน้างาน (Supervisor) ต้องตรวจสอบ การทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างน้อยเป็นรายชั่วโมง หรือเร็วกว่านั้นก็ได้ ยิ่งเร็วก็ยิ่งดี
      • ระดับผู้จัดการ (Manager) ต้องตรวจสอบผลของงานเป็นรายครึ่งวัน รายวัน รายสัปดาห์
  6. พบสิ่งผิดปกติ ต้องรีบแก้ไข และเกาให้ถูกที่คัน 
    • ภายใต้ระบบการตรวจสอบ ควบคุม ที่ใช้ เมื่อใดก็ตามที่พบว่ามีความผิดปกติ (ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือค่าควบคุมที่กำหนด) ต้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยทันที อาจนำแนวคิด 2-2-2  มาลองประยุกต์ใช้ เช่น 
      • ปัญหาแก้ไขได้เอง ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
      • ปัญหาแก้ไขโดยคนในองค์กร ใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน
      • ปัญหาแก้ไขโดยบุคคลภายนอก ใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ 
    • ตัวอย่างการจัดทำแบบฟอร์มอย่างง่ายสำหรับการติดตาม ตรวจสอบความผิดปกติ ของงาน 
    ตัวอย่างการสร้างระบบการควบคุมความผิดปกติ และการดำเนินการแก้ไข

  7. ปรับปรุงแก้ไข วิธีการ มาตรฐาน จุดควบคุม 
    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการสิ่งที่ผิดปกติ ทำให้เกิดวิธีการทำงาน มาตรฐาน หรือจุดควบคุมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่าลืมที่จะปรับปรุงให้การดำเนินการเหล่านั้นให้เป็นปัจจุบันและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ความยั่งยืน ป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ
ทั้งนี้กระบวนการในการปรับปรุงงานภายใต้การบริหารงานประจำวัน เพื่อให้บรรลุวัตุประสงค์เป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถประยุกต์ใช้แนวคิด PDCA (Plan-DO-Check-Act) มาใช้ได้ก็ได้ โดยเปลี่ยนจาก PDCA  เป็น CAP-D แทน ดังภาพ

กระบวนการในการปรับปรุงงานภายใต้การบริหารงานประจำวัน (Daily Management)
ลองไปทบทวนและประยุกต์ใช้ดูนะครับ น่าจะช่วยให้การทำงาน Routine ภายในองค์กรบรรลุผลสำเร็จ และใช้ชีวิตการทำงานอย่างเป็นสุขมากขึ้นๆ หากมีคำแนะนำติชมใดๆ ก็ยินดีครับ แล้วพบกันใหม่ใน Blog ต่อไปครับ

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
22 กุมภาพันธ์ 2561



วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พีระมิดสมรรถนะ : ตัวชี้วัดเพื่อควบคุมและจัดการประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพทั้ง Supply Chain

บ่อยครั้งในการเข้าให้คำปรึกษาสถานประกอบการทั้งเล็ก-ใหญ่ จะรู้ได้ยังไงว่าบริษัทนั้นๆ มีประสิทธิภาพ แน่นอนครับเครื่องหนึ่งก็คือ "ตัวชี้วัด" หรือที่หลายๆ คนอาจเรียกว่า KPI หรือ Metric เพื่อบอกประสิทธิภาพตัวเองเทียบกับอดีต หรือคู่แข่ง หรือเทียบกับความคาดหวังของลูกค้า

แต่ก็อีกนั้นแหละ บางบริษัทมีแต่วัดประสิทธิภาพซะมากมาย จนบางทีใช้เวลาซะมากมายเพื่อจัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลมากกว่าการใช้เวลาเพื่อการทำงานหรือพัฒนาปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

จริงๆ ตัวชี้วัดในองค์กร ไม่ได้จำเป็นต้องมีมากมายหรอก แต่ที่มีมันต้องครอบคลุมทุกกระบวนการทำงาน ครอบคลุมทั้ง supply chain และต้องไม่เอียงไปด้านหนึ่งเกินไป เพราะชีวิตการทำงาน การบริหารต้องมีสมดุล 555

blog ครั้งนี้ เลยนำเสนอตัวชี้วัดหลักทั้ง Supply chain เพื่อให้แต่ละบริษัทลองไปพิจารณานำไปใช้ดูนะครับ เผื่อจะได้ลด KPI ที่มีเป็น 100 ลงได้บ้างดูได้ตามภาพนี้เลยครับ

Core Supply Chain Metric

จากภาพ จะเห็นได้ว่าการมีตัววัด (Metric) ก็เพื่อ ช่วยวัดผลการดำเนินงาน เพื่อเอาผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์ให้เข้าใจปัญหา แล้วนำปัญหาไปพัฒนาแก้ไขปรับปรุง โดยตัววัดที่จำเป็นตลอด Supply chain ตามภาพคือ

1. ความแม่นยำในการพยากรณ์ความต้องการ ( Demand Accuracy) ตัววัดนี้ ต้องเข้าใจก่อนนำไปใช้ด้วยนะ ว่าเป้าหมายการพยากรณ์ที่สำคัญนำไปใช้เพื่ออะไร จะได้ออกแบบรูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสม ว่าวัดเป็นราย SKU ดีหรือเป็นกลุ่มดี รอบการวัดผล ควรเป็นอย่างไร และที่สำคัญต้องเข้าใจลักษณะของ Demand ว่าเป็นแบบใด ยิ่งถ้ารู้พฤติกรรมการกินของลูกค้าได้ ก็ยิ่งดี

2. อัตราความสามารถในการตอบสนองลูกค้า (Perfect order) คือ ความสามารถของบริษัทในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ โดยความสมบูรณ์ (Perfect) มี 4 มิติที่ต้องทำให้ได้ คือ ส่งได้ครบถ้วน ตรงเวลา คุณภาพดี เอกสาร-ข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์

3. ต้นทุนรวมเพื่อตอบสนองความต้องการ (Total cost to serve) คือ ต้นทุนรวมทุกกระบวนงานตลอด Supply chain ที่ต้องใช้เงินเพื่อทำให้การเคลื่อนไหวของงาน และสินค้า ซื่งครอบคลุมถึงต้นทุนของวัตถุดิบที่จัดหามาด้วย โดยทั่วไปจะมีประมาณ 80-95% ของยอดขาย แต่บางบริษัทก็เกิน 100% จนขาดทุนไปเลยก็มี

4. รอบระยะเวลาเงินสด (Cash to Cash Cycle time) คือ ความสามารถในการเปลี่ยนเงินเป็นเงิน  โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือ ระยะเวลารับเงิน ระยะเวลาจ่ายเงิน และระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลัง โดยค่าที่คำนวนได้ยิ่งน้อยยิ่งดี โดยธุรกิจที่ดีถ้าสามารถซื้อเชื่อ ขายสด ไม่มีสินค้าคงคลัง รับรองได้ความสามารถในการเปลี่ยนเงินเป็นเงินดีแน่ สภาพคล่องก็ดีแน่ๆ เลย

5. ระยะเวลาชำระหนี้ (Account payable day) คือ จำนวนวันโดยเฉลี่ยในการชำระเงินให้เจ้าหนี้ หรือกล่าวสั้นๆ คือ credit term ที่เราได้จาก supplier นั้นเอง ยิ่งนาน ยิ่งดี เพราะเราจะได้มีเวลาในการแปลงวัตถุดิบเป็นเงิน โดยที่ยังไม่ต้องจ่ายเงินค่าวัตถุดิบ

6. ระยะเวลารับชำระหนี้ (Account Receiveable day) คือ จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่เรารับเงินจากลูกค้า หลังที่เราได้ส่งมอบความต้องการให้ลูกค้าแล้ว ยิ่งได้เร็ว ก็ยิ่งดี รับเป็นเงินสดได้ ก็ดีใหญ่

7. ระยะเวลาในการถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory day) คือ จำนวนวันที่เราเก็บสินค้าคงคลังไว้ครอบครอง โดยสินค้าคงคลังที่กล่าวถึงนี้ ครอบคลุม ทั้งวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ยิ่งน้อย ยิ่งดี หลายบริษัทพยายามทำให้เกิด Zero inventory มีเครื่องมือหลายตัวนำมาใช้ เช่น JIT, Consignment, VMI, Cross docking แต่อย่าลืมสินค้าคงคลังมีไว้รองรับความไม่แน่นอน ยิ่งกระบวนการใดที่ขาดความแน่นอน ไม่ไว้วางใจ ทำให้เราต้องมีสินค้าคงคลังรองรับเพียบ

8. คุณภาพของวัตถุดิบ (Raw material Quality) คือ ความน่าเชื่อถือของวัตถุดิบที่จัดซื้อจัดหา จะต้องดีทั้งตอนตรวจรับ และการนำไปใช้งาน

9. การส่งมอบวัตถุดิบตรงเวลาและครบถ้วน ( Raw material in full and on time) คือ ประสิทธิภาพการทำงานของ supplier ที่นอกจากส่งของดีมาให้ใช้แล้ว ของดีเหล่านั้นต้องมาตรงเวลา และครบถ้วนตามเวลาที่กำหนดกันไว้

10. จำนวนวันถือครองวัตถุดิบ (Raw material inventory day) คือ ระยะเวลาที่เราเก็บสินค้าคงคลังประเภทวัตถุดิบไว้เพื่อรอใช้งาน ยิ่งเก็บไว้นานยิ่งไม่ดี ต้นทุนจม สภาพคล่องหาย วัตถุดิบก็มีโอกาสเสียหายได้ง่าย

11. ต้นทุนการจัดซื้อ (Purchasing Cost) คือ ต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ ที่จ่ายไปเพื่อให้ได้วัตถุดิบมา เช่น ค่าแรงพนักงาน ค่าขนส่ง ค่า shipping ค่าประกัน... นั้นบางครั้งการสั่งซื้อแต่ละครั้งต้องดูด้วยว่าควรซื้อจากแหล่งใดที่ทำให้ต้นทุนการสั่งซื้อเหมาะสม ไม่ใช่ดูแต่ราคาวัตถุดิบอย่างเดียว

12. ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material Cost) คือ มูลค่าของวัตถุดิบที่จัดซื้อ การมีแหล่งวัตถุดิบที่มีราคาต่ำ คุณภาพตามเกณฑ์ ย่อมนำซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นหน้าที่ที่เราต้องพัฒนาร่วมกับ supplier เพื่อให้เกิดต้นทุนที่น้อยลงจำไว้เสมอครับ "Waste ที่ Source คือ Cost ที่เรา"

13. ต้นทุนแต่ละด้านต่อยอดขาย (Cost Details) คือ การวัดต้นทุนการดำเนินงานในแต่ละด้านต่อยอดขาย เช่น ต้นทุนคลังสินค้า ต้นทุนสินค้าคลัง ต้นทุนการผลิต ต้นทุนขนส่ง ต้นทุนคุณภาพ ต้องทุนการบริการจัดการ เป็นต้น ยิ่งเราแจกแจงได้ละเอียด ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ ดังนั้นพื้นฐานื่สำคัญ คือบริษัทควรทำ  Activity Base Costing

14. อัตราการผลิตได้ตามแผน ( Scheduling Achievement) คือ ความสามารถด้านการผลิตที่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดย 2 ปัจจัยหลัก ที่ควรควบคุมคือ ประสิทธิภาพของเครื่องจักร ซื่งโดยปกติวัดผ่าน OEE และประสิทธิภาพการทำงานของคน เพื่อให้ได้เท่ากับหรือดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

15. อัตราการใช้กำลังการผลิต  (Plant utilization) คือ การวัดเพื่อพิจารณาว่าสินทรัพย์ที่เราลงทุนไปทั้งเครื่องจักร อาคารสถานที่ ระบบอัตโนมัติต่างๆ ได้ถูกใช้เต็มกำลังความสามารถแล้วใช่หรือไม่

16. จำนวนวันถือครอง WIP และ FG คือ ระยะเวลาที่จัดเก็บสินค้าระหว่างผลิต (WIP)  และสินค้าสำเร็จรูป (FG) ไว้ในครอบครอง ยิ่งมีมาก จะไม่ดี เพราะต้นทุนจม สภาพคล่องหาย ความสูญเปล่าด้านอื่นๆ จะตามมา

17.ระยะเวลาในการดำเนินงานตามคำสังซื้อ (Order Cycle Time) คือ ระยะเวลารวมที่ใช้ในการดำเนินงานเพื่อส่งมอบความต้องการไปยังลูกค้า หรือ Lead time ของการทำงานนั้นเอง โดยปกติจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักคือ  Lead time ในการผลิต, Lead Time ในการส่งมอบ และ Lead Time ในการจัดหาวัตถุดิบ แต่ถ้าหากใครสามารภแบ้งได้ย่อยกว่านี้ก็จะดียิ่งขึ้นครับ

18. อัตราความยืดหยุ่นหรือความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (Agility Rate) คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ลดลง เปลี่ยนรุ่น เลื่อนเข้า เลื่อนออก โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้และตอบสนองได้รวดเร็ว แต่มีความเสียหายเกิดขึ้นน้อย

และเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ผมมี VDO และบรรยากาศที่ได้ไปบรรยายเรื่องตัวชี่วัดสมรรถนะที่ต้องควบคุมตลอดโซุอุปทานกับกิจกรรม Logistics Showcase ครั้ง 8 เมื่อ 18 ก.ค 60 มาให้ชมกันครับ

ไปดูกันได้เลยและขอให้มีความสุขกับการชมนะครับ



และต้องขอบคุณสำนักโลจิสติกส์ที่ได้ให้โอกาสไปร่วมแชร์องค์ความรู้ในครั้งนี้ด้วยนะครับ
#เรียนรู้ที่จะให้ก็สุขใจที่จะรับ #SCOR

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Supply Chain Excellence House : The Model of Supply Chain Management

สำหรับภาษาไทย

Many people who are interested in supply chain management still have a question in mind whether to develop supply chain management systematically.

This blog will be introduce about the model of supply chain management which integrated the concept of Lean,TQM and SCOR model plus the consulting experience in Thailand.

This supply chain management model was presented via the picture of house to explain the connectivity of activities that need to focus and take action in supply chain. See the picture for detail.
Supply Chain Excellence House : Model of Supply Chain Management 







The picture above is the model of supply chain management that have the structure for develop to be excellence following 
  1. Groundwork This section are skills development of the personnel to perform each task in accordance with the operational process. The components of skill development are three areas of importance: aptitude, experience, and training.
  2. Floor This section is the "supply chain information technology" management which must right information to use in the right situation and place. Organization must establish the system to manage and monitoring information that linked whole supply chain to be meet the needs of customers and corporate strategy. The Supply Chain information technology such as 
    • Software Systems 
    • Electronic Data Interchange (EDI) 
    • Material Requirements Planning (MRP)
    • Enterprise Resource Planning (ERP)
    • Supply Chain Management Systems (SCM)
    • Customer Relationship Management (CRM)
    • Internet-based Software
    • Network Infrastructure
    • Wide Area Network,
    • Internet (for E-commerce: B2B, B2C) etc.
  3. Process-Pillar This section are the primary management processes to organized,controlled and developed to be more effective. The processes contains selling / marketing, Plan,Source, Make, Deliver and Enable.
  4. Tools/Practice Pillar This section This section start with a simple tool and developed in the following order.
    • Waste Elimination. This is the Lean concept to eliminate the wastes whole Supply Chain 
    • Standard practice, Standard practices are how a wide range of companies have historically done business by default or happenstance.These well-established practices do the job, but don’t provide a significant cost or competitive advantage over other practices. Risk: Low, Results: Low
    • Best practices, Best practices are 'current', 'structured' and 'repeatable' practices that have had a proven and positive impact on supply chain performance. Risk: Moderate, Results: Moderate. 
    • Innovation practices, Innovation practices are the new creation technology, knowledge or radically different ways of organizing processes. Risk: High, Results: High. 
  5. Driven  Management Pillar This section are the various on management to drive all activities in organization and linked whole supply chain to promote systematic and consistent development to be effective. 5 driven managements are 
    • Policy Management 
    • Daily Management
    • Collaboration Management 
    • Risk Management 
    • Bottom-Up Activity such as 5S, Kaizaen, QCC
  6. Concepts/Core Value Pillar This section are the This section are the concepts, behaviors, core value of team should be created and embedded in the organization to achieve excellent performance. Core Values and concepts are the foundation for linking work processes under the same supply chain.
  7. Beam This section are the performance indicators to measure the process activities whole supply chain.The measurement is divided into 3 main groups and 7 attributes
    • External Focus :  The performance indication for response and support  the customer are including 3 attributes ; Reliability, Rapidly, Agility  
    • Internal Focus :  The performance indication for response and support  the organization are including 3 attributes ; Revenue, Cost, Asset Management Efficiency 
    • Social Focus :  The performance indication for response and support social and excellent foundation for environmental accounting and sustainable in the supply chain  
  8. Roof This section is Final result of improvement and development. This leads the organization to excellence in supply chain management. 
How do you feel about this "The Supply chain Excellence House"  the model of Supply chain Management?  Hope it's useful for you and someone who read this blog. If your have any question or advice, don't hesitate to contact me.

Mongkol  Patcharadamrongkul
Instructor/Consultant
Expert in Productivity Improvement, Logistics and Supply Chain Management,
Thailand, Tel 081-8476479, E-mail : naitakeab@gmail.com 

13 February 2018

SCOR 12.0 : Version ใหม่ล่าสุด ของการจัดการโซ่อุปทานจาก APICS

เมื่อ 11 ตุลาคม 2560 ทาง APICS ได้ประกาศเปลี่ยนแปลง Ver. ของ SCOR เป็น SCOR 12.0 ซึ่งน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง Version  ของ SCOR เป็นครั้งแรกหลังจากการ Merge กัน ของ SCC และ APICS เมื่อปี 2014 โดยภายใต้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีหลายอย่างที่ได้พัฒนาปรับปรุง และน่าสนใจ อาทิ
  1. การเปลี่ยนรูปแบบการสร้าง Workflow เพื่อเชื่อมโยงการทำงานทั้ง Supply Chain โดยสามารถทำได้ผ่าน SCOR BPM Accelerator
  2. ปรับแแก้คำนิยามต่างๆในกระบวนการ Make, Deliver, Enable ให้เข้าใจ และเป็นนิยามที่ใช้กันทั่วไปมากขึ้น
  3. กำหนดให้ SCOR เป็นตัวแทนของการจัดการ Supply Chain และเป็น Element สำคัญใน Value Chain ของ APICS Framework
  4. Process-Hirarsky
    ที่มา : Supply Chain Operations Reference Model :SCOR Version 12.0, www.apics.org
  5. จัดทำ SCOR Process Hierarchy ให้เข้าใจได้ง่ายหน่อย ดังภาพ 
  6. ด้าน Performance มีการปรับเปลี่ยนตัววัด โดยการเปลี่ยน Total Cost To serve เป็น Total Supply Chain Cost (CO.1.1) และนำ Cost of Goods Sold (COGS) (CO.1.2) กลับมาอยู่ใน Performance Attribute Level-1 อีกครั้ง รวมทั้งปรับแก้ตัววัดหลัก Level-1 ด้าน Agility จาก 4 ตัวเหลือเพียง 3 ตัว
  7. scor-racetrack
    ที่มา : Supply Chain Operations Reference Model :SCOR Version 12.0, www.apics.org
  8. เพิ่ม SCOR Improvement Program and SCOR Racetrack เพื่อให้สะดวกในการนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง
  9. มีการเพิ่ม Emerging Practice ใหม่่เข้ามาหล่ายตัว คือ
    1. BP.176 Omni-channel
    2. BP.177 Additive Manufacturing
    3. BP.178 Block Chain
    4. BP.179 Demand Driven MRP
    5. BP.180 Demand Driven S&OP
    6. BP.181 Digital Supply Chain
    7. BP.182 Internet of Things
    8. BP.183 Integrated Business Planning
    9. BP.184 Scenario Planning
    10. BP.188 SCM Object Synchronization – “3/4-way Match”
  10. มีการยกระดับหลักปฏิบัติเป็น Best Practice คือ
    1. BP.173 Supply Chain Risk Monitoring
    2. BP.174 Supply Chain Risk Assessment
    3. BP.175 Metadata
    4. BP.185 Cost of Quality
    5. BP.186 Data / Analytics
    6. BP.187 Supply Chain Finance
    7. BP.180 Demand Driven S&OP
    8. BP.181 Digital Supply Chain
    9. BP.182 Internet of Things
    10. BP.183 Integrated Business Planning
    11. BP.184 Scenario Planning
    12. BP.188 SCM Object Synchronization – “3/4-way Match”
ลองไปศึกษาเพิ่มเติมกันนะครับ ผมว่ามีหลายอย่างน่าสนใจ และทันสมัยมากขึ้น ง่ายต่อการใช้มากขึ้นด้วย และต่อจากนี้ เมื่อคุยเรื่อง SCOR ต้องบอกว่า SCOR 12.0 ไม่งั้นเชยแน่นอน 555..มีความสุขในการการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีของโลกทุกคนนะครับ

สำหรับใครที่สนใจบทความเกี่ยวกับ SCOR Model นำองค์ประกอบของ SCOR ไปประยุกต์ใช้ ผมได้ที่เขียนไว้ สามารถเข้าดูเพิ่มเติมได้ที่นี้ครับ

  1. กลั่น SCOR Model : Model เพื่อการจัดการโซ่อุปทาน ให้เรียนรู้และเข้าใจ ใน 1 Page
  2. Supply Chain Excellence House (ตัวแบบสู่ความเป็นเลิศในการจัดการโซ่อุปทาน)

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 

วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Inventory Management efficiency Framework

สำหรับภาษาไทย

Most of executives and staffs who have the activities in the supply chain and logistics management have to involved in inventory management.

In management term, inventories are the asset that need to manage closely and effectively due to we spend more money to invest in the acquisition and hope to create value added for us. If we unfocused, the result are :

  • Inventories over demand -If we purchase/make to stock, the inventories costs will high and have risk to be outdated, expired, stolen, or lost,the money invested in inventories can not be exploited in other expense.
  • Inventories less than demand- If we kept too little inventories, risk to stock out or shortage. We will lose the opportunity to sell our products and got the money from customers. Moreover, our customer/our market may be replace by the competitors and finally we lost customer.
The necessary to kept inventory because we have to support the uncertainties case such as
  1. Market change
  2. Urgently required from customer
  3. Irregular / Error from Production
  4. Abnormal or wear of Machine
  5. Uncertainty of Supplier

The 5 uncertainties are difficult to control but we able to manage the inventories to be efficiency. How to do? These are the conceptual framework and the relation of  each activities about inventory management, see the picture for more details.

Inventory Management Efficiency Framework

From the picture above, the way to manage inventory effectively should do the following.
  1. Classification to use/not use.  The process of classification the existing inventories are still use or not use. This process like the step 1st S (S-Sort) of 5S concept.
  2. Re-Classification for use items. Once we know what inventories are still use.The next process is re-classify the group of inventories. Normally the inventory  classification techniques is "ABC Classification" but the actually we able classify by other segmentation such as VED (Vital-Essential-Desirable) or SED (Scarce-Difficult-Easy). See more details at "Because Inventory Classification is not only ABC"  
  3. Demand Forecast for each item After re-classify inventories, the next process is demand forecasting. The forecasting accuracy is the important criteria to be consider. Each organization, each time, it is not necessary to use the same forecasting technique. Select the right fit for the your organization.   
  4. Calculate Order Quantity / ROP/ SS. This process are the calculation of order quantity, Safety Stock (SS), ROP (Reorder point) . The technique is often use to calculate are EOQ, MRP, Fixed interval etc. And every time of your calculation, please consider the service level. The result will be efficiency.
  5. Define Parameters in ERP System  The current purchasing system usually works through ERP, so need to be check are update the parameters correctly. 
  6. Source/Purchase Execution  When everything is set, carry out the procurement according to the conditions that we set up. The next process is purchase execution. This process able to use people or e-procurement. depending on the business process of the organization. It should control the operation of the supplier to meet the conditions.
  7. Monitoring/Control/Continuous Improvement  In general, according to the principle of supply chain, key measurement requires that 5 aspects are Reliability, Fast response, Agility, Cost, and Asset management efficiency  See more details about key metric of supply chain performance at the Blog "Performance Pyramid : The key metric to manage and control whole Supply Chain"  The results of monitoring and control are the guidances for the continoues improvement. Many tools and practices able to used for the improvement. Finally, go back to review the inventory is always appropriate.
How do you feel about the conceptual and framework of this inventory management? Is able to make your process to be effective? Hope it's useful for you and someone who read this blog. If your have any question or advice, don't hesitate to contact me.


Mongkol  Patcharadamrongkul
Instructor/Consultant/Expert in Logistics and Supply Chain Management, Thailand 
Tel 081-8476479, E-mail : naitakeab@gmail.com 

10 February 2018

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Pyramid performance : Core Metrics for inventory management

ภาคภาษาไทย

In the past, I wrote the blog concern about Inventory management around 2-3 blogs such as

Inventory Management efficiency Framework
Inventory Classification by VED-SED
Inventory decoupling point and inventory level

Most of the stories are written from my experienced consulting and my lectures in various organizations. My blog stories would be useful for managers and the responsible person when the adapt to use in their work.

For this blog, I would like to present about inventory management again but will be focus to the metric performance of inventory Management. To validate our working. The performance are good ? What are the performance to  be measure? The results of the measure led to continuous improvement.

Often of my describe about the performance measurement. The pyramid performance picture would be use for my conceptual explanation such as "The Pyramid Performance" for Supply Chain Management" because its clear and visualize. On the top of the pyramid is the final goal. and the step down are performance metrics to be support the top goal.

Likewise, the performance of inventory management. I also used to the pyramid picture to explain.

Pyramid performance for inventory management measurement by Mongkol P., naitakeab@gmail.com


The picture above is the concept of inventory management measurement are defined from the concept of performance measurement in supply chain management .

The good performance should be measured through 5 aspects : Reliability, Fast response, Agility, Cost and Asset management Efficiency. And will have the following key performance indicators:
  1. Reliability, consist of 2 main indicators to measure.
    • Stock out 
    • Stock/Inventory Accuracy
  2. Responsiveness or Fast Response, consist of 2 main indicators to measure. 
    • Stock Aging 
    • Lead time to supply  (Sourcing, Purchasing, Preparing etc.)
  3. Agility, consist of 2 main indicators to measure.
    • Agility/Flexibility Rateอั 
    • Sell-Through Rate or Inventories to Sell Ratio 
  4. Cost, consist of 4 main indicators to measure.
    • Ordering Cost 
    • Material Cost
    • Holding Cost
    • Stock out Cost
  5. Asset Management Efficiency, consist of 4 main indicators to measure.
    • Cash to Cash Cycle Time) - Days
    • Account Payable - Days
    • Account Receivable - Days
    • Inventory Days, that can separate to measure by RM inventory days (Raw material), WIP inventory days (Works in Process) and FG inventory Days (Finish Good)

In Addition, there are also two indicators that are relevant and related to the five performance indicators on the top of pyramid are
  • Demand Forecast Accuracy)
  • Gross Margin) 

If anyone wants to know the calculation or the method to measure in each metrics,please do not hesitate to contact me or follow me in next blog. Any questions and suggestions are welcome. See you next time.

Mongkol  Patcharadamrongkul
Instructor/Consultant/ Expert in Logistics and Supply Chain Management, Thailand 
Tel 081-8476479, E-mail : naitakeab@gmail.com 

08 February 2018

พีระมิด (Pyramid) สมรรถนะการจัดการสินค้าคงคลัง

English Version

ที่ผ่านมาผมได้เขียน Blog เกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังมาแล้ว 2-3 ฺBlog ไม่ว่าจะเป็น
กรอบแนวคิดในการจัดการสินค้าคงคลัง
การจัดแบ่งสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็นต้อง ABC
การถือครองสินค้าเท่าไรดีที่เหมาะสม

ซึ่งแต่ละเรื่องส่วนใหญ่จะเขียนจากประสบการณ์ในการเข้าให้คำปรึกษา และการบรรยายตามหน่วยงานต่างๆ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานไม่มากก็น้อย และหวังว่าที่ผ่านมาจะมีคนที่ได้อ่านนำไปประยุกต์ใช้งานกันบ้างแล้ว

สำหรับครั้งนี้ ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังอีกครั้ง แต่ขอเน้นไปที่การวัดสมรรถนะของการจัดการสินค้าคงคลัง  เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งที่เรากำลังดำเนินการอยู่นั้น มีสมรรถนะที่ดีแล้วใช่หรือไม่ มีอะไรบ้างที่เราควรวัด เพื่อนำผลที่วัดได้นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นๆ อย่างต่อเนื่อง

เมื่อกล่าวถึงเรื่องของสมรรถนะ บ่อยครั้งผมมักจะใช้รูปภาพพีระมิด (Pyramid) เป็นตัวอธิบาย เช่น พีรมิดสมรรถนะเพื่อการจัดการและควบคุมตลอดโซ่อุปทาน ผมว่ามันทำให้เข้าใจได้ชัดเจนดีและเห็นภาพ โดยยอดของพีรมิดคือเป้าหมายขั้นสุดท้าย ไล่ลงไปเรื่อยๆ คือ สมรรถนะของการทำงานสนับสนุนเป้าหมายหลัก เช่นเดียวกัน สมรรถนะของการจัดการสินค้าคงคลัง ผมก็นำภาพพีระมิดมาใช้อธิบาย ดังภาพ

Inventory Management Performance Indicator
พีระมิดสมรรถนะการจัดการสินค้าคงคลัง : By Mongkol P, naitakeab@gmail.com

จากภาพผมนำแนวคิดการการวัดผลสมรรถนะในการจัดการโซ่อุปทานเป็นตัวตัั้งในการกำหนดแนวคิดสำหรับการวัดผล กล่าวคือ สมรรถนะที่ดีควรวัดผ่าน 5 ด้าน  คือ ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) ความคล่องตัว (Agility) ต้นทุน (Cost) และประสิทธิภาพของการจัดการสินทรัพย์ (Asset management Efficiency) แลดะแต่ละด้านจะมีตัววัดสมรรถนะหลักๆ ทีี่ควรมี ดังนี้

  1. สมรรถนะด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability) ด้านนี้จะประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดหลักที่ต้องวัดผล คือ 
    • สินค้าขาดแคลน (Stock out) 
    • ความแม่นยำของของสินค้าคงคลัง (Stock Accuracy)
  2. สมรรถนะด้านความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) ด้านนี้จะประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดหลักที่ต้องวัดผล คือ 
    • อายุของสินค้าคงคลัง (Stock Aging) 
    • ระยะเวลาในการจัดซื้อ-จัดหา-จัดเตรียมสินค้าสินค้าคงคลังนั้น (Lead time)
  3. สมรรถนะด้านความคล่องตัวในการดำเนินงาน (Agility) ด้านนี้จะประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดหลักที่ต้องวัดผล คือ
    • อัตราความยืนหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของ Supplier
    • อัตราการขาย (Sell-Through Rate) หรืออาจใช้อัตราสินค้าคงคลังต่อยอดขายก็ได้ 
  4. สมรรถนะด้านต้นทุน (Cost) ด้านนี้จะประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัดหลักที่ต้องวัดผล คือ
    • ต้นทุนการจัดซื้อ/จัดหา
    • ต้นทุนมูลค่าสินค้า
    • ต้นทุนการจัดเก็บ
    • ต้นทุนจากการขาดแคลน
  5. สมรรถนะด้านประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์(Asset management Efficiency) ด้านนี้จะประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัดที่ต้องวัดผล คือ
    • รอบระยะเวลาเงินสด (Cash to Cash Cycle Time) -วัน
    • ระยะเวลาในการชำระหนี้ (Account Payable) - วัน
    • ระยะเวลาในการรับชำระหนี้ (Account Receivable) - วัน
    • จำนวนวันในการถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Days) ซึ่งสามารถจำแนกเป็น RM (Raw material), WIP (Works in Process) และ FG (Finish Good)
นอกจากนี่ยังมีอัก 2 ตัวชี้วัด ซึ่งมีผลและสัมพันธ์กับตัววัดสมรรถนะทั้ง 5 ด้าน ซึ่งอยู่ส่วนบนของ พีระมิดสมรรถนะนี้ ก็คือ

    • ความแม่นยำในการพยากรณ์ (Demand Forecast Accuracy)
    • อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Margin) 

หากใครต้องการ หรืออยากได้วิธีการวัดผลในแต่ะตัว คงต้องติดต่อเป็นการส่วนตัวนะครับ (ถ้ารอไม่ไหว 555) แต่ถ้ารอไหวก็รอติดตามกันต่อใน Blog ถัดๆไปนะครับ เพราะมันมีเนื้อหาที่ต้องอธิบายประกอบพอสมควร หากมีคำแนะนำติชมใดๆ ก็ยินดีครับ แล้วพบกันใหม่ใน Blog ต่อไปครับ

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
07 กุมภาพันธ์ 2561




วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กรอบแนวคิด-กระบวนการจัดการ Inventory ให้มีประสิทธิภาพ

English Version

ผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานหลายคนที่ทำงานด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่จะมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง หรือ Inventory Management ซึ่งในทางการบริหารแล้ว เราถือว่า Inventory เป็น Asset (สินทรัพย์) อย่างหนึ่งที่เราจำเป็นต้องบริหารให้มีประสิทธิภาพ เพราะเราใช้เงินลงทุนจัดซื้อจัดหามาเพื่อแปลงสภาพหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเรา ดังนั้นหากสินค้าคงคลังที่ถือครองอยู่

  • มีมากก็เป็นปัญหา - ถ้าเราซื้อมาเก็บก็ทำให้มีต้นทุนการเก็บรักษาที่สูง สินค้าอาจเสื่อมสภาพ หมดอายุ ล้าสมัย ถูกขโมย หรือสูญหาย เงินที่จมลงทุนไปกับสินค้าคงคลังก็ไม่สามารถนำไปหาประโยชน์ในด้านอื่นไม่ได้
  • มีน้อยก็เป็นปัญหา - ถ้าเรามีสินค้าคงคลังที่น้อยเกินอาจประสบปัญหาสินค้าขาดแคลน (Stock Out) สูญเสียโอกาสในการขายสินค้าให้แก่ลูกค้า เป็นการเปิดช่องให้คู่แข่งขันเข้ามาทดแทน และอาจเสียลูกค้าไปในที่สุด

โดยแนวคิดการปฏิบัติงาน เหตุที่เราต้องมีสินค้าคงคลัง ก็เพราะเราต้องมีไว้เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านี้ คือ
  1. ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาด
  2. ความต้องการที่เร่งด่วนของลูกค้า
  3. ความผิดพลาดหรือความล่าช้าในการผลิต
  4. ความผิดปกติสึกหรอของเครื่องจักร
  5. ความไม่แน่นอนของผู้ขายหรือกระบวนการก่อนหน้า
แน่นอนครับความไม่แน่นอนทั้ง 5 เป็นสิ่งที่มีความยากในการควบคุม จนเป็นเหตุให้เราจำเป็นต้องมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง แต่ถ้าการมีสินค้าคงคลังแล้วขาดการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ก็เปรียบเสมือนการเดินบนเส้นทางธุรกิจที่มีความเสี่ยงจากสภาพที่ไม่สมดุลย์ (มากไป-น้อยไป) ดังนั้นหากเราจะบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพควรทำอย่างไรดี

ผมได้สร้างเป็นภาพความสัมพันธ์ของกิจกรรมการบริหารสินค้าคงคลังที่เราต้องเข้าใจ และได้ทำให้เป็นความเชื่อมโยงและดำเนินการอย่างเป็นระบบ (Systematic) เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบายดังภาพ

กระบวนการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ : By Mongkol P., naitakeab@gmail.com

จากภาพจะเห็นได้ว่าแนวทางในการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ ควรดำเนินการดังนี้

  1. แบ่งกลุ่มการใช้ คือ บอกให้ได้ว่าวัสดุ/สินค้าคงคลังที่มียังจำเป็นที่จะต้องใช้งานอยู่ใช่หรือไหม นึกถึงหลักการ 5ส นี้คือ ส.ตัวแรกเลย คือ ส.สะสาง
  2. สินค้าคงคลังที่จำเป็นต้องใช้ให้นำมาจัดกลุ่มใหม่ เมื่อเราทราบว่าสินค้าคงคลังใดจำเป็นต้องใช้ ในขั้นตอนถัดไปที่เราต้องทำ คือ จัดกลุ่มใหม่ให้เหมาะสม ซึ่งหลายๆ องค์กรนิยมแบ่งกลุ่มเป็น ABC แต่ในความเป็นจริงการแบ่งกลุ่มไม่ได้มีแค่นี้ ลองดูอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจาก Blog "เพราะ Inventory ไม่ได้แบ่งแค่ ABC ลองจัดให้เหมาะแบบ VED-SED ดูบ้าง" จะช่วยให้ได้คำตอบเพิ่มขึ้นนะครับ
  3. ดำเนินการคาดการณ์ความต้องการใช้ในอนาคต ใช่แล้วครับ สินค้าแต่ละรายการจะต้องได้รับการคาดการณ์ความต้องการใช้ หรือการทำ Forecasting นั่นเอง ซึ่งศาสตร์ของพยากรณ์ให้มีความแม่นยำสำหรับแต่ละองค์กร เป็นเรื่องที่สำคัญ และในแต่ละองค์กร แต่ละช่วงเวลาก็ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคการพยากรณ์ที่เหมือนกัน เลือกให้เหมาะสมกับองค์กรคือ ดีที่สุด ครับ
  4. กำหนดปริมาณการสั่งซื้อ/ROP/SS ที่เหมาะสม  ในขั้นตอนนี้คือการคำนวนหาปริมาณ  และช่วงเวลาในการสั่งซื้อหรือเติมเต็มให้เหมาะสม พร้อมทั้งหาจุดสั่งซื้อ (ROP: Reorder point) และ SS (Safety Stock) ที่เหมาะสม โดยเครื่องมือที่มักนำมาใช้บ่อยๆ เช่น EOQ, MRP, Fix order etc) และอย่าลืมนะครับทุกครั้งที่คำนวนอย่าลืมพิจารณาเทียบกับระดับ Service Level ด้วย จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  5. กำหนด Parameter ในการสั่งซื้อ  ระบบการสั่งซื้อในปัจจุบันมักนิยมทำงานผ่าน ERP แต่ต้องเข้าใจว่า ต่อให้ ERP ดี ฉลาดและเก่งแค่ไหน มันไม่ฉลาดแน่นอนถ้า Input parameter ไม่ถูกต้อง ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบและเปลี่ยน parameter ของระบบการสั่งซื้อให้ถูกต้องด้วยนะครับ
  6. ดำเนินการสั่งซื้อ  เมื่อทุกอย่างกำหนดเรียบร้อยแล้ว ก็ดำเนินการจัดซื้อให้เป็นตามเงื่อนไขที่เราได้กำหนดไว้ จะใช้คน หรือ e-procurement แล้วแต่ความพร้อมขององค์กร แต่ควรควบคุมการทำงานของ Supplier ให้เป็นไปตามเงื่อนไขนั้นๆ
  7. ตรวจสอบ/ประเมินผลการดำเนินงาน  สิ่งสำคัญที่ต้องทำและขาดไม่ได้ คือ การสร้างระบบการตรวจสอบและควบคุมประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อเป็นกระจกสะท้อนสิ่งที่ดำเนินการ โดยทั่วไปตามหลักการของ Supply Chain การวัดผลที่ดีต้องว่า 5 ด้าน คือ ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) ความคล่องตัว (Agility) ต้นทุน (Cost) และประสิทธิภาพของการจัดการสินทรัพย์ (Asset management Efficiency) โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Blog "พีระมิดสมรรถนะ : ตัวชี้วัดเพื่อควบคุมและจัดการประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพทั้ง Supply Chain"  ทั้งนี้ผลลัพธ์จากการตรวจสอบและควบคุม สามารถนำเครื่องมือหรือหลักการปฏิบัติต่างๆ (Tools and Practice) ที่มีมากมายมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นๆ และอย่าลืมวนกลับไปทบทวนการจัดแบ่งสินค้าคงคลังให้เหมาะสมอยู่เสมอๆ ด้วยนะครับ 
เป็นไงบ้างครับ แนวทางการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อ่านและผู้ที่พบเห็น Blog นี้ทุกท่านนะครับ แนะนำติดชม ใดๆ ก็ยินดีครับ

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
06 กุมภาพันธ์ 2561

วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ก่อร่างสร้างองค์กรสู่ Industry 4.0 - ตัวแบบการประเมินระดับความเป็น 4.0 - ตอนที่ 1

ช่วงที่ผ่านมา กระแส Industry 4.0 ได้เข้ามาสัมผัสกับชีวิตการทำงานแบบใกล้ชิด จากโจทย์ที่ต้องเข้าให้คำปรึกษา และบรรยากาศของการ Small group Meeting กับพรรคพวกในแวดวงที่ปรึกษาอุตสาหกรรมร่วมกัน

หลายคนรับรู้ว่าและคาดการณ์จะเห็น 4.0 ในประเทศไทย แต่โจทย์ที่สำคัญ คือ รัฐ สถานประกอบการ พนักงาน ที่ปรึกษา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในไทย มีใครรู้เส้นทางไปสู่ 4.0 ที่เหมาะสมกับองค์กรตนเองบ้าง เราควรเริ่มต้นจากอะไร? ฝันจะเป็น 4.0 แล้วเป็นจริงจะต้องทำอะไรบ้าง? สภาพปัจจุบัน เรายืนอยู่จุดใด? เรามีหลักเกณฑ์บอกเราได้ไหมว่าเราควรตรวจสอบอะไรบ้าง เพื่อเตรียมการทำงานสู่ 4.0 นั้นเป่็นคำตอบที่มากมายโผล่ของมาในสมองอันน้อยนิด ของที่ปรึกษาอย่างผม

ผมใช้เวลาขจัดสิ่งยุ่งเหยิงในสมอง แล้สตัดสินใจลงมือทำ เพราะหากไม่เริ่มคิดและลงมือทำก็ไม่มีทางสำเร็จ

ผมเริ่มต้นหาความกระจ่างให้ตัวเอง โดยลุยค้นหาข้อมูลจากประเทศต้นฉบับอย่างเยอรมันว่าองค์ประกอบของ 4.0 ที่แท้จริง ถ้าเราจะไป ต้องตรวจาอบสิ่งใดบ้าง รู้ได้ไงว่าเราพร้อมแค่ไหน ก็ได้คำตอบบางส่วนจาก The IMPULS Foundation of the German Engineering Federation (VDMA) โดยเขาได้ทำเป็น Industry 4.0 Readiness online Self-Check for Business ซึ่งน่าสนใจเลยทีเดียว โดย IMPULS บอกถึง 6 อย่างที่ธุรกิจต้องตรวจสอบและประเมินผลเพื่อไป Industry 4.0 ดังภาพ


ภาพประกอบ : ที่มา  https://www.industrie40-readiness.de


















จากภาพจะเห็นได้ว่า ในมุมมองของ IMPULS มองว่ามี 6 อย่างที่ต้องตรวจสอบความพร้อม ว่าเราอยู่ตรงไหนใน Industry 4.0 คือ
1. Strategy and Organization 
2. Smart Factory
3. Smart Operation
4. Smart Product
5. Data-Driven Services
6. Employees 

ซึ่งจริงๆ แล้วในแต่ละอย่างทั้ง  6 ประเด็นนี้จะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะ เดี๋ยวถ้ามีโอกาสดีๆ ผมจะมาขยายให้อ่านกันในเร็วๆ นี้ แต่ครั้งนี้อย่างที่บอกเน้นไปที่ "ก่อร่าง สร้าง Industry 4.0" ก่อน  นอกจากนี้ภายใต้ 6 อย่างนี้ เวลาประเมินจะแบ่งระดับความพร้อมใน Industry 4.0 ไว้ 6 ระดับเช่นกัน ไล่ตั้งแต่ระดับ Outsider จนกระทั่งถึง Top Performer ใครอยากลองประเมินก็ลองเข้าไปทดลองใช้ได้ที่ https://www.industrie40-readiness.de นะครับ


แค่นั้นยังไม่พอ พอเห็นแนวทางของเยอรมันแล้ว ก็เริ่มอยากรู้ว่า แล้วของประเทศอื่นๆ เหมือนกับเยอรมันไหม แล้วก็บิงโกครับ ดันไปเจอของประเทศหนึ่งในอาเซียนซึ่งประกาศเป็น "เกณฑ์ประเมินความพร้อมสู่การเป็น Smart Factory" ออกมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 และประเทศนั้นคือ Singapore เสียดายที่ไม่ใช่ Thailand ของเรา (เอ๊ะ! ดูเหมือนประเทศเราจะขับเคลื่อนช้าไปไหม นะเนี่ย 555)

เกณฑ์การประเมินความพร้อมว่าธุรกิจกิจมีความพร้อมเป็น Industry4.0 แค่ไหนของ  Singapore ก็น่าสนใจไปอีกแบบ  โดยใช้ชื่อว่า "The Singapore Smart Industry Readiness Index" ซึ่งในนั้นจะประกอบด้วย 3 Building Block - 8 Pillars - 16 Dimensions ดังภาพ





เอาละซิ! แล้วพี่ไทยเรามีไหม? พยายามค้นๆ ดู และสอบถามพรรคพวก ก็ได้คำตอบส่วนใหญ่ว่ายังไม่เห็นเลยนะ เหมือนกำลังอยู่ในจินตนการ 555 แต่ผมไม่ยอมแพ้ แล้วพบก็เจอมันซึี่งจัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อปลายปี 2559 ลองเข้าไปดูนะครับ เผื่อใครอยากทดลองใช้ แบบประเมินตนเองของอุตสาหกรรมไทยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ Industry 4.0

ส่วนผม เอาล่ะไหนๆ ก็ลงมือศึกษาแล้วนะ ทดลองทำเองสักหน่อยก็ดี ลองพึ่งตัวเองก่อน (จะประยุกต์จากหลายๆ แหล่งให้ทันสมัยใกล้เคียงกับสภาพปัจจุบันสูงสุด แต่ถ้าหน่วยงานใดมีอุปการคุณ อยากทำ CSR เพื่อประเทศ จะสนับสนุน Budget เป็นค่าแรงให้พวกผมทำงานให้ก็ได้นะครับ ยินดีๆ 555)

ตอนนี้ผมเลยเริ่มต้นจากตัวแบบของ Singapore ก่อน เพราะประเทศใกล้เรา และดูแล้วมาใหม่ล่าสุด ฮิฮิ แล้วก็หยิบมาอ่าน ในแบบฉบับของคนที่ "เดินที่ละก้าว กินข้าวที่ละคำ" เลือกทดลองทำ 2 Dimensions ที่ชีวิตการทำงานส่วนใหญ่เกี่ยวโยงกับเรื่องนี้ คือ Supply Chain และการทำงานของ Shop floor มาทดลองทำดู แล้วร่างเป็นแบบฟอร์มเป็นเกณฑ์ในการประเมินขึ้นมา ดังภาพทั้ง 2 ภาพ นะครับ

เกณฑ์การประเมินระดับความพร้อมขององค์กรใน Industry4.0 : ด้านการดำเนินการของ Shop Floor (ฉบับร่าง)

เกณฑ์การประเมินระดับความพร้อมขององค์กรใน Industry4.0 : ด้านการจัดการโซ่อุปทาน (ฉบับร่าง)




เป็นไงบ้าง ไม่รู้พอไหวไหม ซึ่งจริงๆ แล้วตัวแบบของ Singapore มีตั้ง 16 Dimensions นะครับ ถ้าชอบแล้วเห็นด้วยกับผม ก็มาช่วยๆ กันได้ครับ 555 แต่ถ้าไม่มีโอกาสได้ช่วยโดยตรง ก็รอติดตามไปเรื่อยๆ หรือติชมแนะนำเป็นกำลังใจกันนะครับ สัญญาจะพยายามทำ ปรับปรุง และประยุกต์เพื่อให้สถานประกอบการบ้านเรา โดยเฉพาะ SME จะได้มีตัวแบบนำไปประเมินความพร้อมกันได้สะดวกขึ้น จะได้วาง Roadmap กันได้ จะได้รู้ว่าถ้าจะไป 4.0 มีอะไรที่องค์กรควรทำ ควรเปลี่ยนบ้าง จะได้ไม่สะเปะสะปะ

แล้วพบกันใหม่เรื่อง Industry 4.0 ในตอนต่อไปนะครับ ตอนนี้แค่อยากบอกให้รู้ว่า "จะไป Industry 4.0 ต้องมีเกณฑ์ประเมินนะบอกสภาพตัวเองที่เป็น ไม่งั้นอาจหลงทางได้" หลังจากนี้เราจะมาสร้างเกณฑ์ด้วยกันในแบบฉบับที่ปรึกษาเก่าๆ แต่ยังไม่แก่ ให้สมบูรณ์มากกว่านี้ 555

มงคล  พัชรดำรงกุล
05 กุมภาพันธ์ 2561

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เพราะ Inventory ไม่ได้แบ่งแค่ ABC ลองจัดให้เหมาะแบบ VED-SED ดูบ้าง

ช่วงนี้หลายสถานประกอบการ หลายๆหน่วยงานกำลังขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการผลิต เกิดการใช้เครื่องจักร Robotics ระบบอัตโนมัติ ระบบ AI และสิ่งไม่มีชีวิตอีกหลายชนิด เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติงานแทนแรงงาน

แน่นอนครับ การเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อการทำงานสำหรับแรงงาน แม้มันจะไม่บ่น ไม่กินข้าว ไม่เรียกร้องโบนัส สวัสดิการ แต่ในทางกลับกันในทุกๆ เดือนสิ่งไม่มีชีวิตเหล่านี้จะกิน Resource อื่นๆ  เช่น พลังงาน สารหล่อลื่น และอะไหล่สำหรับซ่อมแซมเมื่อมันสึกหรอ ซึ่งแต่ละเมนูส่วนใหญ่จะแพง และนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ ปล่อยให้กินทิ้งกินขว้างไม่เป็นผลดี นอนจอดรอก็ไม่ดี และเงินจมแน่นอน สุดท้าย Asset Management Efficiency ก็ลดลง

คำถามมีอยู่ว่า "แล้วเราวางระบบการดูแลคลังเสบียงของสิ่งไม่มีชีิวิตเหล่านี้ดีแล้วหรือยัง?

Blog นี้ผมเลยขอเสนอเทคนิคในการบริหารคลังเสบียงของสิ่งไม่มีชีวิตเหล่านี้ มาดูกันว่าควรทำไง

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าศาสตร์ของการบริหารสินค้าค้งคงคลังที่ผู้คนส่วนใหญ่ร่ำเรียนกันมาจากสำนักตักศิลาต่างๆ มักจะบอกว่า การจัดกลุ่มของสินค้าคงคลังจะใช้หล้ก ABC Classification

"ABC คือ การจำแนกวัสดุคงคลังเป็นประเภท โดยพิจารณาปริมาณและมูลค่า ความต้องการวัสดุคงคลังแต่ละรายการเป็นเกณฑ์ เพื่อลดภาระในการดูแล ตรวจนับ และควบคุมวัสดุคงคลังที่มีอยู่มากมาย ซึ่งถ้าควบคุมทุกรายการอย่างเข้มงวดเท่าเทียมกัน จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น "

แต่สำหรับการจัดการคลังเสบียงของพวกอะไหล่หรือ Spare part ซึงในภาษาสากลเรียกว่า MRO-Maintenance Repair and Operation อาจไม่เหมาะสมสำหรับการแบ่งแบบ ABC แต่ควรแบ่งตามหลักของ VED Classification ซึ่งเป็นปัจจัยที่ 1 ที่ต้องพิจารณา

"VED Classification ป็นการแบ่งสินค้าคงคลังตามค่าความวิกฤตของวัสดุแต่ละประเภท โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความสำคัญมาก (Vital), กลุ่มที่มีความจำเป็น (Essential) และกลุ่มที่มีความสำคัญน้อย (Desirable)" ดังภาพ

เอาละซิทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่าพวกอะไหล่และอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ เป็นวัสดุเฉพาะ และมักใช้ทดแทนกันไม่ได้ ดังนั้นถ้าไม่มี จะส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการทำงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ อาจใช้ไม่ได้ และบางครั้งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพการผลิตและระบบสิ่งแวดล้อม และบางรายการกฎหมายกำหนดต้องมีขาดไม่ได้ เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยหรือระงับเหตุฉุกเฉินเป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้นวัสดุเหล่านี้ไม่ใช่จะหาซื้อกันง่ายๆ มีขายโดยทั่วไป สั่งซื้อแต่ละครั้งต้องใช้เวลา ยิ่งเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้มานาน หรือซื้อมือ 2 มาใช้ ยิ่งไม่รู้เลยจะซื้อจากที่ไหน เพราะผู้ที่เคยดูแลในอดีตก็หายตัวไปจากองค์กรแล้ว ดังนั้นปัจจัยที่ 2 ที่ต้องพิจารณาเพิ่ม คือ SED Classsifaction

"SED Classification ป็นการแบ่งสินค้าคงคลังตามช่วงในเวลาในการส่งมอบหรือ Lead time ของการสั่งซื้อ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มขาดแคลน (Scarce), กลุ่มซื้อยาก-นาน (Difficult) และกลุ่มซื้อง่าย (Easy)" ดังภาพ


และเมื่อ 2 ปัจจัยนี้มีผลต่อการดำเนินงาน งั้นเราก็ต้องนำ 2 ปัจจัยนี้มาพิจารณาองค์ประกอบร่วม และเกิดเป็นแนวทางในการจัดการสินค้าคงคลังประเภท VED-SED Classification 

"VED-SDE คือ การจัดแบ่งสินค้าคงคลังใน 2 มิติ โดยใช้ความสำคัญ/จำเป็นของวัสดุนั้นๆ กับ L/T ในการสั่งซื้อหรือจัดหาวัสดุ"  


โดยจากภาพจะเห็นได้ว่าเราสามารถแบ่งวัสดุออกได้เป็น 9 กลุ่ม ซึ่งในทางปฏิบัติเราอาจควบรวมบางกลุ่มเพื่อบริหารร่วมกันได้ โดยมีนัยสำคัญที่ต้องดำเนินการต่างๆ เช่น

1. กรณีสินค้าคงคลังมีความสำคัญมาก (V-Vital) และใช้ระยะเวลาในการจัดซื้อหรือจัดหานานเนื่องจากขาดแคลน (S-Scare) เราจำเป็นต้องวางกลยุทธ์การบริหารวัสดุคงคลังนี้เป็น "จัดเก็บเป็น Stock สำรอง" ส่วนปริมาณ Stock ที่ควรมีเท่าไร อันนี้ท่านต้องไปต่อยอดเพื่อคำนวนหาระดับ Stock Level ที่เหมาะสมต่อไป

2. กรณีสินค้าคงคลังมีความสำคัญน้อย (D-Desirable) และใช้ระยะเวลาในการจัดซื้อหรือจัดหาน้อย หาซื้อได้ง่าย (E-Easy) เราจำเป็นต้องวางกลยุทธ์การบริหารวัสดุคงคลังนี้เป็น "Non-Stock" หรือกล่าวง่ายๆ คือไม่ต้อง Stock เลยก็ได้ หรือถ้ามีก็มีแค่เล็กๆ น้อย

ส่วนแนวทางการอื่นๆ ก็ลองพิจารณาจากตาราง Matrix ที่ทำให้นะครับ 

เป็นไงบ้างครับแนวทางการบริหารคลังเสบียงของสิ่งไม่มีชีวิต ที่จะต้องจัดการอย่างเข้มข้น เคียงคู่ไปกับการเข้าไปสู่ Industry 4.0 ของประเทศเรา และอย่างที่บอกนะครับ ที่นำเสนอนี้เป็นแค่แนวคิดเบื้องต้นในการจัดเแบ่งวัสดุคงคลังให้เหมาะสมกับงาน แต่การกำหนดระดับวัสดุคงคลัง และการบริหารการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการต่อหลังจากนี้

มงคล  พัชรดำรงกุล
02 กุมภาพันธ์ 2561
   


Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...