วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565
Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง
วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2565
9P CANVAS ตัวช่วยสำคัญในการระบาย Stock และการตลาดเชิงรุก
การจัดการที่ผิดพลาด เกิด Stock บวม ทุกคนก็จะมุ่งเป้าไปที่ฝ่ายขาย ให้ช่วยระบายสินค้าให้หน่อย และแน่นอนการบอกแค่ความต้องการ แต่ไม่ได้ให้เครื่องมือช่วย โอกาสที่จะสำเร็จมันน้อย และดูจะฝากภาระไว้กับฝ่ายขายมากไป
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ILPi - 9 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรม
ILPi - Industrial Logistics Performance Index หรือตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรม คือ กระจกที่ส่องความมีประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์ขององค์กร ประกอบด้วยการวัดผลใน 9 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ และในแต่ละกิจกรรมจะมีการวัด 3 ด้าน คือ ความน่าเชื่อถือ ความรวดเร็ว และต้นทุน
การวัดผลเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการปรับปรุงงาน และช่วยฝึกฝนให้กิจการได้ให้ความสำคัญกับการบริหารยุคใหม่ ในยุคที่ Data Driven และการทำ Data Analytics สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลจะช่วยให้เห็นจุดอ่อนขององค์กรในทุกมิติ ทุกกิจกรรม
ผมเองได้รับเกียรติจากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ทำหน้าที่ในการนำเสนอทั้ง 9 บทเรียนของ 9 กิจกรรมโลจิสติกส์ เรื่องราวจะเป็นยังไง มีอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร จะเก็บข้อมูลได้อย่างไร แล้วจะยกระดับไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ได้อย่างไรในแต่ละกิจกรรม ไปชมกันได้ครับ
1. กิจกรรมที่ 1 : การพยากรณ์และการวางแผนความต้องการของลูกค้า
วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563
กระจก 3 บาน ส่องแล้วบอกได้ถึงผลงานการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของกิจการ
ทุกวัน คนเรา ส่องกระจก เพื่อดูว่าสภาพร่างกายของเราดูดี พร้อมก้าวสู่สังคมภายนอกหรือไม่
ทุก 6 เดือน หรือ 10,000 กม. ยานพาหนะคู่กาย จะเข้ารับการตรวจสภาพ ว่าทุกชิ้นส่วนอุปกรณ์ยังดีอยู่ไหม
และแน่นอน การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ก็ควรมีมาตรวัด เพื่อส่งกระจกบอกผลงานเช่นกัน สำหรับมุมมองของผม ก็อยากเห็นกิจการส่งกระจก 3 บาน อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อบ่งบอกผลงานที่ผ่านมา และก้าวย่างที่กำลังจะไปต่อ ว่าใช่สิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ แล้วกระจกทั้ง 3 บาน คืออะไรบ้าง
วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563
"ต้นทุน" ลดได้ทุกวัน ในทุกกิจกรรม
ระหว่างเตรียมงานบรรยายให้กับหน่วยงานแห่งหนึ่ง ไปเจอเนื้อหา File การสอนในอดีต สมัยเมื่อครั้งเริ่มต้นการเป็นวิทยากรที่ปรึกษา เลยหยิบมาปัดฝุ่นอีกนิดหน่อย น่าจะเข้ากับสถานการณ์ได้ดี และน่าจะเป็นมุมมองสำหรับการเริ่มใส่ใจเรื่องต้นทุนที่มากขึ้นๆ ของหลายๆกิจการนับจากนี้ ยิ่งสถานการณ์ Covid แบบนี้ ความจำเป็นที่ต้องจัดการเรื่องต้นทุนยิ่งทวีคูณ
"ต้นทุนแฝงอยู่ในทุกกิจกรรมที่ท่านทำ" นั่นคือประเด็นแรกที่ท่านต้องคิด
"ยิ่งมีกิจกรรรมเยอะ ยิ่งทำบ่อย ยิ่งทำช้า ยิ่งทำผิด" ยิ่งทำให้เกิดต้นทุน นี้คือสาเหตุเบื้องต้นที่เราต้องเข้าใจ
ความสามารถในการจัดการต้นทุน ว่ากันแล้ว เป็นหน้าที่ของทุกคน เป็นเรื่องที่ควรทำพร้อมกัน จนเป็นกิจวัตรนิสัย ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่ารอจนเกิดสภาพจำใจที่ต้องลดต้นทุนแบบจำยอม ซึ่งเมื่อนั้นอาจจะสายเกินไป
ภาพ 4 ภาพนี้ น่าจะช่วยหาคำตอบเบื้องต้นให้บ้าง หากมีเวลา แล้วผมจะมาเพิ่มเติมและอธิบายข้อมูลในแต่ละภาพให้ฟังนะครับ
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562
กระบวนการพัฒนาปรับปรุงงาน "จากจุดเริ่มที่แตกต่าง สู่ผลลัพธ์ที่เป็นสุข"
การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำธุรกิจของผมช่วงนี้ ได้รับการทาบทามให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดำเนินงานของกิจการต่างๆมากขึ้นๆ นับเป็นเรื่องดีที่หลายๆกิจการเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ ต้องบอกตามตรงเลยว่า 12 ปีในวงการที่ปรึกษาแบบ Fulltime ทำให้เข้าใจอะไรทุกอย่างมากขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี แม้เราจะทำแบบเรื่อยๆ เดินสู่เป้าหมายแบบเงียบๆ มาตลอด
กรอบแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงงาน |
"ทุกครั้งจะต้องสร้างดัวแบบการทำงานตามสภาพที่เป็นของลูกค้ารายนั้น มันต้องเป็นตัวแบบที่คนที่จะต้องทำงานร่วมกันเข้าใจและสื่อสารกันรู้เรื่อง"
- Visual / 5G คือ การใช้หลักการ 5จริง จากสภาพการทำงานที่เห็น
- Waste Finding คือ การสำรวจและค้นหาความสูญเปล่าในการดำเนินงานโดยใช้หลักการ 7+1 หรือ 5 Office wastes เป็นใบเบิกทาง
- Strategic คือ การวิเคราะห์และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องตามกลยุทธ์ของกิจการและสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
- VSM คือ การค้นหาโอกาสในการปรับปรุงโดยใช้แผนภาพสายธารแห่งคุณค่า เพื่อมองปัญหาทั้งกระบวนการตั้งแต่รับความต้องการ จนกระทั่งส่งมอบ
- OEE คือ การค้นหาความสูญเสียผ่านหลักการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
- V-PAD คือ การค้นหาโอกาสในการปรับปรุงตลอดโซ่อุปทาน โดยเน้นกระบวนการที่มีคุณค่า และการ Benchmark เปรียบเทียบ
ขั้นตอนนี้จะประกอบด้วยการฝึกอบรม และนำเสนอเทคนิค และวิธีการกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาจากสาเหตุที่ค้นพบ โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรม และเจ้าของพื้นที่มีส่วนร่วม และใช้เครื่องมือในการกำหนดมาตรการตอบโต้และแก้ไขปัญหาได้ โดยตัวอย่างของเครื่องมือที่จะนำใช้ เช่น 5S, ECRS, Standard Work, Control Chart ,SMED, Line Balance, Pull System/KANBAN, Poka-yoke, Automation, VMI/Consignment, S&OP, SDCA เป็นต้น
เมื่อปัญหาหรือโอกาสใดๆได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนบรรลุผลสำเร็จแล้ว ก็นำมากำหนดหรือจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน และดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
18 ตุลาคม 2562
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
มาสร้าง QR Code ด้วย Excel แบบ Off-line ไม่ต้องใช้ Net กัน
2. เปิด File ที่ Download ขึ้นมา ซึ่งมันจะทำงานผ่านโปรแกรม Microsoft Excel (แนะนำควรใช้ Excel Version 2013 เป็นต้นไปนะครับ) และบางเครื่องอาจติดระบบ Security ของ Excel แนะนำให้กดปุ่ม Enable Editing หรือเปิดใช้งาน อาจต้องกด 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละเครื่อง หรือตามภาพด้านล่างนะครับ
มงคล พัชรดำรงกุล
02 พฤษภาคม 2562
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562
ถาม คิด ตอบสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ เพื่อการเป็น Global Supply Chain กัน
- เราได้ผลิต Product ในสถานที่ที่ดีที่สุดสอดคล้องกับตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกหรือไม่? - เข้าใจทั้ง Value, Demand และความสามารถในการ Supply คือ หัวใจสำคัญ
- เราได้ใช้ประโยชน์จากการขนาดการผลิตที่ประหยัด (Economics of Scale) หรือจากความยืดหยุ่นในการผลิต (Flexibility) แล้วใช่หรือไม่? - Cost, Quick Response และ Flexibility คือ สิ่งที่ต้องใส่ใจนอกจาก Product ที่มีคุณยภาพและโดนใจลูกค้า
- เครือข่ายของเรายืดหยุ่นเพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดบ่อยๆหรือไม่? - ความต้องการลูกค้าเปลี่ยนอยู่เสมอ เครือข่ายไม่แข็งแรง ก็ตอบสนองได้ล่าช้ากว่าความคาดหวัง
- ได้ออกแบบเครือข่ายและกระบวนการทำงาน เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการแก่ลูกค้า และทำให้เราตอบสนองมากขึ้นหรือไม่? - การทำงานที่สั้นลง สินค้าคงคลังจะน้อยตาม
- เรามีกลยุทธ์ด้านสินค้าคงคลังทั่วโลกหรือไม่ และระดับมีสินค้าคงเหลือในแต่ละสถานที่ี่เหมาะสมที่สุดหรือยัง - พอดีและพอเพียง ในจุดที่หมาะสม คือหัวใจของการจัดการ Inventory
- กลยุทธ์ของเราใช้การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ (Data Analytics) โดยเฉพาะความถี่ในการเติมเต็ม (Fulfill) และรอบเวลาในตอบสนอง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อกำหนดระดับ Safety Stock หรือไม่ - Data driven กำลังถูกใช้ในทุกมิติของการทำงาน
- มีการประเมินกลยุทธ์การเติมเต็มอื่น ๆ ตามสถานการณ์หรือไม่ เช่น การจัดส่งสินค้าเร่งด่วน การลดความเสี่ยง และการเพิ่มระดับ Safety Stock หรือไม่ - การจัดการความผิดปกติได้ดี คือ โอกาส
- เราใช้ประโยชน์เพื่อการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์โดยรวม โดยการเลื่อนและการส่งมอบที่สมบูรณ์ ตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้หรือไม่? - คิดทุกอย่างแบบ optimization คือ หัวใจของงาน
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
การจัดการความต้องการที่ผันแปร ภายใต้สภาวะความต้องการที่ผันผวน
ใช่แล้วครับ สูตรสำเร็จของการทำงานไม่ได้ง่าย ไม่ได้อยู่แค่สต๊อกสินค้าให้มากเพื่อมีของขายลูกค้า เพราะสุดท้ายเงินจม สต๊อกบาน ต้นทุนสูง และก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างต้องพยากรณ์ให้แม่นยำ ต้อง Lean เพราะถ้าไม่แม่นจริงก็เสี่ยงที่จะของขาดของเกินอยู่ดี สุดท้ายหนีไม่พ้น ต้นทุนก็สูงอีก
ชีวิตการทำธุรกิจ ก็เหมือนการใช้ชีวิต ที่ต้องเดินสายกลาง เทคนิคและวิธีการต่างๆ ไม่ได้เป็นยาวิเศษที่สามารถรักษาได้ทุกโรค วันนี้เลยเอาแนวทางสายกลางมาแบ่งปันให้เห็นว่า สถานการณ์แบบใด ก็ใช้เทคนิคและวิธีการอย่างไร ดูภาพประกอบนะครับ
วิธีการที่ควรใช้ในการจัดการปริมาณความต้องการที่ผันแปร ภายใต้ความต้องการที่ผันผวน |
จากภาพ ผมแบ่งเป็น 2 มิติในการมอง คือ มิติที่ 1 คือ มองปริมาณความต้องการ มิติที่ 2 คือ มองความผันผวน แล้วนำ 2 มิติมาบูรณาการด้วยการประยุกต์ Matrix 2x2 จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 4 ประเภทดังนี้
1. ปริมาณความต้องการมีน้อย และผันผวนน้อย ถ้าเจอแบบนี้ละก็สามารถคาดการณ์ความต้องการได้ง่าย อีกทั้งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานน้อย ลองเก็บข้อมูลเป็นสถิติ แล้วนำมาใช้ประโยชน์บางซิ หรือทำ Forecast ไปด้วยเลย ความแม่นยำไม่น่าจะไกลเกินเอื้อม หลักการทำงานแบบ Lean ก็มีส่วนช่วยอย่างมากในการทำงานกลุ่มนี้
2. ปริมาณความต้องการมีน้อย แต่ผันผวนเยอะ ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ผมว่าต้องสร้างความเป็นเทพเรื่องการจัดการสินค้าคงคลังให้ดีแล้วล่ะ เพราะเราจำเป็นต้องมีการจัดเก็บเป็นระดับสินค้าคงคลังสำรองบ้างแล้ว แต่จะเท่าไรดี คงต้องมีทักษะเรื่องนี้พอสมควร เพราะเก็บเยอะก็คงไม่ดี ไม่มีสำรองไว้ก็คงไม่เหมาะ
3. ปริมาณความต้องการมีมาก แต่ผันผวนน้อย ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ใจชื้นขึ้นมากสักหน่อย เพราะไม่ผันผวนแล้ว ดังนั้นหยิบ Model การพยากรณ์ขึ้นมาใช้เลย (์Note : แต่ถ้าเป็นการผลิตตามสั่ง ถ้าคิดว่าทำได้เร็วกว่าเวลาที่ลูกค้าอยากได้ ก็ไม่ต้องสต๊อกไรเลยนะ เกิดต้นทุนเปล่าๆ แล้วอย่าลืมเสริมสร้างความแรงด้วยหลักการของ Lean ด้วยนะครับ) นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจปริมาณความต้องการที่ผิดปกติจากพื้นฐานทั่วๆไปด้วย เช่น ปริมาณความต้องการที่เกิดจากการจัดโปรโมชั่นเป็นต้น
4. ปริมาณความต้องการมีมาก และผันผวนมาก ถ้าเจอแบบนี้ละก็ ยากและเหนื่อยที่สุดเลย เพราะสถานการณ์แบบนี้คาดการณ์ก็ยาก ผลกระทบก็เยอะ แต่อย่าตกใจไป แนวทางการสร้างความเชื่อมโยงร่วมกัน คือ หัวใจในการจัดการสินค้าที่มีลักษณะแบบนี้ จัดไป "การทำ Collaboration Planning" รู้ใ้ชัดเจนร่วมกันไปเลยในทุกจุดทั้งโซ่อุปทาน (Supply Chain) ส่วนการบริหารองค์กรก็ต้องใส่ใจวิธีการทำงานแบบ Agile Management สักหน่อยนะครับ
เป็นไงบ้างครับ ลองไปใช้กันดู ท่านอาจจะมีวิธีการและวิธีคิดที่ดีกว่าผม ผมเชื่อว่าใครอยู่และเข้าใจกับสถานการณ์และปัญหา น่าจะสามารถ Design รูปแบบและมุมมองในการได้หลากหลายกว่านี้ก็เป็นไปได้ ขอให้โชคดีในการทำให้หน่วยงาน และองค์กรดีขึ้นๆ ทุกวันนะครับ แค่นี้คุณก็อยู่เพื่อสร้างคุณค่าที่ดีให้กับองค์กรอยู่เสมอแล้วครับ
20 พฤศจิกายน 2561
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เรื่องเล่า ผ่านมุมมอง ของที่ปรึกษา จากงาน THAILAND 2019
14 พ.ย 2561 กับงาน THAILAND 2019 ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม นับได้ว่าคุ้มค่า ที่ได้ฟังแนวคิดจากกูรู และนักธุรกิจระดับแนวหน้าของประเทศ เป็นการ Fine tune และตกผลึกทางความคิดในฐานะผู้ฟังจนต่อมความคิดต่อยอดพุ่งพล่านออกมาจากบางคำพูดที่ได้ฟัง เลยจัดแบ่งเป็นข้อๆ ตาม Style ผม มาดูกันๆ ว่าเป็นไงบ้าง
-
หวัดดีครับทุกท่าน ที่เข้ามาดูแนวทางการสร้าง QR Code โดยการใช้ Excel แบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ใน Blog นี้ จะเป็นการสรุปแนวทางและขั้นตอนใ...
-
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาได้มีโอกาสบรรยาย In-house ให้องค์กรแห่งหนึ่งเรื่อง " แนวคิดการพัฒนาและยกระดับผลิตภาพทางการผลิตและการบริหารจัดการอ...
-
ช่วงนี้หลายสถานประกอบการ หลายๆหน่วยงานกำลังขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการผลิต เกิดการใช้เครื่องจักร Robotics ระบบอัตโนมัติ ...
-
ชีวิตการทำงานส่วนใหญ่ของผมจะเกี่ยวข้องอยู่เกี่ยวกับการพัฒนาตลอดโซ่อุปทานซะส่วนใหญ่ และบ่อยครั้งได้บรรยายตัวแบบในการพัฒนาด้าน Supply Chain ที...
-
English Version หลายคนที่สนใจเรื่องการจัดการโซุอุปทาน หรือ Supply chain Management คงมีคำถามอยู่ในใจว่าถ้าจะพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานอย่างเ...
Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง
การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...