วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

Agility คล่่องแคล่ว คล่องตัว- หัวใจการทำงานดวงใหม่ในการจัดการโซ่อุปทาน

แนวโน้มของการจัดการโซ่อุปทานในปัจจุบันกำลังเข้าสู่การทำงานแบบคล่องแคล่วและยืดหยุ่น (Agility-Flexibility มากขึ้นๆ เนื่องจากความต้องการของลูกค้ามันความผันผวนและผันแปรตลอดเวลา แล้วเราจะรับมือกับหัวใจดวงใหม่ในการจัดการตลอดโซ่อุปทานได้อย่างไร

Agility หรือความคล่่องแคล่ว คล่องตัว ในแบบฉบับสากล คร่าวๆ คือ
  • 1 ในตัววัดประสิทธิผล 5 ด้าน ตามแนวทางของ SCOR Model เพื่อใช้วัดและบอกว่าองค์กรมีความสามารถมากน้อยแค่ไหนในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • 1 ใน  5 ประเด็นความท้าทายใน Supply Chain ที่สถานประกอบการต้องตอบสนองให้ได้
ส่วน Agility หรือความคล่องตัวในการนำไปประยุกต์ใช้งานตามแนวทางการจัดการโซ่อุปทาน ฉบับคนไทย แบบคนไทยอย่างผมนั้น ขออธิบายเพื่อความเข้าใจพอสังเขป กล่าวคือ ถ้าเราบอกว่าเราทำงาน Agility ได้นั้นหมายความว่าเราสามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทั้ง 3 มิติ นี้คือ
  1. มีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ทั้งปริมาณที่เพิ่มขึ้น-ลดลง ตามลูกค้าระบุได้
  2. มีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้น-ช้าลงได้ ตามที่ลูกค้าระบุได้
  3. ความสามารถในการตอบสนองตามข้อ 1,2 มีมูลค่าความเสียหายที่ยอมรับได้ และควรมีความเสียน้อยหรือไม่มีเลย
ดังนัั้นผมจึงได้สร้างตัววัดประสิทธิผลของการทำงานแบบ Agility ขึ้นมา ดังภาพ


Aglility-คำนวน.jpg
ภาพที่ 1 : วิธีการวัดผลหาความคล่องตัว (Agility) ในการทำงาน

จากภาพจะเห็นได้ว่า หากเราต้องการพิจารณาว่าเรามีความคล่องตัว/ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรือไหม สามารถวัดได้จาก 3 รูปแบบ ตามภาพ โดย
  • 2 รูปแบบแรก (อัตราความยืดหยุ่นจากจำนวนครั้งที่เปลี่ยนแปลง หรือปริมาณที่เปลี่ยนแปลงได้) เป็นการมุ่งเน้นตอบสนองต่อลูกค้าเป็นหลัก
  • ส่วนรูปแบบที่ 3 คือ การมุ่งเน้นตอบสนองต่อปัจจัยภายในองค์กรว่า การแปลงแปลงแปลงที่เกิดขึ้นและจำเป็นต้องตอบสนองนั้นมีระดับความรุุนแรงมากน้อย
ส่วนการปรับใช้ขึ้นอยู่ตามความเหมาะสมและความต้องการขององค์กร

ส่วนแนวทางที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานแบบ Agility ทั้ง Supply Chain มีหลักสำคัญ คือ
  1. ต้องทำให้เกิดความคล่องตัวทั้งด้าน Demand และ Supply
  2. ต้องทำให้ทุกสิ่งที่เชื่อมโยงกันได้รับการมองเห็นทั้งโซ่อุปทาน (Supply Chain Visibility)
  3. ต้องสร้างระบบการเชื่่อมโยงทำงานได้อย่างเป็นอัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง (Supply chain Automation)
  4. บนพื้นฐานของการทำงานทั้ง 3 อย่างนั้นจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน ดังนั้นการบริหารหรือวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทำ Data Analytics จะเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ และให้เกิดการไหลของข้อมูลที่รวดเร็ว
ทั้งนี้หลักสำคัญทั้ง 4 สามารถเขียนเป็นความเชื่อมโยงได้ดังภาพ
Agility-Model.jpg
ภาพที่ 2 : ตัวแบบสนับสนุนการทำงานให้คล่องตัว (Agility) ในโซ่อุปทาน


ลองเอาแนวคิดหรือตัวแบบที่ผมพัฒนาขึ้นไปใช้ดููนะ ดี/ไม่ดี อย่างไรก็แลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...