วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

กว่าจะมาเป็นการจัดการ Supply Chain ในวันนี้

        หลายคนคงเริ่มรู้จักและคุ้นเคยกับว่า Supply Chain แต่ใครจะรู้บ้างกว่ากว่าจะเป็น Supply Chain ในวันนี้มันก่อกำเนิดขึ้นได้อย่างไร Blog นีจะพาท่านย้อนอดีตไปทำความเข้าใจกัน 
วิวัฒนาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ก่อกำเนิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 1960 (พ.ศ 2503) โดยในช่วงนั้นการบริหารจัดการด้านต่างๆ ในแต่ละกิจกรรรมด้านโลจิสติกส์ยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ยังคงทำงานแบบแยกส่วน กระจัดกระจาย เป็นลักษณะขาดความเชื่อมโยงอย่างจริงจัง เป็นไปเพื่อทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ และสินค้าไปยังลูกค้า โดยมีกิจกรรมหลักๆ จำนวน 13 กิจกรรม คือ


  ที่มา : Dr. Jean-Paul Rodrigue,                   https://people.hofstra.edu/GEOTRANS/eng/ch5en/conc5en/evolutionlogistics.html

วิวัฒนาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ก่อกำเนิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 1960 (พ.ศ 2503) โดยในช่วงนั้นการบริหารจัดการด้านต่างๆ ในแต่ละกิจกรรรมด้านโลจิสติกส์ยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ยังคงทำงานแบบแยกส่วน กระจัดกระจาย เป็นลักษณะขาดความเชื่อมโยงอย่างจริงจัง เป็นไปเพื่อทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ และสินค้าไปยังลูกค้า โดยมีกิจกรรมหลักๆ จำนวน 13 กิจกรรม คือ
1. การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting) โดยเป็นกิจกรรมเกี่ยว กับการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าล่วงหน้า เพื่อช่วยในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ว่าจะผลิตสินค้าจำนวนเท่าไร จะต้องเตรียมทรัพยากร เงินทุน บุคลากรและอุปกรณ์มากน้อยเพียงใด
2. การจัดซื้อ (Purchasing) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบและบริการทั้งในส่วนของการเลือกผู้จำหน่ายวัตถุดิบ การกำหนดช่วงเวลาและปริมาณในการสั่งซื้อ และสร้างความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายวัตถุดิบ
3. การวางแผนความต้องการ (Requirement Planning) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความต้องการ เพื่อจัดเตรียมวัตถุดิบ ทรัพยากรต่างๆ ให้มีเพียงพอสำหรับความต้องการที่สอดคล้องกับแผนการผลิต
4. การวางแผนการผลิต (Production Planning) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดชนิดและปริมาณของทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้เพี่อการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากร กำลังผลิต แรงงานที่ใช้ และเวลาในการผลิตให้น้อยที่สุด แต่ก่อให้เกิดประสิทธิผลดีที่สุดตามเป้าหมายที่วางไว้
5. สินค้าคงคลังสำหรับการผลิต (Manufacturing Inventory) เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการ ควบคุมสินค้าคงคลังที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือ WIP (Work in Process
6.  คลังสินค้า (Warehousing) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคลังสินค้า อาทิ การจัดเก็บสินค้า การจัดการพื้นที่ในคลังสินค้า อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมภายในคลังสินค้า
7. การเคลื่อนย้ายวัสดุ  (Materials Handling) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ และสินค้าคงคลังในระหว่างการผลิต รวมถึงการขนย้ายตัวสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ภายในโรงงานหรือคลังสินค้า
8. บรรจุภัณฑ์ (Packaging)  เป็นการดำเนินการปกป้องตัวผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดความเสียหายในขณะที่มีการเคลื่อนย้าย หรือช่วยให้กระบวนการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาสินค้าให้มีความสะดวกมากขึ้น
9. สินค้าคงคลัง (Inventory) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการควบคุมและการวางแผนในการรักษาระดับสินค้าคงคลังในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังต่ำสุด
10. การวางแผนการกระจายสินค้า (Distribution Planning) เป็นกิจกรรมการดำเนินการเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งภายในองค์กรและผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพอใจให้กับลูกค้า
11. การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Processing) เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการส่งมอบสินค้าให้ทันเวลาที่กำหนด ภายหลังจากการได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า
12. การขนส่ง (Transportation) เป็นกิจกรรมที่เป็นการเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากจุดกำเนิดไปยังจุดที่มีการบริโภคให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยจะต้องจัดส่งสินค้าถูกต้องครบจำนวนในสภาพที่สมบูรณ์ และตรงเวลาที่กำหนด
13. การบริการลูกค้า (Customer Service) เป็นกิจกรรมที่องค์กรพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งก่อนและหลังการจำหน่ายสินค้า 
ในช่วงปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ 2523) ได้เกิดการควบรวมกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันเข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน ประกอบด้วย
1.  ด้านการจัดการวัสดุ (Material Management) จะประกอบรวมเข้ากันของกิจกรรมการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting)  การจัดซื้อ (Purchasing) การวางแผนความต้องการ (Requirement Planning) การวางแผนการผลิต (Production Planning) การจัดการสินค้าคงคลังสำหรับการผลิต (Manufacturing Inventory)
2.    ด้านคลังสินค้า (Warehousing)
3.    ด้านการเคลื่อนย้ายวัสดุ  (Materials Handling
4.    ด้านบรรจุภัณฑ์ (Packaging)  
5.    ด้านการกระจายสินค้า (Physical Distribution) จะประกอบรวมเข้ากันกับกิจกรรมการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory)  การวางแผนการกระจายสินค้า (Distribution Planning) การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Processing) การขนส่ง (Transportation) และการบริการลูกค้า (Customer Service)  
ในช่วงปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ 2533) ได้เกิดการบูรณาการระบบการทำงานร่วมกันทั้งส่วนงานด้านการจัดการวัสดุ (Material Management) และด้านการกระจายสินค้า (Physical Distribution)  และเรียกรูปแบบการบูรณาการทำงานใหม่นี้ว่า การจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management)  พร้อมทั้งเริ่มมีการใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology) หลักการตลาด (Marketing) และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) ในการดำเนินงาน
ในช่วงปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ 2543) ได้ให้ความสำคัญสำหรับคุณค่าที่เกิดจากการดำเนินงานตลอดกระบวนการตั้งแต่ผู้ส่งมอบจนกระทั่งลูกค้า และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการซัพพลายเชน(Supply Chain Management) โดยเกิดการบูรณการร่วมกันของการจัดการโลจิสติกส์ ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology) หลักการตลาด (Marketing) ที่ให้ความสำคัญกับลูกค้า และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกันตลอดซัพพลายเชน
จนกระทั่งในปัจจุบันการจัดการการซัพพลายเชน  (Supply  Chain  Management)  ได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาตัวแบบการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Model) การพัฒนาระบบ ERP การคิดค้นเครื่องมือหรือหลักการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการซัพพลายเชน รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรในการทำงานด้านการจัดการซัพพลายเชน ตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย จนกระทั่งการฝึกอบรมเฉพาะด้านในสถานที่ปฏิบัติงานนั้นๆ รวมทั้งการบูรณาการการจัดการซัพพลายเชนเข้ากับปรัชญาการบริหารด้านอื่นๆ เช่น Lean, 6-Sigma เป็นต้น

เป็นไงบ้างครับ เรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อทำหน้าที่ในวันนี้ให้ดีที่สุด เวลาทำอะไรถ้ารู้ที่มาก็จะเข้าใจและเดินต่อได้ดีขึ้นครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...