วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พีระมิด (Pyramid) สมรรถนะการจัดการสินค้าคงคลัง

English Version

ที่ผ่านมาผมได้เขียน Blog เกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังมาแล้ว 2-3 ฺBlog ไม่ว่าจะเป็น
กรอบแนวคิดในการจัดการสินค้าคงคลัง
การจัดแบ่งสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็นต้อง ABC
การถือครองสินค้าเท่าไรดีที่เหมาะสม

ซึ่งแต่ละเรื่องส่วนใหญ่จะเขียนจากประสบการณ์ในการเข้าให้คำปรึกษา และการบรรยายตามหน่วยงานต่างๆ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานไม่มากก็น้อย และหวังว่าที่ผ่านมาจะมีคนที่ได้อ่านนำไปประยุกต์ใช้งานกันบ้างแล้ว

สำหรับครั้งนี้ ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังอีกครั้ง แต่ขอเน้นไปที่การวัดสมรรถนะของการจัดการสินค้าคงคลัง  เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งที่เรากำลังดำเนินการอยู่นั้น มีสมรรถนะที่ดีแล้วใช่หรือไม่ มีอะไรบ้างที่เราควรวัด เพื่อนำผลที่วัดได้นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นๆ อย่างต่อเนื่อง

เมื่อกล่าวถึงเรื่องของสมรรถนะ บ่อยครั้งผมมักจะใช้รูปภาพพีระมิด (Pyramid) เป็นตัวอธิบาย เช่น พีรมิดสมรรถนะเพื่อการจัดการและควบคุมตลอดโซ่อุปทาน ผมว่ามันทำให้เข้าใจได้ชัดเจนดีและเห็นภาพ โดยยอดของพีรมิดคือเป้าหมายขั้นสุดท้าย ไล่ลงไปเรื่อยๆ คือ สมรรถนะของการทำงานสนับสนุนเป้าหมายหลัก เช่นเดียวกัน สมรรถนะของการจัดการสินค้าคงคลัง ผมก็นำภาพพีระมิดมาใช้อธิบาย ดังภาพ

Inventory Management Performance Indicator
พีระมิดสมรรถนะการจัดการสินค้าคงคลัง : By Mongkol P, naitakeab@gmail.com

จากภาพผมนำแนวคิดการการวัดผลสมรรถนะในการจัดการโซ่อุปทานเป็นตัวตัั้งในการกำหนดแนวคิดสำหรับการวัดผล กล่าวคือ สมรรถนะที่ดีควรวัดผ่าน 5 ด้าน  คือ ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) ความคล่องตัว (Agility) ต้นทุน (Cost) และประสิทธิภาพของการจัดการสินทรัพย์ (Asset management Efficiency) แลดะแต่ละด้านจะมีตัววัดสมรรถนะหลักๆ ทีี่ควรมี ดังนี้

  1. สมรรถนะด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability) ด้านนี้จะประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดหลักที่ต้องวัดผล คือ 
    • สินค้าขาดแคลน (Stock out) 
    • ความแม่นยำของของสินค้าคงคลัง (Stock Accuracy)
  2. สมรรถนะด้านความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) ด้านนี้จะประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดหลักที่ต้องวัดผล คือ 
    • อายุของสินค้าคงคลัง (Stock Aging) 
    • ระยะเวลาในการจัดซื้อ-จัดหา-จัดเตรียมสินค้าสินค้าคงคลังนั้น (Lead time)
  3. สมรรถนะด้านความคล่องตัวในการดำเนินงาน (Agility) ด้านนี้จะประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดหลักที่ต้องวัดผล คือ
    • อัตราความยืนหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของ Supplier
    • อัตราการขาย (Sell-Through Rate) หรืออาจใช้อัตราสินค้าคงคลังต่อยอดขายก็ได้ 
  4. สมรรถนะด้านต้นทุน (Cost) ด้านนี้จะประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัดหลักที่ต้องวัดผล คือ
    • ต้นทุนการจัดซื้อ/จัดหา
    • ต้นทุนมูลค่าสินค้า
    • ต้นทุนการจัดเก็บ
    • ต้นทุนจากการขาดแคลน
  5. สมรรถนะด้านประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์(Asset management Efficiency) ด้านนี้จะประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัดที่ต้องวัดผล คือ
    • รอบระยะเวลาเงินสด (Cash to Cash Cycle Time) -วัน
    • ระยะเวลาในการชำระหนี้ (Account Payable) - วัน
    • ระยะเวลาในการรับชำระหนี้ (Account Receivable) - วัน
    • จำนวนวันในการถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Days) ซึ่งสามารถจำแนกเป็น RM (Raw material), WIP (Works in Process) และ FG (Finish Good)
นอกจากนี่ยังมีอัก 2 ตัวชี้วัด ซึ่งมีผลและสัมพันธ์กับตัววัดสมรรถนะทั้ง 5 ด้าน ซึ่งอยู่ส่วนบนของ พีระมิดสมรรถนะนี้ ก็คือ

    • ความแม่นยำในการพยากรณ์ (Demand Forecast Accuracy)
    • อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Margin) 

หากใครต้องการ หรืออยากได้วิธีการวัดผลในแต่ะตัว คงต้องติดต่อเป็นการส่วนตัวนะครับ (ถ้ารอไม่ไหว 555) แต่ถ้ารอไหวก็รอติดตามกันต่อใน Blog ถัดๆไปนะครับ เพราะมันมีเนื้อหาที่ต้องอธิบายประกอบพอสมควร หากมีคำแนะนำติชมใดๆ ก็ยินดีครับ แล้วพบกันใหม่ใน Blog ต่อไปครับ

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
07 กุมภาพันธ์ 2561




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...