วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

ปรับธุรกิจให้สร้างคุณค่า พัฒนาสู่ GVC (Value Creation to Global Value Chain)

เมื่อเราหยิบสินค้า 1 อย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา มาพิจารณาถึงองค์ประกอบที่เกิดขึ้นอย่างที่ถ้วน จะพบว่าผ่านการจัดซื้อ/จัดหา การแปรรูป และการจัดส่งจากผู้คนที่เกี่ยวข้องหลายๆคน หลายๆเชื้อชาติ หลายพื้นที่ หลายประเทศที่ผลิต รวมทั้งหลากหลายผู้ใช้งาน 
ความเชื่อมโยงของ Supply Chain - Demand Chain -Value Chain และ Global Value Chain

ใช่แล้วครับ โลกปัจจุบันกำลังเข้าสู่โซ่คุณค่าของโลก (Global Value Chain) อย่างสมบูรณ์ และกลุ่มธุรกิจของไทยที่เข้าไปเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับโซ่คุณค่าของโลกนี้ และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ กลุ่มอุตสาหกรรม SMEs ซึ่งจากข้อมูลผลการสำรวจสำมะโนธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม ปี 2560 แสดงให้เห็นว่าจำนวนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไทย เพิ่มขึ้นเป็น 3,004,679 ราย มีการจ้างงานทั้งสิ้น 11,747,093 ราย โจทย์สำคัญที่เราต้องคิดและกำหนดขึ้นก็คือ “เราต้องทำอย่างไรให้การเชื่อมโยงของ SMEs ไทยในโซ่คุณค่าโลกเส้นนี้มีความแข็งแรง ยั่งยืน และสร้างคุณค่าให้กับประเทศไทยสูงสุด?”

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “การบริหาร Chain หรือโซ่” ในโลกของการบริหารจัดการเราควรเข้าใจในเชิงบริบทและความสัมพันธ์ของคำว่า Chain 4 คำที่เป็นคำที่คุ้นหูกันอยู่ในแวดวงการจัดการ นั้นก็คือ
1. Demand Chain หัวใจคือ บริหารสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้เกิดขึ้น
2. Supply Chain หัวใจคือ บริหารทรัพยากรเพื่อตอบความความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
3. Value Chain หัวใจคือ การค้นหา พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการเพื่อตอบสนองคุณค่าที่ลูกค้าอยากได้
4. Global Value Chain หัวใจคือ แหล่งใดในโลกนี้ที่ควรทำหน้าที่สร้างแต่ละคุณค่าที่ลูกค้าอยากได้


โดยเรื่องของ Value Chain และ Supply Chain เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันมาก และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นในปัจจุบัน โดยหากกล่าวถึง Value Chain หลายคนก็จะนึกถึงภาพของ Porter’s Value Chain หรือถ้ากล่าวถึง Supply Chain ก็จะนึกถึง SCOR Model สำหรับผมแล้วพยายามบูรณาการทั้ง 2 องค์ประกอบเข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงให้เห็นไปถึงภาพโซ่คุณค่าของโลก (Global Value Chain) ซึ่งจะใช้ปัจจัยต่างๆ ในการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่หรือ location ใดๆ ในโลกนี้ที่สามารถสร้าง Value ให้กับ Product หรือ Service ที่เหมาะสมที่สุด ที่ใดที่เหมาะสม ที่นั้นก็จะถูกเลือกเป็นพื้นที่สร้างคุณค่า (Value) และถ้าคุณค่านั้นๆ ถูกกำหนดและสร้างขึ้นจากประเทศไทย ก็น่าจะเป็นการดีอย่างยิ่ง ส่วนปัจจัยใดๆ บ้างที่นำมาพิจารณาดูได้จากภาพนะครับ

จากภาพจะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโช่คุณค่าของโลกจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งเน้นการบริหารวัตถุดิบหรือทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการจัดการโช่ความต้องการ (Demand Chain) ก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่กิจการต้องดำเนินการควบคุมกันไป โดยมุ่งเน้นการดำเนินการที่ตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า และทั้ง 2 องค์ประกอบนี้จะอยู่ภายใต้ภารกิจเดียวกันคือสร้างคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ (Value Chain)

ส่วนในวงนอกจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคุณค่าเพิ่มโดยมีปัจจัยในการพิจารณาทั้งหมด 7 ปัจจัย คือ


  1. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ ความพร้อมของระบบเทคโนโลยีและการสื่อสารในพื้นที่นั้นๆ ว่ามีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร
  2. การศึกษา การทดสอบและการฝึกอบรม คือ ระดับความรู้ความสามารถของบุคลากรในพื้นที่ ความพร้อมของหน่วยทดสอบผลิตภัณฑ์หรือการปฏิบัติการต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับธุรกิจ ระบบในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ฝีมือแรงงาน
  3. NGO และระบบมาตรฐานต่างๆ คือ บทบาทขององค์กรภาคเอกชนที่ทำหน้าที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองมีส่งเสริมหรือไม่อย่างไร รวมทั้งการให้ความสำคัญต่อมาตรฐานต่างๆ ที่จำเป็น เช่น มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานคุณคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัย ฯลฯ
  4. การค้าและสมาคมวิชาชีพ คือ บทบาทสมาคมการค้า หรือสมาคมวิชาชีพต่างๆ ช่วยสนับสนุนส่งเสริมมากน้อย
  5. โครงสร้างพื้นฐานและการเงิน คือ สภาพโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงของระบบการเงิน ค่าจ้าง ภาษี ฯลฯ ของพื้นที่นั้นๆ
  6. สภาพแวดล้อมที่จำเป็น คือ สภาพแวดล้อมของระบบการดำเนินงานต่างๆ ในพื้นที่นั้นมีส่วนส่งเสริมต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร
  7. การอำนวยความสะดวกของรัฐ คือ การอำนวยความสะดวก การส่งเสริมของรัฐ กฎระเบียบ เงื่อนไขการปฏิบัติต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ
ดังนั้นการบริหารจัดการในมิติต่างๆ จะมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันหมด ขยายจากวงเล็กๆ จาก Supply Chain, Demand Chain Value Chain และจาก Value Chain ก็สู่ Global Value Chain

การที่ SMEs จะเติบโตได้อย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาใช้ในการขับเคลื่อนนั้นก็คือ การสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น (Value Creation) โดยหลักการของการสร้าง Value ภายใต้ 1 ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นได้มีผู้เชี่ยวชาญได้จำลองภาพการสร้างคุณค่า (Value Creation) เป็นภาพรอยยิ้ม (Smile Curve) ซึ่งแต่ละจุดภายใต้ Smile Curve มีคุณค่าที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน
Value Add จากกิจกรรมต่างๆตลอดกระบวนการทางธุรกิจ
จากภาพ Smile Curve จะเห็นได้ว่ากระบวนการที่สร้าง Value (Value Creation/Value Add) ที่สูงสุดส่วนใหญ่จะเป็นงานเกี่ยวการออกแบบและพัฒนา รวมทั้งการตลาดและขาย ดังนั้นอาจกล่าวได้ “ใครที่เป็นผู้ออกแบบและทำหน้าที่ขายสินค้าได้เอง จะได้ประโยชน์จากมูลค่าของ Product สูงสุด” คำถามคือกิจการของเรา ได้ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดีแล้วใช่หรือไหม ??? หากยังไม่ใช่ เราอยู่จุดใดของ Smile Curve นี้และควรปรับเปลี่ยนหรือวางกลยุทธ์อย่างไรให้เหมาะสม

สิ่งหนึ่งที่เป็นไปได้ หากพบว่าเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งใน Value Creation ที่เจ้าของ Product กำหนดไว้ ทางเลือกที่เราควรทำ คือการพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนวัตกรรมการดำเนินงาน (Process Innovation) และพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรม (Product/Service Innovation) ที่มีคุณค่า (Value Creation) และสามารถส่งต่อหรือขยายผลในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมั่นใจกลายเป็นนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Business Model Innovation) ได้ในท้ายที่สุด

ที่สำคัญหากกระบวนการในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น กิจการได้มุ่งใช้ Resource อันประกอบไปด้วย Man, Machine, Materials ที่ผลิตและสร้างได้ในประเทศของเรา เมื่อนั้นก็จะกลายเป็นประโยชน์สำหรับประเทศมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังและเตบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ลองไปทบทวนและประยุกต์ปรับใช้กันดูนะครับ


มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 

31  มีนาคม 2561

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561

สมรถนะการทำงานที่ใช่ กับ Style กับทำงานที่เหมาะ

เมื่อสมรรถนะของคนมีไม่เท่ากัน-รูปแบบการทำงานก็ต้องปรับเปลี่ยนไปให้เหมาะสมเช่นกัน

ขอเปลี่ยนกลับไปทำหน้าที่กึ่งๆ HRD อีกสักครั้งนะครับสำหรับการเขียน Blog ในครั้งนี้ ทำให้ย้อนนึกถึงการทำงานในสมัยหนึ่งก่อนที่จะผันตัวออกมาเป็นที่ปรึกษา โดยรับผิดชอบในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อทำหน้าที่เป็น Training manager จนเกือบหันไปเอาดีทางงาน HR ซะแล้ว 555

แต่เอากันจริงๆ แล้ว งานพัฒนาบุคลากรนั้นถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติงานในทุก Functional ของงานเลยนะครับ โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้างาน หรือคนที่ต้องทำหน้าที่ควบคุมวง Orchestra ของ Supply Chain ยิ่งต้องมีรูปแบบและศิลปะในการจูงใจ โน้มน้าว สั่งการ ควบคุม ช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานอยู่เป็นกิจวัตร ดังนั้นเรามาดูกัน
"เมื่อระดับสมรรถนะของคนในหน่วยงานมีไม่เท่ากัน  แล้วจะมีวิธีการดำเนินงาน สำหรับคนที่มีระดับสมรรถะแตกต่างกันเหล่านี้ได้อย่างไร"

ก่อนอื่นในมุมมองของการจัดการให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงานตลอดโซ่อุปทาน ตามแนวทางของ SCOR Model ในส่วนของ P-People ได้กำหนดว่าระดับสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานภายในโซ่อุปทานจะแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับคือ

  1. ระดับ Novice หรือระดับมือใหม่ ซึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจ
  2. ระดับ Beginner หรือระดับผู้เริ่มต้นในการปฏิบัติงานนั้น ซึ่งยังขาดทักษะในการปฏิบัติงาน
  3. ระดับ Competent หรือระดับการทำงานที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้ด้วยตัวเอง
  4. ระดับ Proficient หรือระดับการทำงานที่มีมีความชำนาญ ปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
  5. ระดับ Expert หรือระดับการทำงานที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถจัดการปัญหา และให้คำปรึกษาได้
ดูหลักการของ SCOR ได้ที่ "กลั่น SCOR Model : Model เพื่อการจัดการโซ่อุปทาน ให้เรียนรู้และเข้าใจ ใน 1 Page"


เมื่อเรานำระดับสมรรถนะเหล่านี้มาสร้างความเชื่อมโยงกับลักษณะหรือรูปแบบการดำเนินงานในแบบต่างๆ ออกมาเป็นตารางความสัมพันธ์ หรือ ตาราง Matrix จะทำเห็นรูปแบบการทำงานในแต่ละมิติดังภาพ

ตารางเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมตามสมรรถนะของบุคลากร

จากภาพจะเห็นได้ว่า เมื่อเราเปรียบเทียบเทียบระดับสมรรถนะ 5 ด้าน (แนวนอน) กับรูปแบบการดำเนินงานประเภทต่าง (แนวตั้ง) แล้วนำมาสร้างตารางเพื่อดูความเชื่อมโยง พบว่าเป็นดังนี้

  1. ด้านรูปแบบการสั่งการ (Instructions) สำหรับบุคลากรที่อยู่ในระดับ Novice ซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำ ดังนั้นเมื่อสั่งการจำเป็นต้องใช้การเขียน หรือสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเป็นหลัก การสร้าง WI (Work Instruction) มีความจำเป็นมากสำหรับการทำงานในขั้นนี้ ส่วนระดับสมรรถนะอื่นๆ สามารถสั่งการด้วยคำสั่งที่คุ้นเคย ที่ใช้กันโดยทั่วไปในหน่วยงาน โดยอาจเป็นการสั่งการหรือสื่อสารทางวาจา หรือรูปแบบคำสั่งที่ใช้กันโดยทั่วไปในองค์กร
  2. ด้านสิ่งที่ต้องสื่อสาร (Orientation) ในส่วนนี้เมื่อมีการ Orientation ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน สิ่งจำเป็นที่ต้องสื่อสารไปถึงผู้ปฏิบัติงานที่มีระดับสมรรถนะต่างๆ กัน จะเป็นดังนี้คือ
    • ระดับ Novice และระดับ Beginner ควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารเรื่องงาน (Task) ที่ต้องทำ เนื่องจากเป็นบุคลการในกลุ่มนี้มุ่งเน้นให้้เกิดการปฏิบัติที่เป็นไปตามระเบียบ วิธีการที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ (ควรเสริมสร้างแนวคิดการทำงาน "ของสร้างจากกระบวนการที่ดี" 
    • ระดับ Competent, Proficient และ Expert ควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารเรื่องเป้าหมาย (Goal) ที่ต้องการ เนื่องจากเป็นผู้ที่ต้องคอยควบคุม กำกับ และขับเคลื่อนให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้   
  3. ด้านการตัดสินใจ (Decision Making) ในกลุ่มบุคลากรที่อยู่ในระดับ Novice, Beginner และ Competent ควรพัฒนาให้มีทักษะในการการตัดสินโดยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ส่วนในระดับ Proficient และ Expert จะใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจสูง เนื่องจากต้องการความคล่องตัวและรวดเร็วในการตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้น ดังนั้นต้องพัฒนาให้มีศักยภาพดังกล่าว เพื่อป้องกันการตัดสินที่ผิดพลาด ซึ่งผู้มีระดับสมรรถนะในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้บริหารขององค์กร
  4. ด้านการรับรู้ปัญหา (Problem Recognition) โดยเกือบทุกระดับสมรรถนะ จะรับรู้ปัญหาจากการวัดผล (Monitoring) เพื่อบอกปัญหา ยกเว้นระดับสมรรถนะ Expert จะใช้สัญชาตญาณเพื่อรับรู้สภาพของปัญหาหรือความผิดปกติเป็นส่วนใหญ่ 
  5. ด้านการมุ่งเน้น/รับผิดชอบ (Focus on) ในด้านนี้จะแบ่งการมุ่งเน้นออกเป็น 5 กลุ่ม ตามระดับสมรรถนะ คือ
    • ระดับ Novice หรือมือใหม่ จะมุ่งเน้นการปฏิบัติตามกระบวนการทำงานที่กำหนดไว้ โดยต้องปฏิบัติอย่างเข้าใจ และต่อเนื่อง
    • ระดับ Beginner หรือระดับเบื้องต้น จะมุ่งเน้นการนำหลักปฏิบัติต่างๆ (Practice) เทคนิคต่างๆ มาช่วยในการปฏิบัติงาน ดังนั้นเราจำเป็นต้องสอนเครื่องมือต่างๆ ในการทำงานให้คนกลุ่มนี้มากๆ
    • ระดับ Competent หรือระดับมีความสามารถในการปฏิบัติงาน จะมุ่งเน้นผลลัพธ์ของงานที่ได้ปฏิบัติเพื่อพิจารณาว่าตัวชี้วัดเหล่านั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นกลุ่มนี้ต้องได้รับการพัฒนาให้ทักษะเรื่องการบริหารให้เป็นไปตามเป้่าหมาย การกำหนดค่าควบคุม จุดควบคุม ในการปฏิบัติงาน
    • ระดับ Proficient  หรือระดับชำนาญ จะมุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุง การทำโครงการต่างๆเพื่อนำมาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น ดังนั้นบุคลากรกลุ่มนี้ ควรได้รับการพัฒนาเรื่องการวางแผนและบริหารโครงการ การควบคุมโครงการ และการประเมินโครงการ เป็นต้น
    • ระดับ Expert หรือระดับเชี่ยวชาญ จะมุ่งเน้นการสร้างและขับเคลื่อนผลลัพธ์ในภาพรวมของหน่วยงาน กลุ่มนี้จำเป็นต้องมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การกำหนดกลยุทธ์ การกำหนดนโยบาย และการบริหารนโยบายให้สอดคล้องตามกลยุทธ์ขององค์กร เป็นต้น
เป็นไงบ้างครับ "สมรถนะการทำงานที่ใช่ กับ Style กับทำงานที่เหมาะ" น่าจะเป็นประโยชน์และเหมาะสมกับการออกแบบระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และช่วยขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้ตลอดโซ่อุปทาน การจัดคนและพัฒนาคนให้เหมาะกับงานที่ทำ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง งานที่สอดคล้องตามความสามารถจะทำให้ผู้ทำงานเป็นสุข แต่ถ้าต่ำหรือสูงไปก็จะกลายเป็นทุกข์แทน

ลองไปประยุกต์และปรับใช้กันดูนะครับ 
"เราต้องแยกแยะงานที่ทำให้เหมาะ โดยไม่ต้องยัดเยียดทุกอย่างให้ทำ" 

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
23  มีนาคม 2561

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

ช่องทางในการเติมเต็มองค์ความรู้ (Knowledge Development-Training Program)

ใครจักใคร่ เรียน รับสอน
ใครจักใคร่ บอกต่อ ขอขอบใจ
ใครจักใคร่ ช่วย Organize ก็ยินดี

ตามนี้เลย...จัดไป ขอโฆษณา เพื่อทำมาหากินสักหน่อย กับหลักสูตรการเติมเต็มองค์ความรู้ (Knowledge Development-Training Program) จะได้ช่วยให้มีแรงในการแบ่งปันความรู้ (Knowledge)  กันเยอะๆ ชอบหลักสูตรไหน ก็จัดหลักสูตรนั้นไปเลยครับ หรือถ้ายังไม่โดนใจ หลังไมค์เป็นการส่วนตั๊ว ส่วนตัว ได้ครับ 
  1. หลักสูตรที่ 1 : การจัดการซัพพลายเชนเบื้องต้น (Introduction to Supply Chain Management)
  2. หลักสูตรที่ 2 : พีระมิดสมรรถนะ ควบคุม วัดผล ปรับปรุงได้ ตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain Performance Pyramid : Metric Integration)
  3. หลักสูตรที่ 3 : SCOR ภาคใช้งาน เพื่อจัดการโซุอุปทานให้แข็งแรง (Supply Chain-SCOR Model in Practice)
  4. หลักสูตรที่ 4 : การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
  5. หลักสูตรที่ 5 : การจัดการสินค้าคงคลัง-วัสดุซ่อมบำรุง (MRO Inventory Management)  
  6. หลักสูตรที่ 6 : บริหารอย่างมีคุณภาพตลอด Supply Chain (House of Supply Chain Management) 
  7. หลักสูตรที่ 7 : เทคนิคในการแก้ไขปรับปรุงงาน (Problem Solving Technique)
  8. หลักสูตรที่ 8 : TQM สำหรับผู้บริหาร (TQM for Executive and Manager)
  9. หลักสูตรที่ 9 : การบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management)
  10. หลักสูตรที่ 10 : กระบวนการสร้างและจัดการนวัตกรรมในองค์กร (Innovative Creation and Management in Organization)
สนใจหลักสูตรไหน อย่าช้าติดต่อได้เลย ตามช่องทางที่สะดวกนะครับ
Line ID : naitakeab
E-mail : naitakeab@gmail.com
Tel. 081-8476479













วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

รสชาติทางการจัดการ 3 อย่างที่ลูกค้าอยากได้ (3 management topics to serve the customers tastes)

เปรี้ยว เค็ม หวาน หอม กลมกล่อม อร่อยลิ้น คือ รสชาติแห่งสุนทรียภาพทางอาหาร แต่จะหากเปรียบกับความสามารถทางการจัดการเพื่อตอบสนองต่อลูกค้า เป็นดั่งอาหารแล้วละก็ มีอยู่ 3 รสชาติทางการจัดการที่ลูกค้าอยากได้ (ซึ่งไม่เกี่ยวกับราคา) และอยากให้เราเสริฟรสชาตินี้อย่างสม่ำเสมอนั้นก็คือ
  1. ความน่าเชื่อถือของการทำงาน (Reliability)
  2. ความรวดเร็วในการดำเนินการ (Responsiveness / Rapidly)
  3. ความคล่องตัวในการตอบสนอง (Agility / Flexibility)
เอาละซิ! ถ้าอย่างนั้น เรามา ตั้งโจทย์ ให้รสชาติทางการจัดการเหล่านี้เกิดขึ้นกันหน่อยซิ ทำไงดี? 

ผมได้คิดจากโจทย์ที่ตั้งขึ้นจนเขียนเป็นแผนภาพของรสชาติทางการจัดการที่ลูกค้าอยากได้ เป็นดังภาพที่เห็นนะครับ (ถูก ผิด เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยประการใด ก็ติชมกันได้ครับ)

รสชาติ 3 อย่างทางการจัดการที่ลูกค้าอยากได้
รสชาติ 3 อย่างทางการจัดการที่ลูกค้าอยากได้ (3 items of customer focus)

จากภาพรสชาติความต้องการของลูกค้า 3 อย่างที่เราต้องตอบสนอง นั้นก็คือ 

  1. ความน่าเชื่อในการส่งมอบ รสชาติทางการจัดการอย่างแรกที่ลูกค้าอยากได้ คือ ความอร่อยตามที่คาดหวังไว้ ดังนั้นคนที่เป็นลูกค้าจึงอยากให้เราส่งมอบสินค้าและบริการที่เขาต้องการแล้วสมบูรณ์ในครั้งเดียว โดยความสมบูรณ์ที่อยากได้ คือ "ส่งตรง ส่งครบ คุณภาพดี และเอกสารข้อมูลสมบูรณ์" เพราะจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลา หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆ ตามมา ทั้งนี้ความสมบูรณ์ทั้ง 4 อย่าง จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
    • ส่วนการผลิตสามารถผลิตได้ตามแผน  ซึ่งการจะผลิตได้แผนนั้น เราต้องควบคุมสิ่งเหล่านี้ให้ได้คือ
      • ผลิตได้ครบจำนวนที่วางแผนไว้
      • ผลิตได้ตามเวลามาตรฐาน (Standard Time)
      • คุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นไปตามเป้าหมาย
      • ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (OEE) เป็นไปตามเป้าหมาย
      • ถ้าใช้แรงงาน ประสิทธิภาพของแรงงานก็ได้ตามเกณฑ์
    • ในส่วนของผู้ส่งมอบ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนวัตถุดิบหรือสินค้าบางส่วนมาให้เรา ก็ต้องทำงานได้อย่างมีความน่าเชื่อถือ อย่างน้อยๆ ก็ต้องมี 2 อย่าง คือ คุณภาพวัตถุดิบน่าเชื่อถือ การส่งมอบครบถ้วนตรงเวลา และต้องไม่ลืมว่ารูปแบบการสั่งซื้อจาก Supplier แต่ละรายไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องจัดการต่างกันด้วย
  2. เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการตอบสนองคำสั่งซื้อ คงไม่มีลูกค้ารายใดที่อยากกินช้า ดังนั้นรสชาติทางการจัดการที่ 2 ที่อยากได้ คือ ความรวดเร็วในการตอบสนอง ดังนั้นต้องสามารถส่งมอบสิ่งอยากได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งมอบได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องทำให้ทุกกระบวนทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วย คือ
    • ระยะเวลาในการวางแผน หรือการเปลี่ยนความต้องการของลูกค้าเป็นแผนการผลิต/ส่งมอบได้อย่างรวดเร็ว (ขอบอกหลายสถานประกอบการใช้เวลาทำเรื่องนี้นานมาก)
    • ระยะเวลาจัดซื้อวัตถุดิบ (RM) ซื้อปุ๊บ ได้ปั๊บ ดีที่สุด อะไรที่มันเป็นอุปสรรค ก็ขจัดมันทิ้งซะ 
    • ระยะเวลาในการจัดเตรียม วัสดุหลายรายการซื้อมาแล้วยังไม่ได้นำไปใช้ทันที ก็เลยต้องไปเก็บใน Store เก็บอยู่นานแล้วไม่พอยังช้าอีก กว่าที่จะเบิกไปใช้งานได้ ต้องแก้ไขปรับปรุงนะครับ ถ้าที่ไหนยังเป็นแบบนี้อยู่  
    • ระยะเวลาในการผลิต  ที่รวดเร็ว ต้องสนใจ MCT (Manufacturing Cycle Time) และการ Balance Process การผลิตกันเยอะๆ นะครับพี่น้อง จะช่วยลดระยะเวลาในการผลิต และทำให้ผลิตได้รวดเร็วมากขึ้นๆ
    • ระยะเวลาในจัดการความผิดปกติ เครื่องจักรเสีย สินค้าไม่ได้คุณภาพ พนักงานมาทำงานไม่ครบ และความผิดปกติอื่นๆ อีกมากมาย ถ้าเกิดให้รีบแก้ ไม่ใช่ผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ
    • ระยะเวลาในการจัดส่ง เมื่อสินค้าพร้อม ก็ต้องส่งไปถึงมือลูกค้าให้เร็ว เดี่ยวนี้มีเครื่องมือ เทคโนโลยีในการจัดส่ง และรูปแบบการจัดส่งหลายรูปแบบมาก ลงศึกษาและนำมาใช้กันเยอะๆ นะครับ
  3. ความยืดหยุ่นคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง  ลูกค้ายุคใหม่สั่งซื้อไปและเปลี่ยนใจเยอะ ดังนั้นเราต้องสร้างองค์กรของเราให้ยืนหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง หรือภาษาสมัยใหม่เรียกกันว่า "Agility Management"  สาระสำคัญคือ เราต้องออกแบบกระบวนการทำงานของเราให้ปรับเปลี่ยนทั้งปริมาณและเวลาที่ต้องการให้ได้ โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของความเสียหายที่เกิดขึ้นต่ำสุด โดยเราต้องทำให้เกิดความยืดหยุ่นของกระบวนการผลิต (ถ้าใช้เครื่องจักรเยอะๆ ก็อย่าลืมนำ SMED (Single minute excgange of Dies) มาใช้ และพยายามช่วยกันทำให้ Supplier ของเรามีความยืดหยุ่นด้วย จะได้ช่วยเสริมการทำงานให้ราบเรียบได้มากขึ้น
เป็นไงบ้างครับ 3 รสชาติทางการจัดการ ที่ต้องปรุงและเสริฟไปให้ถึงความรู้สึกของลูกค้าได้ ลองนำไปปรับใช้ในองค์กรดูนะครับ หากมีข้อสงสัย ติชม แนะนำ ก็ติดต่อกันมาได้ 

ส่วนใครอยากรู้จัก ความรู้สึกของลูกค้า คืออะไร ดูเพิ่มเติมที่ Blog "ความรู้สึกลูกค้า"

ส่วนใครอยากรู้เพิ่มเติม รสชาติอื่นๆที่ต้องทำ ดูเพิ่มเติมได้ที่ Blog "พีรมิดสมรรถนะ"

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
05 มีนาคม 2561









วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

โอกาส-ทักษะ-ธุรกิจใหม่ เพื่อตอบสนองต่อการจัดการ Supply Chain ยุค 4.0

พบกันอีกครั้งแล้วนะครับ ครั้งนี้มาพบกับเนื้อหาการจัดการ Supply Chain กันอีกสักครั้ง

ที่ผ่านมา หลายคนคงจะซึมซับกับคำว่า Industry 4.0 กันจนมากพอสมควรและมีความเข้าใจดีแล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่คิดจะใช้โอกาส หรือ Opportunities ที่ประเทศกำลังจะขับเคลื่อนไปสู่ 4.0 ครั้งนี้ มาพัฒนาตน พัฒนาธุรกิจ หรือสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ 

ผมเป็นคนหนึ่งที่มองและคิดอยู่เสมอว่า ทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราจำเป็นต้องก้าวให้ทัน และใช้โอกาสกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเพื่อสร้าง Value ให้ได้ 

หลายธุรกิจใหญ่ๆ ของโลก อาทิ FB, Alibaba, Amazon, Airbnb, Grab etc. ก็ใช้โอกาสของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างรายได้กันทั้งนั้น ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเริ่มลงมือทำของเราเองบ้าง ไม่มีคำว่าสายหรือช้าไปแน่นอน

โจทย์คือ ?
ถ้าเราเอาการจัดการ Supply Chain เป็นตัวตั้ง แล้วมีโอกาส ทักษะ หรือธุรกิจใดบ้าง ที่สามารถพัฒนาและทำให้มันเกิดขึ้นภายใต้ยุค 4.0 นี้ ผมเลยรวบรวมและศึกษาจากแนวคิดต่างๆ จากทั่วโลก และได้ตกผลึกเป็นภาพ "โอกาส ทักษะ หรือธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อการจัดการ Supply Chain ยุค 4.0" ดังนี้


ภาพที่1 : โอกาส (Opportunities) เพื่อการจัดการ Supply Chain ที่ดี ภาพใต้ Industry 4.0
จากภาพถ้าเราพิจารณาจากการเกิดขึ้นของ Industry 4.0 แล้ว เราจะสร้างโอกาสทางหน้าที่การงาน การเพิ่มพูนทักษะ หรือการสร้างธุรกิจใหม่ๆ  ด้านการจัดการโซุ่อุปทานได้อย่างไรบ้าง ผมแบ่งโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและควรนำมาพัฒนาบุคลากรหรือองค์กรได้ 7 เรื่องคือ
  1. Integrated E2E Planning and Real time Execution
    • คือ การบูรณาการของการวางแผนการทำงานระหว่าง E2E ในแบบ End to End และ Enterprise to Enterprise รวมทั้งสร้างการทำงานแบบ Real Time เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินที่มีประสิทธิภาพของการจัดการตลอดโซ่อุปทาน แน่นอนครับการวางแผน (Plan) คือกระบวนหลักในการจัดการ Supply Chain และเป็นต้นกำเนิดของดำเนินงานด้านอื่นๆ (คลิกดูกระบวนหลักของการจัดการ Supply Chain) ดังนั้นเราต้องพัฒนาระบบการวางแผนของเรา หรือยกระดับ ERP ของเราให้สามารถรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลผ่านการทำงานร่วมกับลูกค้า หรือ Supplier แบบ Real Time    
  2. SCM & Logistics Visibility
    • การทำให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันสามารถมองเห็นเป็นหนึ่งเดียวตลอดโซ่อุปทาน คืออีก 1 โอกาสที่องค์กรควรทำให้เกิดขึ้น และอาจสร้างโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาระบบ Monitoring และระบบ Visual Management เพื่อใช้ในการดำเนินงานดังกล่าว โดยข้อมูลที่ต้องทำให้เห็นร่วมกัน,ทั้งโซ่อุปทาน เช่น
      • ข้อมูลการพยากรณ์ หรือปริมาณความต้องการ (Demand)
      • ข้อมูลและสถานะการจัดซื้อต่างๆ
      • ข้อมูลเกี่ยวกับ Inventory ที่จัดเก็บในแต่ละจุดที่เชื่อมโยงกัน
      • ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการผลิต กำลังการผลิต
      • ข้อมูลและสถานะการส่งมอบ 
      • ข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่างๆ เป็นต้น
  3. Prescriptive Supply Chain  Analytic
    • การวิเคราะห์ (Analytics) เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในยุคการทำงานแบบ 4.0 ดังนั้นกล่าวได้เลยว่า นี้คือโอกาส ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาตัวตน และองค์กรให้มีศักยภาพในการทำ Analytics ซึ่งควรมองไปที่ระดับ Level 3 แต่ยังไงก็แล้วแต่หากยังไม่ได้เริ่มดำเนินการใดๆ เลย ก็คงเริ่มจากระดับ 1 ไปก่อน ทั้งนี้ทั้ง 3 ระดับ ประกอบด้วย 
      • ระดับที่ 1 : Descriptive Analytics เป็นรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐานที่สุด โดยจะเน้นไปที่ความสามารถในการ “อธิบาย” ว่าเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจของ ผลการวิเคราะห์ในกลุ่มนี้ เช่น รายงานทางธุรกิจ รายงานการขาย ผลประกอบการ ผลการดำเนินงาน รวมถึงระบบ business intelligence (ฺBI)
      • ระดับที่ 2 : Predictive Analytics เป็นการพยายาม “พยากรณ์” สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เข้ามาวิเคราะห์ร่วมกับโมเดลทางคณิตศาสตร์ หรือร่วมกับการใช้ เทคนิค data mining เพื่อพิจารณาความน่าจะเป็น ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำงานแบบนี้ เช่น Application ประมวลผลเวลาที่จะใช้จากระยะทางและความเร็วที่เป็น
      • ระดับที่ 3 : Prescriptive Analytics ไม่เพียงแต่จะพยากรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ยังสามารถ "ให้คำแนะนำ" เกี่ยวกับทางเลือกที่มี รวมถึงผลที่จะตามมาของแต่ละทางเลือกด้วย Prescriptive Analytics จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่กว้างขวาง หลากหลายมากกว่าเพียงแค่ข้อมูลในอดีต และตรงประเด็นนี้เองที่มีความเกี่ยวพันกับ Big Data เป็นอย่างมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำงานแบบนี้ เช่น การใช้ Google Map เลือกเส้นทางที่เหมาะสมจากข้อมูลการจราจรที่เกิดขึ้น
  4. Digital Sourcing
    • รูปแบบของการจัดหาจะเปลี่ยนไปสู่การทำงานแบบ Digital มากยิ่งขึ้น เช่น 
      • ในอดีตเน้นการดำเนินการที่ก่อให้เกิดต้นทุนต่ำสุด แต่ในยุคใหม่ไม่จำเป็น แต่ต้องตอบสนองต่อคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่า
      • ไม่มีอะไรที่ต้องทำให้สมบูรณ์แบบแล้วจะส่งต่อเพื่อดำเนินการต่อ (เช่น การจัดหาวัสดุ) แต่การทำงานจะเป็นแบบคู่ขนาน เพื่อลดระยะเวลาการทำงาน และสามารถปรับเปลี่ยนในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน ดังนั้นต้องมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนและแก้ไข
      • เปลี่ยนจากต่างคนต่างทำ (Silo) เป็นแบบบูรณาการ (Integrated) ดังนั้นต้องปรับรูปแบบการทำงานเพื่อรองรับ
      • ไม่มีผู้ใดครอบครองตลาดที่ชัดเจน แต่จะมีผู้ค้าที่กระจัดกระจาย ดังนั้นการวางแผนการทำงานรองรับการสั่งซื้อจากผู้ค้ารายเล็ก แต่ทำงานได้ได้ตรงความต้องการและคุ้มค่าจะเป็นทางเลือกมากขึ้น 
      • ระบบการทำงานที่ใช้เวลาน้อย และคล่องตัวต่อการปรับเปลี่ยน
  5. Intelligent Inventory Control
    • Inventory ถือว่าเป็น Asset (สินทรัพย์) อย่างหนึ่งที่เราจำเป็นต้องบริหารให้มีประสิทธิภาพ เพราะเราใช้เงินลงทุนจัดซื้อจัดหามาเพื่อแปลงสภาพหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเรา มีมากเกินไปก็ก่อให้เกิดต้นทุนสูง มีน้อยเกินไปก็ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ทัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องควบคุมให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพ (คลิกดูกรอบกรอบแนวคิด-กระบวนการจัดการ Inventory ให้มีประสิทธิภาพ) อย่างไรก็ตามการสร้างระบบการทำงานให้สามารถควบคุมระดับ Inventory ได้อย่างเป็นอัตโนมัติและเหมาะสมและมีความเป็นอัจฉริยะ คือ โอกาสในการทำงานและธุรกิจที่ควรเป็น 
  6. Smart Warehousing and Logistics
    • การบริหารคลังสินค้าที่ดีในสมัยปัจจุบัน จะต้องสามารถรองรับการเคลื่อนย้ายของวัสดุหรือสินค้าไปยังลูกค้าหรือผู้ใช้งาน โดยเกิดการไหลได้อย่างสะดวก มีความรวดเร็ว สินค้าที่ถือครองต้องมีปริมาณที่เหมาะสม มีความแม่นยำทั้งสถานที่จัดเก็บ/ปริมาณการถือครอง และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ภายใต้การดำเนินงานที่มุ่งขจัดความสูญเปล่าและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และลดความเสี่ยงของการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินงานที่เป็น Smart Warehousing and Logistics นำระบบอัตโนมัติมาช่วยในการดำเนินงานมากขึ้น
  7. Smart Spare Part (MRO) Management
    • การเกิดของอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิต จากแรงงานคนไปเป็นเครื่องจักรมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจำเป็นต้องบริหารระบบสนับสนุนให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการบริหาร Spare Part หรือ MRO (Maintenance, Repair and Operation) ดังนั้น นี้คือโอกาส และทักษะที่จำเป็น ที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น ทั้งนี้อาจพัฒนาไปสู่ความเชื่อมโยงกับระบบ Predictive maintenance
เป็นไงบ้างครับ โอกาส ทักษะ และธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดการ Supply Chain ในยุคของ Industry 4.0 ทั้งนี้โดยความเป็นจริงอาจมีโอกาส หรือธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อีกมากมาย ลองไปนั่งคิดและทบทวนดูนะครับ

และขอฝากไว้นะครับ "อย่าได้แค่มองว่าเทคโนโลยีไปไกลแค่ไหน แต่จงใช้โอกาสในการสร้าง Value จากเทคโนโลยีที่เป็น"

มงคล  พัชรดำรงกุล
วิทยากร/ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
LineID : naitakeab, Tel 081-8476479 
05 มีนาคม 2561

Inv. EP01 - บริหารคลังสินค้า VS จัดการสินค้าคงคลัง

การดำเนินกิจกรรมการจัดการคลังสินค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง ของแต่ละสถานประกอบการ บ่อยครั้งพบว่ามีความสับสนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิด...