วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

ความเป็นเลิศของการจัดการซัพพลายเชน

หลังจากได้รู้จักวิวัฒนาการของการจัดการโซ่อุปทานไปแล้ว มาครั้งนี้ใน Blog ขอนำเสนอความเป็นเลิศในการจัดการโซุอุปทานในประเภทต่างๆ เพื่อให้ได้ศึกษา และเรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ต่อให้เหมาะสมนะครับ

จากการจัดลำดับ Top10 ด้านการบริหารจัดการซัพพลายเชนโดย Supply Chain Digital และได้ตีพิมพ์ลงใน Website http://www.supplychaindigital.com/top10 พบว่าสุดยอดการจัดการซัพพลายเชนระดับโลกในแต่ละประเภทที่น่าสนใจ และเป็นอันดับต้นๆ คือ

ภาพที่ 1 : Top10 ในการจัดการโซ่อุปทานประเภทต่างๆ (ที่มา : http://www.supplychaindigital.com/top10)

1. SCC หรือ Supply Chain Council  เป็นผู้นำด้านองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการซัพพลายเชน
2. Apple ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เป็นผู้นำในการจัดการซัพพลายเชนระดับโลก (Global Supply Chain Leader)  โดยได้คะแนนรวมจากการประเมินด้านต่างๆ สูงสุด จากการสำรวจของ Gartner ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการซัพพลายเชนของโลก
3. Shaklee ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านโภชนาการ อาหารเสริมจากธรรมชาติ เป็นผู้นำในการจัดการซัพพลายเชนสีเขียว (Green Supply Chain)
4.  SAP ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ครบวงจรจากประเทศเยอรมัน เป็นผู้นำด้านซอฟท์แวร์ในการจัดการซัพพลายเชน (Software Company)
5.  FedEx เป็นบริษัทชั้นนำในการขนส่งทางอากาศ (Airfreight Company)  
6.  Maersk บริษัทชั้นนำในการขนส่งทางเรือ (Shipping Company)  

7. B2B Integration with a single platform หรือการใช้ระบบปฏิบัติเดียวกันระหว่างธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่มุ่งลดความสูญเปล่าในกระบวนการซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการซัพพลายเชน จะพบว่าลำดับที่ 1 ในตารางคือ SCC หรือ Supply Chain Council ซึ่งองค์กรนี้ได้สร้างตัวแบบในการจัดการซัพพลายเชน ขึ้นมาและเป็นที่รู้จัก มีการนำไปใช้งานกันทั่วโลกในระดับสากลเรียกว่า SCOR Model (Supply Chain Operation Reference Model) นอกจากนี้เมื่อ ปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ.2557) ทาง Supply Chain Council : SCC และ American Production and Inventory Control Society : APICS ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพของสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการซัพพลายเชน ลำดับที่ 6 ในตาราง ได้ควบรวมการดำเนินงานเข้าด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่ให้การศึกษา วิจัยพัฒนา และการให้ประกาศบัตรรับรองด้านการจัดการซัพพลายเชนต่างๆ
SCOR Model นอกจากจะเป็นตัวแบบที่สำคัญในการจัดการซัพพลายเชน ในปัจจุบันแล้ว ยังได้มีการบูรณาการไปใช้ร่วมกับปรัชญาทางการบริหารที่เป็นเลิศอื่นๆ ด้วย เช่น Convergence Integrates SCOR Lean Six Sigma ซึ่งได้นำ 3 เครื่องมือหลักมาเป็นตัวแบบของการจัดการพัฒนาองค์กรในอนาคตอีกด้วย
ภาพที่ 2 : Convergence Integrates SCOR Lean Six Sigma
ที่มา  : Dale J. Pinnekamp, May 2010
ภาพที่ 3 : แนวคิดการเชื่อมโยงของ SCOR Lean Six Sigma
ที่มา  : Dale J. Pinnekamp, May 2010


จากภาพที่ 2 และ 3 แสดงให้เห็นถึงการผสานกันของปรัชญาการบริหารระหว่าง SCOR-LeanSix Sigma เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านการปฏิบัติ และผลลัพธ์ทางการเงินที่ดีขึ้น โดยมีลักษณะของความเชื่อมโยงกันดังนี้
1. SCOR Model  มีบทบาทสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ของธุรกิจ  และการดำเนินการตลอดซัพพลายเชนให้สอดคล้องกัน   การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับองค์กรอื่นๆ  การประเมินผลการดำเนินงานด้านต่างๆ รวมทั้งการนำหลักการปฏิบัติที่ดีมาใช้ในการจัดการซัพพลายเชน
2. Lean-Sig Sigma ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยง วิเคราะห์คุณค่า และค้นหาความสูญเปล่าในการดำเนินงานตลอดซัพพลายเชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น และนำไปสู่การปฏิบัติการที่ดี และมีผลลัพธ์ทางการเงินที่ดีขึ้น

เป็นไงบ้างครับ 3 ประสาน SCOR – Lean – Six Sigma  นี้คือหัวใจในการสร้างความแข็งแรงด้านการปฏิบัติการให้กับองค์กรเลยนะครับ ลองนำไปศึกษาและปฏิบัติดูนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...