วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

สร้างคุณค่า-พัฒนาสู่ห่วงโซ่คุณค่าของโลก (Value Creation to Global Value Chain)

เมื่อ 22 ธันวาคม 2560 ผมได้รับเชิญจากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ไปบรรยายเรื่อง “Global Supply Chain Management” หลังการบรรยายเสร็จว่าคิดว่าเดี๋ยวจะกลับมาเขียน Blog เรื่องนี้สักหน่อย เพราะเห็นว่าสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจองค์ความรู้ด้านการจัดการ Supply Chain, Value Chain รวมทั้งผู้ที่ต้องทำหน้าที่ในการกำหนด Strategy ทั้งในระดับ Micro และ Macro  แต่จนแล้วจนรอด ผ่านไปเกือบเดือน เพิ่งมีเวลาได้ลงมือเขียน เพราะต้องใช้ชีวิตส่วนหนึ่งทำมาหาเลี้ยงชีพให้ได้ก่อน 555 เอาล่ะเรามาดูกันว่าทำไมเรื่องนี้สำคัญ และจำเป็นต้องรู้
ก่อนอื่นมันมีคำอยู่ 4 คำเกี่ยวกับ Chain ในโลกของการบริหารจัดการที่ เราจะต้องสร้างความเข้าใจในเชิงบริบทและความสัมพันธ์ก่อนให้ได้ คำ 4 ที่ว่านั้น ก็คือ
  1. Demand Chain หัวใจคือ บริหารสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้เกิดขึ้น
  2. Supply Chain หัวใจคือ บริหารทรัพยากเพื่อตอบความความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. Value Chain หัวใจคือ การค้นหา พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการเพื่อตอบสนองคุณค่าที่ลูกค้อยากได้
  4. Global Value Chain หัวใจ คือ แหล่งใดในโลกนี้ที่ควรทำหน้าที่สร้างแต่ละคุณค่าที่ลูกค้าอยากได้
เรื่องของ Value Chain และ Supply Chain เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันมาก โดยหากกล่าวถึง Value Chain หลายคนก็จะนึกถึงภาพของ Porter’s Value Chain หรือถ้ากล่าวถึง Supply Chin ก็จะนึกถึง SCOR Model แต่สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้ยึดของค่ายใดเป็นตัวตั้ง แต่นำมาบูรณาการใช้ทั้ง 2 ภาพ แล้วสร้างเป็นแผนภาพความสัมพันธ์ให้เชื่อมโยงกัน และเกิดการครอบคลุม Chain ทั้ง 3 คำแรก ดังภาพ
VC-SC.jpg
ส่วนเรื่องของ Global Value Chain นั้นเป็นเรื่องของการพิจารณาเรื่องพื้นที่หรือ location ใดในโลกนี้ที่สามารถสร้าง Value ให้กับ Product หรือ Service ที่เหมาะสมที่สุด โดยหลักการของการสร้าง Value ภายใต้ 1 ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นได้มีผู้เชี่ยวชาญได้จำลองภาพการสร้างคุณค่า (Value Creation) เป็นภาพรอยยิ้ม (Smile Curve) ซึ่งแต่ละจุดภายใต้ Smile Curve มีคุณค่าที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน
จากภาพ Smile Curve จะเห็นได้ว่ากระบวนการที่สร้าง Value (Value Creation/Value Add) ที่สูงสุดส่วนใหญ่จะเป็นงานเกี่ยวการออกแบบและพัฒนา รวมทั้งการตลาดและขาย ดังนั้นอาจกล่าวได้ “ใครที่เป็นผู้ออกแบบและทำหน้าที่ขายสินค้าได้เอง” จะได้ประโยชน์จากมูลค่าของ Product สูงสุด คำถามคือกิจการของเรา ประเทศของเรา ได้ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดีแล้วใช่หรือไหม ???
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การผลิต iPhone ได้มีเมื่อการศึกษาและเผยแพร่โดย DUPress.com ให้เห็นถึงมูลค่าที่เกิดขึ้นจากสินค้า Smartphone ประเทศที่ทำหน้าที่ประกอบคือ จีน (ได้ค่าประกอบ 24.63$) ซึ่งสร้าง Value จากวัตถุดิบที่รับมาจากเกาหลี เยอรมันนี   ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และอื่นๆ 6.54$ และสินค้าออกจากโรงงานในมูลค่า 194.04$ ในขณะที่ร้านค้าปลีกจำหน่ายในราคา 600$ โดยมีมูลค่าเพิ่มจาก Distribution 90.63$ และอื่นๆอีก 45.95$ (ซึ่งอาจคาดได้ว่าคือมูลค่าที่เจ้าของ Product ได้รับต่อเครื่อง)
Value Creation
จากภาพนี้ถ้าเรามองเป็น Global Value Chain จะค้นพบได้ว่าประเทศไทยเอง หรือผู้ประกอบการในไทยเองไม่ได้เป็น Key หลักในการสร้าง Value ให้กับ Product ชิ้นนี้ ทั้งๆ ที่ในการดำเนินงานจริงมีบริษัทในไทยประมาณ 20 บริษัท ที่ทำหน้าที่ Supply วัตถุดิบ(RM) ให้กับ Product ตัวนี้
เหตุที่เป็นเช่นนั้น เนื่องด้วยยุทธศาสตร์ของโลก (ขออนุญาตใช้คำนี้ เนื่องจากผมมองว่าใกล้เคียงกับสิ่งที่ผมคิดมากสุด) มองว่าประเทศที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของโลกปัจจุบันมี 3  ประเทศ  (อเมริกา จีน เยอรมัน) โดยมีการเปลี่ยนแแปลงไปจากอดีตดังภาพ และน่าเสียดายที่การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง ประเทศไทยไม่เคยได้เป็นจุด Core หลัก ในยุทธศาสตร์นั้นๆ โดยเราเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงกับจุดยุทธศาสตร์หลักของโลก โดยในปี 2015 เราเชื่อมโยงกับประเทศจีนเป็นหลัก ดังภาพ
GVC Structure
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แนวคิดเรื่องการบริหารคุณค่า (Value Creation) เป็นเรื่องสำคัญและเป็นความจำเป็นสำหรับการบริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน เนื่องจากความเชื่อมโยงกันของกิจกรรมต่างๆ ทั่วโลกผ่านระบบเทคโนโลยีที่พัฒนาและเติบโตขึ้น ทำให้การเคลื่อนย้ายทุน วัตถุดิบและสินค้า สามารถดำเนินการได้โดยง่าย จะพบว่าสินค้าส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในตลาดทั่วโลกมาจากวัตถุดิบจากหลายแหล่ง หลายประเทศ แล้วทำการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศนั้น หรือกระจายสินค้าไปทั่วโลก หากจะทำให้เราเติบโตภายใต้ Global Value Chain ได้ เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเรา โดยผลการศึกษาได้ระบุุปัจจัยที่กำหนด Global Value Chain ควรเป็นสิ่งใดบ้าง พิจารณาได้จากภาพ
GVC
จากภาพจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคุณค่าเพิ่มในพื้นที่ หรือประเทศใดๆ นั้น มีปัจจัยในการพิจารณาทั้งหมด  7 ปัจจัย คือ
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ ความพร้อมของระบบเทคโนโลยีและการสื่อสารในพื้นที่นั้นๆ ว่ามีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร
  2. การศึกษา การทดสอบและการฝึกอบรม คือ ระดับความรู้ความสามารถของบุคลากรในพื้นที่ ความพร้อมของหน่วยทดสอบผลิตภัณฑ์หรือการปฏิบัติการต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับธุรกิจ ระบบในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ฝีมือแรงงาน
  3. NGO และระบบมาตรฐานต่างๆ คือ บทบาทขององค์กรภาคเอกชนที่ทำหน้าที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองมีส่งเสริมหรือไม่อย่างไร รวมทั้งการให้ความสำคัญต่อมาตรฐานต่างๆ ที่จำเป็น เช่น มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานคุณคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัย ฯลฯ
  4. การค้าและสมาคมวิชาชีพ คือ บทบาทสมาคมการค้า หรือสมาคมวิชาชีพต่างๆ ช่วยสนับสนุนส่งเสริมมากน้อย
  5. โครงสร้างพื้นฐานและการเงิน คือ สภาพโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงของระบบการเงิน ค่าจ้าง ภาษี ฯลฯ ของพื้นที่นั้นๆ
  6. สภาพแวดล้อมที่จำเป็น คือ สภาพแวดล้อมของระบบการดำเนินงานต่างๆ ในพื้นที่นั้นมีส่วนส่งเสริมต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร
  7. การอำนวยความสะดวกของรัฐ คือ การอำนวยความสะดวก การส่งเสริมของรัฐ กฎระเบียบ เงื่อนไขการปฏิบัติต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ
ส่วน Supply Chain เน้นการบริหารวัตถุดิบหรือทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ Demand Chain เน้นการดำเนินที่ตอบสนองความต้องการลูกค้า โดยทั้งหมดจากอยู่ภายใต้ภารกิจเดียวกันคือสร้างคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ (Value Chain)
จากทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการในมิติต่างๆ จะมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันหมด ขยายจากวงเล็กๆ จาก Supply Chain, Demand Chain สู่ Value Chain และจาก Value Chain ก็สู่ Global Value Chain
สุดท้ายหากเราไม่เป็นส่วนหนึ่งใน Value Creation ที่เจ้าของ Product กำหนดไว้ เมื่อนั้นประเทศไทยก็จะไม่เป็นที่ต้องการในเกมธุรกิจของโลก หรืออีกทางเลือกที่เราควรทำ คือ ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นผู้ออกแบบและพัฒนา Product เป็นเจ้าของ Product เอง จำหน่ายเอง มุ่งใช้ Resource (Man, Machine, Material) ที่ผลิตและสร้างได้ในประเทศของเรา เมื่อนั้นเราก็จะไปได้ต่อไป
ส่วนสภาพความเป็นจริงเป็นไง ลองสำรวจตัวเอง และสิ่งรอบๆ ตัวเองนะครับว่าเป็นไง แล้วท่านจะเข้าใจ #การจัดการโซ่อุปทาน #ห่วงโซ่คุณค่าของโลก #Global Value Chain 
มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479
19 มกราคม 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...