เช่นเดียวกัน ผมเริ่มต้นจากการจับตัวแบบ SCOR มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา Supply Chain ให้กับลูกค้า พยายามวัดสมรรถนะการจัดการ Supply Chain ของเขาผ่านเป้าหมาย 5 ด้าน (Reliability,Responsiveness,Agility Cost และ Asset Management Efficiency) และกระบวนการ 6 อย่างคือ Plan,Source,Make,Deliver Return และ Enable ต่อมาก็เพิ่มเป็นเป้าหมาย 6 ด้าน (โดยเพิ่มด้านรายได้เข้ามา) และเพิ่มเป็นกระบวนการ 7 อย่าง (โดยเพิ่มกระบวนการขาย/การตลาด) เข้ามา
จนเมื่อปลายปีก่อนผมมีโอกาสไปดูงานที่ยุโรป ต้นกำเนิดของเทคโนโลยีและบริษัทชั้นนำของโลกที่เป็น Global Supply Chain หลายบริษัท สิ่งที่สังเกตพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่บริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญเหมือนกัน คือ เรื่องของ Sustain (ความยั่งยืน) และ Environment Accountability หรือการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และเป็นเป้าหมายหลักของหลายๆ บริษัทในระดับ Cooperate มีการวัดผลและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น กลุ่มของ Maersk-wide ที่ตั้งเป้าหมายจะลด CO2 อย่างน้อย 30% ในปี 2020 โดยในปี 2016 สามารถลดได้แล้ว 25% ต่อ หรือแม้แต่บริษัทตัวต่อชื่อก้องโลกอย่าง Lego ก็พัฒนาทั้ง Product และ Packaging เพื่อลด CO2 Emission และใช้กระดาษที่มีมาตรฐาน FSC มีการกำหนดเป็นเป้าหมายของบริษัททุกระดับที่ชัดเจน
จนมาวันนี้ในมุมมองของผมเป้าหมาย 6 ด้านที่เคยกล่าวไว้อาจไม่พอแล้ว แต่มันจะเกิดเป้าหมายที่ 7 ของการจัดการ Supply chain ที่องค์กรต้องให้ความสำคัญแล้วล่ะ นั้นก็คือ "Sustain" และนับจากนี้การบริหารจัดการ Supply Chain ที่ดีจะต้องใส่ใจ "เป้าหมาย 7 ด้าน กระบวนการ 7 อย่าง" กันได้แล้ว เรามาดูกัน เลข 7 ตัวนี้มีอะไรกันบ้าง
เป้าหมาย 7 ด้าน ในการจัดการ Supply Chain
ใน 7 ด้านนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มที่มุ่งเน้นตอบสนองต่อลูกค้า ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ
- ความน่าเชื่อถือ (Reliability) คือ ความสามารถในการส่งมอบวัตถุดิบ/สินค้า/งาน /บริการ ได้ตรงเวลา ครบถ้วน ถูกต้อง คุณภาพดี
- ความรวดเร็วในการตอบสนอง (Responsiveness) คือ ระยะเวลาในการดำเนินงานที่รวดเร็วในแต่ละกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงาน
- ความคล่องตัว (Agility) คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนตามปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น/ลดลง โดยมีผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนก่อให้เกิดความเสียหายของการดำเนินงานน้อย
- กลุ่มที่มุ่งเน้นตอบสนองต่อองค์กร ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ
- รายได่้ (Revenue) คือ ความสามารถในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดรายได้ขึ้นภายใน Supply Chain โดยการนำความคาดหวังความพึงพอใจหรือความประทับใจของลูกค้าเปลี่ยนเป็นรายได้ขององค์กร
- ต้นทุน (Cost) คือ ความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งควรจะมีสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับกลับมา
- ประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์ (Asset Management Efficiency) คือความสามารถในการจัดการสินทรัพย์ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียน และสินทรัพย์ถาวรเพื่อก่อนให้เกิดรายได้สำหรับองค์กร รวมทั้งความสามารถในการเปลี่ยนเงินให้เป็นเงินได้อย่างรวดเร็ว
- กลุ่มที่มุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืน (Sustain) เป้าหมายด้านนี้คือเป้าหมายที่มุ่งเน้นการสร้างองค์กรสู่ความยั่งยืน นอกเหนือจากการตอบสนองต่อลูกค้าและองค์กร แต่จำเป็นต้องตอบสนองปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น พนักงาน ผู้รับเหมา (Supplier) สังคม โดยการลดการสร้างมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม การตอบแทนหรือสร้างประโยชน์สู่งสังคม-ชุมชน การปฏิบัติต่อแรงงาน-ผู้รับเหมาที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน เป็นต้น
กระบวนการ 7 อย่างนี้ คือ กระบวนการหลักที่ต้องมุ่งเน้นสร้างความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน เพราะการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการสร้างความเป็นเลิศด้านใดด้านหนึ่ง เช่น Make Excellence อย่างเดียว แต่กระบวนการอื่นๆ ไม่สามารถตอบสนองได้ ความแข็งแรงของ Supply Chain นั้นๆ ก็ไม่เกิดขึ้น และจะไม่นำไปสู่งความยั่งยืนอย่างแน่นอน โดยกระบวนการทั้ง 7 อย่างที่ต้องจัดการนี้ประกอบไปด้วย
- กระบวนการขาย/การตลาด (Sale/Marketing) เป็นกระบวนการเริ่มต้นที่ทำให้องค์กรมีหน้าที่ตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ โดยกระบวนการนี้ต้องค้นหาความต้องการทั้งโดยตรงและซ่อนอยู่ของลูกค้าให้เจอ
- กระบวนการวางแผน (Plan) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดความต้องการ และต้องวางแผนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ลูกค้าต้องการ โดยประกอบด้วยการวางแผนทั้ง Supply Chain แผนการจัดซื้อ แผนการผลิต แผนการส่งมอบ และแผนการส่งกลับ (รับ-ส่งคืน)
- กระบวนการจัดหา/จัดซื้อ (Source) คือ กระบวนการในการจัดหาและจัดเตรียมวัตถุดิบให้สอดคล้องตามความต้องการที่ได้วางแผนไว้
- กระบวนการแปรรูป/ผลิต (Make) คือ กระบวนการแปรสภาพของวัตถุดิบให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจำหน่าย (Final State) และสอดคล้องตามแผนความต้องการ
- กระบวนการส่งมอบ (Deliver) คือ กระบวนการจัดส่งสินค้าหรือบริการ โดยครอบคลุมถึงการจัดการคำสั่งซือ การจัดการการขนส่ง และการบริหารคลังสินค้าสำเร็จรูป และสินค้าคงคลังเพื่อให้สอดคล้องตามแผนความต้องการ
- กระบวนการส่งกลับ (Return) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการรับประสินค้าสินค้า และการให้บริการหลังการจัดส่ง รวมทั้งกระบวนการในการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า
- กระบวนการพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนโช่อุปทาน (Enable) คือ กระบวนการในการจัดเตรียม กฎข้อบังคับในการดำเนินงาน ทรัพยากร รวมทั้งข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและการปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนโช่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ
ฉบับนี้คงแค่นี้ก่อนนะครับ หากมีข้อสงสัย หรืออยากแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือติชมใดๆ ยินดีครับ #เรียนรู้ที่จะให้ก็สุขใจที่จะรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น