วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

Supply Chain Excellence House (ตัวแบบสู่ความเป็นเลิศในการจัดการโซ่อุปทาน)

English Version

หลายคนที่สนใจเรื่องการจัดการโซุอุปทาน หรือ Supply chain Management คงมีคำถามอยู่ในใจว่าถ้าจะพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ มีตัวแบบยังไงบ้าง 

Blog ครั้งนี้ของผมเลยขอนำเสนออีก 1 ตัวแบบ ที่ที่ปรึกษาอย่างผมประยุกต์ขึ้นมาใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบการของไทย เพื่อใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งตัวแบบ (Model) ดังกล่าวนี้เกิดจากการบุรณาความรู้และประสบการณ์จากให้คำปรึกษาสถานประกอบการ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ด้าน Lean, TQM/TQA และ SCOR Model แล้วประกอบองค์ความรู้เหล่านั้นเป็นรูปบ้านเป็นตัวอธิบายความเชื่อมโยงต่างๆ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังภาพที่ 1

Supply Chain Excellence House, Mongkol P : naitakeab@gmail.com

จากภาพที่ 1 การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) มีโครงสร้างของกระบวนการพัฒนาปรับปรุงเพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ  ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ 

  1. ฐานราก คือ การพัฒนาทักษะความบุคลากรให้มีทักษะในการปฏิบัติงานแต่ละด้านให้สอดคล้องตามกระบวนการดำเนินงานด้านนั้นๆ โดยองค์ประกอบของการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานให้ความสำคัญ 3 ส่วน คือ  ความถนัด (Aptitude) ประสบการณ์ (Experience) และการฝึกอบรม (Training)
  2. พื้น คือ คือ ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของโช่อุปทาน (ซัพพลายเชน) โดยเป็นการจัดการข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อใช้ในสถานการณ์และสถานที่ที่ถูกต้อง เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่ทำให้ระบบเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และกลยุทธ์ขององค์กร
  3. เสาการจัดการกระบวนการ คือ กระบวนการดำเนินงานที่ต้องพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมโยงทั้ง Supply Chain ประกอบด้วย คือ กระบวนการขาย/ตลาด (Sale/Marketing) กระบวนวางแผน (Plan) กระบวนการจัดหา (Source) กระบวนการแปรรูปหรือผลิต (Make) กระบวนการส่งมอบ (Deliver) กระบวนการส่งกลับ (Return) และกระบวนพื้นฐานเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนโซ่อุปทาน (Enable)
  4. เสาเครื่องมือ/หลักปฏิบัติ โดยเริ่มต้นด้วยเครื่องมืออย่างง่าย และพัฒนาขึ้นตามลำดับ ดังนี้ คือ 
    • การกำจัดความสูญเปล่าในการปฏิบัติงาน (Waste Elimination) ที่เกิดขึ้นตลอดโซ่อุปทาน
    • การนำเทคนิค เครื่องมือและหลักการปฏิบัติมาตรฐาน (Standard Practice) มาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานภายในโซ่อุปทาน 
    • การนำเทคนิค เครื่องมือและหลักการปฏิบัติที่ดี (Best Practice มาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานภายในโซ่อุปทาน 
    • การนำเทคนิค เครื่องมือและหลักการปฏิบัติเชิงนวัตกรรม (Innovation Practicesมาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานภายในโซ่อุปทานหลักการปฏิบัติเชิงนวัตกรรม (Innovation Practices)
  5. เสาช่องทางการบริหาร (Promotion Vehicle) เป็นรูปแบบในการบริหารงานในลักษณะต่างๆ ทั้งการบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย (Policy Management) การบริหารงานประจำวัน (Daily Management) การบริหารความเชื่อมโยง (Collaboration Management) การบริหารความเสี่ยงในซัพพลายเชน (Risk Management) รวมทั้งการส่งเสริมกิจกรรมพื้นฐาน (Bottom-up Activity) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงอย่างเป็นระบบและสอดคล้องตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
  6. เสาแนวคิด/ค่านิยม (Value/Concept)  คือ ความเชื่อและพฤติกรรมที่ควรสร้างเพื่อให้ฝังลึกอยู่ในองค์กร และผู้ปฏิบัติงานภายใต้ซัพพลายเชนเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ค่านิยมและแนวคิดหลักจะเป็นรากฐานที่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการทำงานด้านต่างๆ ภายใต้ซัพพลายเชนเดียวกัน และผลการดำเนินการที่สำคัญ
  7. คาน คือ ตัวชี้วัดสมรรถนะในการปฏิบัติการด้านต่างๆ ภายในซัพพลายเชน โดยแบ่งการวัดผล เป็น 3 กลุ่มหลัก 7 ด้าน คือ
    • ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า (External Focus) ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ความน่าเชื่อถือ ความรวดเร็ว ความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน 
    • ด้านการตอบสนองต่อการจัดการภายในองค์กร (Internal Focus) ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ประสิทธิภาพการจัดการสินทรัพย์ ด้านต้นทุน และรายได้
    • ด้านการตอบสนองต่อสังคมเพื่อความยั่งยืน (Sustain Focus) โดยให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถาบัน เพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานให้กับสถาบัน
  8. หลังคา คือ ผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายที่เกิดจากการพัฒนาปรับปรุง ซึ่งนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในการจัดการโซ่อุปทาน 
ลองนำไปใช้ดูนะครับ รับรองชีวิตการทำงานร่มเย็น สดใส สไตล์ไทยๆ แน่นอน


มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...